เสาร์ห้า
ผู้สือข่าวต่างประเทศให้ความเห็นว่า
การใช้มนต์ดำเป็นเรื่องปกติของการเมืองไทย
ฟังดูทีแรกเป็นเรื่องน่าขัน
แต่มาพิจารณาความเป็นจริงแล้ว เขาก็มีเหตุผลนะครับ
และเมื่อมองสังคมไทย เขาว่าเป็น สังคมแห่งมงคลตื่นข่าว
ไม่ทราบว่าจะจริงอย่างที่ว่าหรือครับ
มงคลตื่นข่าวนี้มีความหมายกว้างแค่ไหนครับ
จากลิ้งค์ที่ อ.ประเชิญ กรุณาแนะนำนั้น กล่าวถึง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 946
ข้อความบางตอนจาก มหามังคลชาดก
[๑๔๘๒] ความสวัสดีเหล่านี้แล ผู้รู้สรรเสริญแล้ว มีสุขเป็นผลกำไรในโลก นรชนผู้มีปัญญาพึงเสพความสวัสดีเหล่านั้นไว้ในโลกนี้ ก็ในมงคล มีประเภท คือ ทิฏฐมงคล สุตมงคลและมุตมงคล มงคลสักนิดหนึ่งที่จะเป็นมงคลจริงๆ ไม่มีเลย.
ทิฏฐมงคล สุตมงคล และมุตมงคล
มีความหมายอย่างไรครับ
เรียนความเห็นที่ ๓
คำว่า ทิฏฐมงคล สุตมงคล และมุตมงคล เป็นมงคลภายนอก เป็นความเชื่อของชนบางกลุ่มที่ไม่มีปัญญา เช่น มีความเห็นว่า การเห็น มีการเห็นโคมัย เป็นต้น เป็นมงคลชื่อว่า ทิฏฐมงคล บางพวกเชื่อว่า การได้ยินได้ฟัง เช่น การฟังเสียงอวยพร เป็นต้น เป็นมงคล พวกนี้ชื่อว่า สุตมงคล บางพวกเชื่อว่า การได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบโผฏฐัพพะ ในสิ่งที่ดี เป็นมงคล พวกนี้ชื่อว่า มุตมงคล ทั้งหมดนี้เป็นมงคลตื่นข่าว
เช่นกันครับ
ขอบพระคุณ อ.ประเชิญ ครับ
คำอธิบายของอาจารย์ทำให้เข้าใจได้ชัดเจนมากเลยครับ
ที่ว่าเป็นสิ่งภายนอกไม่ว่าประณีตเพียงใดแต่ทำให้เกิดกิเลส
มิอาจถือได้ว่าเป็นมงคลจริงๆ เลย ถึงเรียกว่า มงคลตื่นข่าว
ขอบพระคุณ อ.คำปัน ที่กรุณาแสดงมงคลแท้อันเป็นอุดมมงคล
ผมขออนุญาตเรียนถามอีกนิดนะครับว่า
ที่ว่ามนต์ดำหรือพิธีกรรมเอาฤกษ์ เอาชัย ข่มขวัญ
เพื่อทำให้ผู้ที่เป็นปรปักษ์พ่ายแพ้นี้
จัดรวมอยู่ในมงคลตื่นข่าวด้วยหรือไม่ครับ
หรือจะเป็นอัปมงคลตื่นข่าว ครับ