ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม...เป็นไฉน.

 
พุทธรักษา
วันที่  28 มี.ค. 2553
หมายเลข  15794
อ่าน  8,202

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความบางตอน...จากหนังสือ "ชื่อนั้นสำคัญไฉน"
โดยอาจารย์ประณีต ก้องสมุทร และ คณะสหายธรรม
ตอนที่ ๕..."ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม...เป็นไฉน"

ถาม เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าใกล้จะเสด็จปรินิพพาน ได้รับการบูชาจากมนุษย์และเทวดา ด้วยเครื่องสักการะ มีดอกไม้ เป็นต้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกับท่านพระอานนท์ ว่า

ดูก่อน อานนท์ พระตถาคต จะชื่อว่าอันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อมด้วยเครื่องสักการะประมาณเท่านี้ หามิได้ผู้ใดแล จะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรือ อุบาสิกา ก็ตามเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรมอยู่ผู้นั้น ย่อมชื่อว่า สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ด้วยการบูชาอย่างยิ่งเพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์พวกเธอจงสำเหนียกอย่างนี้ ว่า เราจักเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่

อยากทราบความหมายของคำว่า "ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม" ว่า ได้แก่อะไรบ้าง

ตอบ คำว่า "ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม" ได้แก่ การปฏิบัติตามข้อปฏิบัติอันเป็นส่วนเบื้องต้นอันข้อปฏิบัติอันชอบยิ่ง

สำหรับ พระภิกษุ ได้แก่ การสมาทานธุดงค์ อันเป็นข้อปฏิบัติชอบ จนถึง โคตรภูญาณนี้ชื่อว่า เป็นข้อปฏิบัติอันเป็นส่วนเบื้องต้น

ภิกษุใด ไม่ละเมิดสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ไม่ตั้งอยู่ ใน "อคารวะ ๖" คือ ไม่เคารพ

ไม่เชื่อฟังพระศาสดา ๑

ไม่เคารพ ไม่เชื่อฟังพระธรรม ๑

ไม่เคารพ ไม่เชื่อฟังพระสงฆ์ ๑

ไม่เคารพ ไม่เชื่อฟังในสิกขา ๑ (สิกขา คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา)

ไม่เคารพ ไม่เชื่อฟังในความไม่ประมาท ๑

ไม่เคารพ ไม่เชื่อฟังในปฏิสันถาร คือ การต้อนรับ ๑

(ปฏิสัถารมี ๒ คือ อามิสปฏิสันถาร และ ธัมมปฏิสันถาร) และ เป็นภิกษุผู้เลี้ยงชีวิต ด้วยการแสวงหาที่สมควรภิกษุนี้ ชื่อว่า "ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม"

สำหรับอุบาสก อุบาสิกา ที่ปฏิบัติให้สมบูรณ์ใน สรณะ ๓ สมาทานรักษาศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ รักษาอุโบสถศีล ถวายทาน บูชาด้วยของหอม บูชาด้วยดอกไม้ บำรุงบิดามารดา บำรุงสมณพราหมณ์ อุบาสกอุบาสิกานี้ ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมอันเป็นข้อปฏิบัติส่วนเบื้องต้น

ถ้าเป็นการปฏิบัติส่วนเบื้องปลายคือ ปฏิบัติตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ อันสมควรแก่ มรรคผลนี้ชื่อว่า ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม อันเป็นส่วนเบื้องปลาย

สรุปว่า "การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม" นั้นมีทั้งการปฏิบัติให้สมควรทั้งในตอนต้น และการปฏิบัติให้สมควรในตอนปลายและ การปฏิบัติธรรมจนถึง มรรค ผล นิพพานก็ต้องปฏิบัติให้ถึงตอนปลาย

(จาก อรรถกถา มหาปรินิพพานสูตร ที. มหาวรรค)

ข้อความอ้างอิงจากพระไตรปิฎกเชิญคลิกอ่าน...

การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 29 มี.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ที่พึ่งที่ระลึก
วันที่ 29 มี.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Sam
วันที่ 29 มี.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 30 มี.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
aiatien
วันที่ 30 มี.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
aditap
วันที่ 1 เม.ย. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
อภิรมย์
วันที่ 14 มิ.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
sammd073
วันที่ 24 มิ.ย. 2563

อนุโมทนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 24 มิ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ