จิตกับเจตสิก
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
การเกิดขึ้นแห่งจิตแต่ละขณะๆ นั้นจะต้องมีเจตสิก (สภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต) เกิดร่วมด้วยทุกครั้ง ขึ้นอยู่กับว่า จะเป็นจิตประเภทใด ไม่มีจิตขณะใดเลยที่จะเกิดขึ้นโดยไม่มีเจตสิก และในทำนองเดียวกัน ไม่มีเจตสิกประเภทใดเลยที่จะเกิดขึ้นโดยไม่มีจิตเมื่อเป็นเช่นนี้ ทั้งจิตและเจตสิกจึงเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน และอาศัยที่เกิดที่เดียวกัน ครับ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ
มีบาลีอ้างอิงว่า นหิตํ จิตฺเตน วินา อามฺมณคฺคหณสมตฺถํ อสติ จิตฺเต สพฺเพน สพฺพํ อนุปฺปชฺชนโตฯ จิตฺตํ ปน เกนจิ เจตสิเกน วินาปิ อารมฺมเณ ปวตฺตตีติ ตเมว จิตฺตายตฺตฺวุตฺติกํ ฯ แปลความไทย ว่า ความจริง เจตสิกนั้นเว้นจากจิตเสีย ก็ไม่สามารถจะรับอารมณ์ได้ เพราะเมื่อไม่มีจิต เจตสิกก็เกิดขึ้นไม่ได้ทั้งหมดฯ ส่วนจิต แม้จะเว้นเจตสิกบางประการเสีย ก็ยังเป็นไปในอารมณ์ได้ เพราะเหตุนั้นเจตสิกนั้นเท่านั้น ชื่อว่ามีความเป็นไปเนื่องกับจิต ดังบาลีที่ยกมานี้แสดงให้เห็นว่า จิตเว้นเจตสิกได้ ส่วนเจตสิกเว้นจิตไม่ได้ ไม่ใช่เหรอครับ จากหนังสือ อภิธมฺมตฺถสงฺคหปาลิยา สห อภิธมฺมตฺถวิภาวินี นาม อภิธมฺมตฺถสงฺคหฎีกา หน้า 67 นับลงบรรทัดที่ 8
ข้อความที่ท่านยกมาถูกต้องทุกประการครับ แต่โปรดสังเกต อักษรสีแดง
ดังนี้ ...ส่วนจิต แม้จะเว้นเจตสิกบางประการเสีย ก็ยังเป็นไปในอารมณ์ได้... หมายความว่า เจตสิกบางประเภท ไม่เกิดกับจิตบางประเภท เช่น อกุศลเจตสิก ไม่เกิดร่วมกับ โสภณจิต โสภณเจตสิก ไม่เกิดร่วมกับอกุศลจิต ดังนั้น ท่านจึงใช้คำว่า เจตสิกบางประการ ครับ