วิปัสสนาภาวนา - ตอนที่ ๑.

 
พุทธรักษา
วันที่  1 เม.ย. 2553
หมายเลข  15812
อ่าน  1,447

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ขอวันทา "พระพุทธเจ้า" ผู้ประเสริฐ หาบุคคลเปรียบปานมิได้ ผู้เสด็จขึ้นสู่สาคร คือ ไญยธรรมผู้ข้ามสาคร คือ สงสาร ได้แล้วด้วยเศียรเกล้า

ขอวันทา "พระธรรม" อันยอดเยี่ยม สงบ ละเอียด ลึกซึ้ง เห็นได้แสนยากอันกระทำภพน้อยและภพใหญ่ให้บริสุทธิ์ ซึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบูชาแล้วด้วยเศียรเกล้า

ขอวันทา "พระสงฆ์" ผู้ปราศจากทุกข์ ไม่มีเครื่องข้อง คือ กิเลส"ผู้เป็นทักขิไณยบุคคลสูงสุด" มีอินทรีย์สงบ ผู้ปราศจากอาสวะด้วยเศียรเกล้า

(จากอรรถกถาวสุทธชนวิลาสินี ขุ. อปทาน)

ข้อความบางตอน จากหนังสือ
ปรมัตถธรรมสังเขป ฯโดย
อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

กิเลสมี ๓ ขั้น คือ อนุสัยกิเลส ปริยุฏฐานกิเลส วีติกกมกิเลส

วีติกกมกิเลส เป็น "กิเลสอย่างหยาบ" ซึ่งทำให้ล่วงเป็น ทุจริตกรรมทางกาย ทาวาจา "วิรัติ" คือ "ละเว้น" วีติกกมกิเลสได้ ด้วย "ศีล"

ปริยุฏฐานกิเลส เป็น "กิเลสอย่างกลาง" ที่เกิดร่วมกับอกุศลจิต แต่ไม่ถึงขั้นที่ล่วงเป็นทุจริตกรรม "ระงับ" ปริยุฏฐานกิเลสได้ "ชั่วคราว" เป็น วิกขัมภณปหาน ด้วย "ฌานกุศลจิต"

อนุสัยกิเลส เป็น "กิเลสอย่างละเอียด" เมื่อยังดับกิเลสไม่ได้ อนุสัยกิเลสก็นอนเนื่องอยู่ในจิตที่เกิดดับสืบต่อกัน เป็นเชื้อ เป็นปัจจัยให้เกิด "ปริยุฏฐานกิเลส"
.
"กิเลสทั้งหลาย" จะดับหมดสิ้นไปเป็น "สมุจเฉทปหาน" (คือ) ไม่เกิดอีกเลยเมื่อโลกุตตรมัคคจิต รู้แจ้งอริยสัจจธรรม โดยการประจักษ์แจ้งสภาพของพระนิพพาน ตามลำดับขั้นของมัคคจิต ซึ่งปหานกิเลส ตามลำดับขั้นของมัคคจิตนั้นๆ

ก่อนการตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคนั้นมีผู้ที่รักษาศีล วิรัติทุจริต และ เจริญสมถภาวนา จนถึงอรูปฌาณขั้นสูงสุดคือ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาณ (ซึ่ง) "ระงับกิเลสได้ชั่วคราว" เป็น วิขัมภนปหาน แต่ ไม่มีใครสามารถดับ "อนุสัยกิเลส" ได้

เมื่อพระผู้มีพระภาค ทรงบำเพ็ญพระบารมี ๔ อสงขัยแสนกัปป์ และทรงตรัสรู้ "พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ" ทรงเป็น "พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า" พระองค์ทรงแสดง หนทางปฏิบัติเพื่อการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม จึงมี "พระอริยสงฆ์สาวก" ผู้บรรลุธรรมอริยสัจจธรรมดับกิเลสได้ เป็นจำนวนมาก สืบต่อมาจนตราบเท่าที่ "มีผู้ศึกษาและปฏิติธรรม" ตามที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงตรัสรู้ และทรงแสดงพระธรรมไว้โดยละเอียด ตลอด ๔๕ พรรษา

"พระธรรม" ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงไว้แล้วนั้นสุขุม ละเอียด ลึกซึ้งเพราะทรงแสดง "ลักษณะของสภาพธรรมทั้งหลาย" ที่ทรงตรัสรู้โดยทรงประจักษ์แจ้ง "ตามความป็นจริงของสภาพธรรมนั้นๆ " ถ้าผู้ใดไม่ศึกษาพระธรรมที่ทรงแสดงไว้ "โดยละเอียดให้เข้าใจอย่างถูกต้อง" ย่อมไม่สามารถอบรมเจริญปัญญาที่ประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมและ (ไม่สามารถ) ดับกิเลสได้

ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 1 เม.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ups
วันที่ 1 เม.ย. 2553

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
aditap
วันที่ 2 เม.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ชีวิตคือขณะจิต
วันที่ 3 เม.ย. 2553

คุณพุทธรักษา วันทาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทำให้นึกถึงบทสวดสรรเสริญพระรัตนไตย ที่ใช้คำต่างกัน ดังนี้

พุทธัง ภควันตัง อภิวาเทมิ
ธัมมัง นมัสสามิ
สังฆัง นมามิ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
inthanin
วันที่ 7 เม.ย. 2553

คำ วลี พยางค์ ประโยค อยู่ห่างจากระดับชาวบ้านที่เป็นชนส่วนใหญ่ เข้าถึงได้ยากมากนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
napachant
วันที่ 12 เม.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 16 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ