การติดในรส

 
จักรกฤษณ์
วันที่  2 เม.ย. 2553
หมายเลข  15820
อ่าน  1,724

การติดในรสนั้นจะมีกำลังมากกว่าการติดในรูปอื่นๆ

เช่น สี เสียง กลิ่น สัมผัส หรือไม่ครับ

และจะเกี่ยวข้องกับเรื่องที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า

หากจะบัญญัติปัญจปราชิก

ท่านจะทรงบัญญัติเรื่องการฉันภัตตาหาร

โดยไม่สำรวมระวัง ด้วยหรือไม่ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 3 เม.ย. 2553
เข้าใจว่าโลภะความติดข้องในรสจะมีกำลังมากสำหรับคนบางคน บางกลุ่ม บางคนอาจจะติดในสีมากกว่าก็ได้ หรือติดในเสียง กลิ่น โผฏฐัพพะ มากกว่าทวารอื่นๆ ก็ได้ แต่พระภิกษุที่กำลังฟังพระธรรมเทศนาที่อุปมาด้วยเนื้อบุตร (ปุตตมัสสสูตร) สะสมการติดข้องในรสมา จึงทรงเทศนาเพื่อเหมาะกับอัธยาศัยของผู้ฟังในขณะนั้น อนึ่งสำหรับเพศบรรพชิตแล้ว ถ้าติดในรสมากๆ จะเป็นเหตุให้ล่วงสิกขาบทหลายข้อได้ เพราะการติดในรส ย่อมแสวงหา เมื่อแสวงหาโดยชอบธรรมไม่ได้ ย่อมแสวงหาโดยไม่ชอบธรรม เช่น การออกปากขอ การทำการประจบ รับใช้คฤหัสถ์ เป็นหมอดู เป็นหมอยา เป็นต้น ย่อมต้องอาบัติ ทำให้ห่างไกลจากพระสัทธรรมครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 3 เม.ย. 2553

ขอบพระคุณ อ.ประเชิญ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
orawan.c
วันที่ 3 เม.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 3 เม.ย. 2553

โลภะติดทุกอย่าง ยกเว้นโลกุตตรธรรม 9 ในชีวิตประจำวัน เราก็ติดในรูป

เสียง กลิ่น รส สัมผัส ผู้ที่จะไม่ติดในกามคุณ 5 คือพระอนาคามีและ

พระอรหันต์ เพราะท่านดับความยินดีพอใจใน รูป เสียง ฯลฯ ได้แล้วค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
คุณ
วันที่ 3 เม.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
พุทธรักษา
วันที่ 3 เม.ย. 2553

โลภะติดทุกอย่าง ยกเว้นโลกุตตรธรรม 9ขออนุโมทนาค่ะ.
ขอเรียนถามเพิ่มเติมค่ะนอกจาก "มัคจิต ๔ ผลจิต ๔ นิพพาน ๑"...โลภะติดทุกอย่างแต่ยกเว้น ขณะจิตที่เป็นกุศล หรือ จิตชาติกุศล คือ กุศลจิต

ขณะที่กุศลจิตเกิด....ไม่ว่าจะเป็นกุศลขั้นทาน ศีล ภาวนา ขณะนั้นโลภะเกิดไม่ได้
......ใช่ไหมคะ.?
และ "การติดในรส" ก็เป็น "อารมณ์ของสติ" ได้...? และได้อย่างไรคะ.?กรุณาอธิบายด้วค่ะ....ขออนุโมทนา.

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 3 เม.ย. 2553

เรียนความเห็นที่ 6

สำหรับความหมายที่ว่าโลภะติดข้องได้ทุกอย่าง ยกเว้นโลกุตตรธรรม ขณะที่ติดข้อง

คนละขณะกับขณะที่เป็นกุศลจิตครับ เช่น ขณะที่กุศลจิตเกิด กุศลจิตย่อมไม่มีโลภ

เจตสิกเกิดร่วมด้วยแน่นอน แต่เมื่อกุศลจิตดับไป โลภมูลจิตสามารถเกิดขึ้นและติด

ข้องในกุศลจิตนั้น พอใจ อยากให้กุศลจิตนั้นเกิดอีกก็ได้ เป็นต้น แม้แต่สติปัฏฐานเกิด

ขณะที่สติเกิด ขณะนั้นไม่มีโลภเจตสิกแน่นอน แต่เมื่อเกิดแล้วดับไป โลภะก็สามารถ

ติดข้องในสติที่เกิด อยากให้เกิดอีกก็ได้ ดังนั้นจึงเป็นคนละขณะจิตกันครับ

และ "การติดในรส" ก็เป็น "อารมณ์ของสติ" ได้...? และได้อย่างไรคะ.? การติดในรส เป็นสภาพรรมที่มีจริง มีในชีวิตประจำวันคือโลภมูลจิตนั่นเองครับ สติ

ปัฏฐานมีสภาพธรรมที่มีจริงเป็นอารมณ์หรือเป็นสิ่งที่สติและปัญญารู้ได้ว่าเป็นธรรมไม่

ใช่เรา โลภะเป็นสภาพธรรมที่มีจริงที่ติดข้องในรส ขณะที่ติดข้องเป็นสภาพธรรมที่มี

จริง หากเหตุปัจจัยพร้อมสติก็สามารถระลึกรู้ตัวลักษณะของโลภะคือความติดข้องใน

ขณะที่เกิดนั้นได้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราครับ แต่ต้องไม่ลืมความเป็นอนัตตาว่าแล้วแต่สติ

จะเกิดหรือไม่เกิดหรือว่าถ้าเกิดแล้ว ก็แล้วแต่ว่าสติจะเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพ

ธรรมใด โดยไม่เจาะจงเพราะเป็นอนัตตาแม้แต่สติปัฏฐานครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 3 เม.ย. 2553

จากคำถามกระทู้

โดยทั่วไปแล้ว โลภะก็ยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่นรส ด้วยกันทั้งนั้น แต่ก็แล้วแต่ว่า

การสะสมของแต่ละคนแตกต่างกันไป สะสมพอใจในสิ่งใด ในอารมณ์ใดมามาก ก็มี

ความติดข้องในสิ่งนั้นมาก และก็มีโทษมากตามกำลังขอความติดข้องครับเชิญคลิกอ่านที่นี่......อะไรเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย [ปัญจราชสูตร]

แต่ที่กล่าวในเรื่องของรสมีโทษมาก ก็แสดงอีกนัยหนึ่งเช่นกันครับ เพราะรสที่อาศัย

ลิ้น รู้รสนั้นก็คือการบริโภคอาหารซึ่งสำคัญสำหรับชีวิต การไม่เห็นสีสวยๆ ยังไม่ทำให้

ถึงความตาย การไม่ได้ยินเสียงไพเราะก็ยังไม่ทำให้ถึงความตายแต่การขาดการบริโภค

ร่างกายก็อยู่ไมได้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นและต้องเสพคุ้นเป็นประจำ โทษจึงมีมากโดยนัยนี้

เพราะพอใจในรสและต้องบริโภคอยู่เสมอครับ ดังพระสูตรที่ยกมาเชิญคลิกอ่านที่นี่....สิ่งอื่นที่จะเลวยิ่งไปกว่ารสทั้งหลายย่อมไม่มี [วาตมิคชาดก]

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 3 เม.ย. 2553

ตามที่กล่าวใน วาตมิคชาดก ที่ อ.เผดิม กรุณา ลิ้งค์ไว้ ที่ว่า

สิ่งอื่นที่จะเลวยิ่งไปกว่ารสทั้งหลายย่อมไม่มี

รสเป็นสภาพเลว

แม้กว่าถิ่นที่อยู่

แม้กว่าความสนิทสนม

นายสัญชัยอุยยานบาลนำเนื้อสมัน

ซึ่งอาศัยอยู่ในป่าชัฏนาสู่อำนาจของตนได้

ด้วยรสทั้งหลาย.

ต้องรบกวนอาจารย์ช่วยขยายความให้เข้าใจยิ่งขึ้นสักนิดนะครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
khampan.a
วันที่ 3 เม.ย. 2553
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

จากความคิดเห็นที่ ๙ ขออนุญาตแสดงความคิดเห็น ดังนี้

รส เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นรูปธรรมอย่างหนึ่ง เป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไร เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัยแล้วก็ดับไป เพราะมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ แต่ผู้ที่ยังมีความติดข้อง ยังมีโลภะ ก็ติดข้องในรส เป็นธรรมดา (รวมถึงติดข้องในสภาพธรรมอื่นๆ ด้วย ยกเว้นโลกุตตรธรรม ๙) ที่ติดข้องนี้ ไม่ใช่ความผิดของรส แต่เป็นเพราะการสะสมมาของแต่ละบุคคล เมื่อสะสมมากขึ้นๆ มีกำลังมากขึ้น ก็อาจเป็นเหตุให้กระทำทุจริตกรรม ซึ่งจะเป็นเครื่องนำมาซึ่งความทุกข์ความเดือดร้อนในภายหลัง ได้ แต่ในทางตรงกันข้าม พระอริยบุคคลขั้นพระอนาคามี และ พระอรหันต์ ถึงแม้ท่านจะได้ลิ้มรส เหมือนกัน แต่ท่านก็ไม่มีโลภะ ไม่มีความติดข้องในรส เลย เพราะท่านดับความติดข้องยินดีพอใจในกามคุณ ๕ (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) ได้หมดแล้ว จาก คาถา ในวาตมิคชาดก ที่คุณจักรกฤษณ์ยกมานั้น แสดงถึง ความติดข้องในรสความอยากในรส ดังที่คุณผเดิมได้อธิบายแล้ว ครับ ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ ครับ ... ติดข้องในรส [วาตมิคชาดก] ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 5 เม.ย. 2553

ขอบพระคุณ อ.คำปัน ครับ

ผมได้อ่านลิ้งค์ที่ อ.คำปัน กรุณาลงรายละเอียด

คาถา วาตมิคชาดก โดยขยายความแล้ว

ที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ชื่อว่าสิ่งที่ลามกกว่าความอยากในรส ย่อมไม่มีในโลก หนอ

ทำให้เข้าใจได้ว่า การติดในรส เป็นสิ่งที่มีกำลังมากกว่าการติดในสิ่งอื่น

โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีกำลังปัญญาหรือมีปัญญาน้อย

ดังที่ท่านได้ยกตัวอย่างของเนื้อสมัน เป็นต้น

หรือตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น สุนัขที่ซื่อสัตย์

แม้เจ้าของจะแย่งอาหาร มันก็ยังแวงกัดได้

หรือแม้แต่คน ก็ทำความไม่ดีเพราะติดในรสได้

เช่น นิทานเรื่องกล่องข้าวน้อยฆ่าแม่

ไม่ทราบว่าจะตรงกับที่ อ.เผดิม กล่าวว่า

รสที่อาศัยลิ้นในการบริโภคเป็นสิ่งจำเป็นและต้องเสพคุ้นเป็นประจำโทษจึงมีมาก

หรือไม่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
paderm
วันที่ 5 เม.ย. 2553

เรียนความเห็นที่ 11 ครับเพราะอาศัยการเสพคุ้นบ่อยๆ จนมีกำลัง เสพคุ้นด้วยความติดข้อง ด้วยจิตที่เป็น

อกุศลมานานนับชาติไม่ถ้วนในการบริโภค ในการติดในรส และเมื่อกิเลสมีกำลังก็

สามารถทำบาป ทำทุจริต ฆ่ามารดาและบาปอื่นๆ ได้ เพราะอาศัยความพอใจติดข้องใน

รสที่สะสมมานานครับ การเสพคุ้นบ่อยๆ จึงมีกำลังทั้งในฝ่ายกุศลและอกุศล รวมทั้งการ

ติดข้องในรสด้วย ส่วนในฝ่ายกุศลการเสพคุ้นความเข้าใจธรรมบ่อยๆ ก็ย่อมมีกำลังได้

จนเป็นปัจจัยให้สามารถดับกิเลสได้ในอนาคตกาล ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 6 เม.ย. 2553

ขอบพระคุณ อ.เผดิม และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ