อายุบวร ... ศรีลังกา 8 การทำสังคายนาครั้งที่ ๔ ที่เกาะลังกา

 
kanchana.c
วันที่  11 มี.ค. 2553
หมายเลข  15729
อ่าน  1,436

การทำสังคายนาครั้งที่ ๔ ที่เกาะลังกา

ข้อความในอรรถกถา พอสรุปได้ต่อไปว่า

วันหนึ่งพระราชาถวายบังคมต้นมหาโพธิ์แล้ว เสด็จไปยังถูปารามพร้อมกับพระเถระ ท่านได้ถวายดอกไม้ให้พระเถระบูชาสถานที่จะสร้างโลหปราสาท เมื่อดอกไม้ตกถึง พื้น เกิดแผ่นดินไหว พระราชาตรัสถามถึงสาเหตุ พระเถระทูลว่า จะมีที่ประชุมสงฆ์ ชื่อ ว่า อัมพังคณะ เกิดขึ้นในที่นี้

พระราชาและพระเถระเสด็จต่อไปถึงสถานที่จะสร้างมหาเจดีย์ พระราชาถวายดอก จำปาแก่พระเถระ เมื่อพระเถระเอาดอกไม้นั้นบูชาสถานที่จะสร้างมหาเจดีย์ แผ่นดินก็ ไหวอีก พระเถระทูลสาเหตุว่า ในอนาคตจะมีพระมหาสถูป ซึ่งไม่มีที่ไหนเหมือนของ พระผู้มีพระภาค ซึ่งพระเจ้าทุฏฐคามณีอภัย พระนัดดาของพระราชาจะเป็นผู้สร้าง พระ ราชาจึงรับสั่งให้นำเสาหินมีความยาว ๑๒ ศอก แล้วจารึกอักษรไว้ว่า “พระนัดดาของ พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ พระนามว่า ทุฏฐคามณีอภัย จงสร้างพระสถูปไว้ในประเทศนี้ เถิด” แล้วประดิษฐานไว้

พระราชาตรัสถามพระเถระต่อไปว่า “พระศาสนาตั้งมั่นแล้วในเกาะลังกาทวีปหรือยัง?” พระเถระทูลว่า “พระศาสนาตั้งมั่นแล้ว แต่ว่ารากเหง้าแห่งพระศาสนานั้นยังไม่หยั่งลง ก่อน”

พระราชาตรัสถามต่อไปว่า “ก็เมื่อไรรากเหง้าแห่งพระศาสนานั้นจักชื่อว่า เป็นอันหยั่งลงแล้ว?”

พระเถระทูลว่า “มหาบพิตร ในกาลใดเด็กผู้เกิดในเกาะลังกา มีมารดาบิดาเป็นชาวเกาะ จักออกบวช ในเกาะ แล้วเรียนพระวินัยในเกาะนั่นเอง ออกสอนพระวินัยในเกาะได้ ในกาลนั้นราก เหง้าแห่งพระศาสนา จักชื่อว่าเป็นอันหยั่งลงแล้ว”

พระราชาจึงรับสั่งให้ทำสังคายนาครั้งที่ ๔ (การสังคายนาครั้งนี้เป็นกิจกรรมตามข้อ ปรารภพิเศษ โดยทั่วไปไม่นับเข้าในประวัติสังคายนา ... จากกาลามนุกรมฯ) โดยพระ เจ้าเทวานัมปิยติสสะทรงอุปถัมภ์ มีพระมหินทเถระเป็นประมุข พร้อมด้วยพระภิกษุ ๖๘,๐๐๐ รูป ท่านพระอริฏฐเถระเป็นผู้ประกาศพระวินัยปิฎก ที่ถูปาราม เมืองอนุราธปุระ ใช้เวลา ๑๐ เดือน

ท่านพระอริฏฐเถระเมื่อสอนภิกษุให้ตั้งอยู่ในพระสัทธรรมเป็นจำนวนมาก ก็ดำรงอยู่ ตราบเท่าอายุ แล้วก็ปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ส่วนพระมหาเถระ ๖๘ รูป อันมีท่านพระมหินทเถระเป็นประมุข ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ได้ บรรลุวสี มีวิชชา ๓ ฉลาดในอิทธิฤทธิ์ พระเถระผู้แสวงหาคุณใหญ่แสดงแสงสว่างแห่ง ญาณให้เห็นชัด ยังเกาะลังกานี้ให้รุ่งเรืองแล้วปรินิพพาน เหมือนกองไฟลุกโพลงแล้ว ดับไป ฉะนั้น

จบข้อความในอรรถกถา พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาคเพียงแค่นี้ ยอมรับว่า อรรถกถาเป็นหนังสือที่อ่านยากมาก ถ้าอ่านธรรมดาๆ ก็ไม่มีอะไร แต่เมื่อต้องอ่านให้เข้า ใจเพื่อจะนำมาเล่าต่อ จึงรู้ว่าสำนวนในอรรถกถานั้นยากจะเข้าใจจริงๆ ต้องอ่านซ้ำไป ซ้ำมาหลายรอบจึงพอเข้าใจ แต่ก็ได้ตัดข้อความที่ไม่เข้าใจออกไปหลายตอน ดังที่ กล่าวออกตัวไว้ในตอนต้นว่า ถ้าต้องการรายละเอียดและความถูกต้อง ก็ควรจะอ่านเอง เพราะฉะนั้นถ้าผิดพลาดไปบ้าง ก็คงไม่บาป เพราะไม่ได้ตั้งใจจะบิดเบือน แต่เพราะ ปัญญาน้อย มีปัญญาแค่นี้ ก็เข้าใจแค่นี้ค่ะ

นี่ขนาดเป็นเรื่องเล่าประวัติธรรมดา ไม่ใช่เรื่องที่ลึกซึ้งอย่างลักษณะของสภาพธรรม ยังเข้าใจยากขนาดนี้ ดังนั้นจึงรู้ว่า ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ท่านมีปัญญา มากจริงๆ ที่สามารถนำข้อความจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาเรื่องลักษณะของสภาพ ธรรมมาอธิบายให้พวกเราพอเข้าใจตามได้บ้าง ต้องขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ ที่เมตตาสอนซ้ำไปซ้ำมา เพราะว่าเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งเข้าใจยากจริงๆ พอเข้าใจนิดหน่อย แล้วก็ลืมอีก ต้องเริ่มต้นใหม่ทุกครั้งที่ฟังว่า “ทุกอย่างเป็นธรรม และธรรมทั้งหลายเป็น อนัตตา” ขณะฟังก็ดูเหมือนเข้าใจ พอไม่ได้ฟังก็ลืมไปอีก เหมือนรอยขีดในอากาศ ก็ คงต้องขยันขีดบ่อยๆ ด้วยการฟังพระสัทธรรมบ่อยๆ เนืองๆ เผื่อรอยขีดนั้นจะเป็นรอย ขีดในน้ำ ซึ่งอยู่นานกว่าเดิมได้บ้างในอัตภาพนี้


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
orawan.c
วันที่ 11 มี.ค. 2553

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ups
วันที่ 11 มี.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 11 มี.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 11 มี.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 12 มี.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 13 มี.ค. 2553

"...พอไม่ได้ฟังก็ลืมไปอีก เหมือนรอยขีดในอากาศ ก็คงต้องขยันขีดบ่อยๆ ด้วยการฟังพระสัทธรรมบ่อยๆ เนืองๆ เผื่อรอยขีดนั้นจะเป็นรอยขีดในน้ำ ซึ่งอยู่นานกว่าเดิมได้บ้างในอัตภาพนี้ ... "

กราบอนุโมทนาพี่แดงครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
aditap
วันที่ 13 มี.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 17 มี.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ING
วันที่ 20 เม.ย. 2553

ขอขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ