โลกสันนิวาส...คืออะไร

 
พุทธรักษา
วันที่  3 มี.ค. 2553
หมายเลข  15658
อ่าน  6,655

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สนทนาธรรม ณ อาคารมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๒ ถอดเทปบันทึกเสียงโดย คุณย่าสงวน สุจริตกุล
.
"โลกสันนิวาส" คืออะไร

ท่านวิทยากร คำว่า "โลกสันนิวาส" ท่านแยกศัพท์ไว้ดังนี้ "โลก" หมายถึง สภาพธรรมที่มีอันต้องแตกสลาย ซึ่งไม่พ้นไปจาก ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เมื่อประมวลแล้ว ก็ไม่พ้นไปจากจิต เจตสิก รูป นี้คือ คำจำกัดความของคำว่า "โลก"

สำหรับคำว่า "สันนิวาส" หรือ สนฺนิวาส คือ ที่ตั้งที่อาศัยของ ตัณหา และ ทิฏฐิ และอีกความหมายหนึ่ง "โลกสันนิวาส" หมายถึง สัตว์โลก หรือ สรรพสัตว์ทั้งหลาย ดังนั้น การศึกษา "สภาพธรรมที่มีจริง" คือ จิต เจตสิก รูป จะทำให้เข้าใจตามความเป็นจริง ว่า เพราะมี "ขันธ์ ๕" จึงมีการ "สมมติ" ว่า เป็นสัตว์ บุคคล


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
พุทธรักษา
วันที่ 3 มี.ค. 2553

ท่านอาจารย์ ท่านผู้ฟังรู้จัก โลกสันนิวาส หรือยังคะ ขณะนี้....มี โลกสันนิวาส หรือเปล่าถ้าฟังแล้วเข้าใจ ก็คือ เข้าใจ ในสิ่งที่พระผู้มีพระภาคฯ ทรงแสดงว่า "โลกสันนิวาส" คือ อะไร อยู่ที่ไหน และ ขณะไหน เรื่องราวของ โลกสันนิวาส มีมากมายเพราะฉะนั้น ก่อนอื่น เมื่อได้ฟังแต่ละคำแล้วก็ควรที่จะได้พิจารณาให้เข้าใจจริงๆ

ความหมายของคำว่า "โลก" คือ สภาพธรรมใดก็ตาม ซึ่งเกิด-ดับ ทั้งหมด ความหมายของคำๆ นี้ ต้องรวมตลอดหมดไม่ว่าจะเป็นขณะไหน และ ที่ไหน ที่มี โลกสันนิวาสคือ ขณะที่มีสภาพธรรม ซึ่งเกิดดับ อันเป็นที่อาศัยซึ่งกันและกัน ในการเกิดขึ้นของตัณหา และ ทิฏฐิ

จิต และเจตสิก เป็น "โลก" หรือเปล่า จิตจะเกิดโดยไม่มี เจตสิก ได้ไหมคะ โลกสันนิวาสในขณะนี้ คืออะไร อยู่ที่ไหน

เพราะฉะนั้น "โลกสันนิวาส" ก็คือ "จิตทุกขณะ" จิต หนึ่งขณะเกิดขึ้น แล้วก็ดับไปจิต จะเกิดขึ้น โดยไม่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยนั้น ไม่ได้เจตสิก จะเกิดขึ้น โดยไม่มีจิตเกิดร่วมด้วย ก็ไม่ได้ เจตสิกทุกประเภท ที่เกิดดับร่วมกับจิต เป็นโลกหรือเปล่า เพราะฉะนั้น โลกสันนิวาส จึงเป็นที่อาศัยกันและกัน เกิดขึ้นและดับไปและ หมายถึงขณะนี้ ขณะที่เข้าใจว่า "เป็นเรา" ถ้าจะกล่าวตามความเป็นจริง ทุกขณะจิต เป็น โลกสันนิวาส

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
พุทธรักษา
วันที่ 3 มี.ค. 2553

"โลกสันนิวาสยกพล" คืออะไร

ถ้าสภาพธรรมไม่เกิด จะมี "พล" อะไรไปยกหรือเปล่า สภาพธรรม เกิดขึ้นเมื่อไร ก็ "ยกพล" ขณะนั้น เมื่อสภาพธรรมเกิดขึ้น คือ "ยกขึ้น" "พล" ซึ่งก็แล้วแต่ว่า จิตขณะนั้น ประกอบด้วย เจตสิกอะไรบ้าง จิต และเจตสิก ต่างต้องอาศัยซึ่งกันและกันจึงเกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นขณะที่ "อกุศลเจตสิก" เกิดร่วมกับจิต "อกุศลจิต" ขณะนั้น มี "พล" มากไหมคะ หรือ ถ้าเป็นขณะที่ "โสภณเจตสิก" เกิดร่วมกับจิต"กุศลจิต" ขณะนั้นมี "พล" มากไหมคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
พุทธรักษา
วันที่ 3 มี.ค. 2553

ดังนั้น เมื่อหนึ่งขณะจิต "ยกพล" แล้ว "เคลื่อนพล" ไปไหน จิตขณะหนึ่งเกิดขึ้น และยังไม่ดับ แล้วไปไหน ถ้าเป็น "อกุศลจิต" ขณะนั้น ก็ไปในทางที่ผิดคือ ความไม่รู้ ความไม่เข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นตั้งแต่เกิดมา ก็เป็นโลกสันนิวาส ตั้งแต่เกิดเกิดแล้ว ก็เคลื่อนพลไป แล้วแต่ว่าจะเคลื่อนพลไปทางไหน

ก่อนฟังพระธรรม ไปทางไหนคะ ไปทางไม่รู้ เมื่อฟังพระธรรมแล้ว ควรจะไปทางไหนคะ เพราะฉะนั้น เมื่อฟังพระธรรมแล้วมีความเข้าใจพระธรรมเพิ่มขึ้นขณะนั้น "โลกสันนิวาส" ก็เดินไปในทางที่ถูก แต่ขณะที่ฟังพระธรรมแล้ว ยังไม่ค่อยเข้าใจ ก็แล้วแต่ ว่า ขณะนั้น เป็น "กุศลจิต" หรือ "อกุศลจิต"

ขณะที่เป็น "อกุศลจิต" โลกขณะนั้นก็เดินไปสู่หนทางที่ผิด เป็นทางที่ถูกไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ ถ้าเป็นความเข้าใจจริงๆ แม้แต่ความลึกซึ้งของข้อความในปฏิสัมภิทามรรค ที่กล่าวถึง คำว่า "โลกสันนิวาส" ก็ควรเข้าใจในความลึกซึ้ง ว่า "โลกสันนิวาส" หมายถึง ทุกขณะจิต.

"สันนิวาส" คือ การเกิดขึ้นร่วมกันของจิตและเจตสิก เมื่อเกิดขึ้น ก็อาศัยซึ่งกันและกัน แยกกันไม่ได้เลย ยกพล เกิดขึ้นเมื่อไร เกิดขึ้นเมื่อ จิตประกอบด้วย "พล" คือ "สภาพของเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย" แล้วแต่ว่า อกุศลเจตสิก หรือ กุศลเจตสิก จะมากหรือน้อยในขณะจิตนั้น

ยกพลไปไหน ก็แล้วแต่ว่า ขณะนั้น เป็นจิตประเภทใด ถ้าเป็น "กุศลจิต" เช่น ขณะที่ฟังพระธรรมแล้ว "เริ่มมีความเข้าใจ" ก็มีปัจจัยให้ "กุศลธรรมทั้งหลาย" เจริญขึ้นๆ

เพราะฉะนั้น ข้อความทั้งหมดนี้ ถ้าจะอ่านอีกครั้งอย่างละเอียดก็คือการกล่าวถึง "จิตแต่ละขณะ" ซึ่งเป็น "โลกสันนิวาส" ทั้งหมดที่กล่าวถึง เป็นเรื่องของ "สภาพจิตแต่ละขณะที่เกิดขึ้น"

สภาพจิตที่เกิดขึ้นแต่ละขณะนั้นแล้วแต่ว่าจะเป็นไปในทางกุศล หรือ อกุศล "โลกสันนิวาส" ตกอยู่ในอำนาจของ "อวิชชา"เพราะเหตุว่า ตั้งแต่เกิดจนตายทำอะไร หวังอะไร ไม่สงบ ฟุ้งซ่าน ฯก็เป็นเพราะ "ความไม่รู้"

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Jans
วันที่ 3 มี.ค. 2553

ขันธ์ ๕ ชื่อว่าภาระ ผู้แบกภาระคือบุคคล การถือภาระเป็นเหตุนำมาซึ่งความทุกข์ในโลก
การวางภาระเสียได้เป็นสุข บุคคลวางภาระหนักเสียได้แล้ว ไม่ถือภาระอื่น ถอนตัณหาพร้อมทั้งมูลรากแล้ว เป็นผู้หายหิว ดับรอบแล้ว (จาก พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ภารสูตร)

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
คุณ
วันที่ 4 มี.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
คุณ
วันที่ 4 มี.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 4 มี.ค. 2553

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ...

โลกสันนิวาส

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 7 ก.พ. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Sottipa
วันที่ 22 ต.ค. 2563

อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ก.ไก่
วันที่ 22 ต.ค. 2563

อนุโมทามิ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ