ความหมายสติปัฏฐาน ๓

 
prachern.s
วันที่  4 เม.ย. 2553
หมายเลข  15832
อ่าน  1,749

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 275

คำว่า สติปัฏฐานทั้งหลาย ได้แก่ สติปัฏฐาน ๓ คือ อารมณ์แห่งสติก็มี ความที่พระบรมศาสดาทรงล่วงเลยความยินร้ายและยินดีในพระสาวกทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติ ๓ อย่างก็มี ตัวสติก็มี อารมณ์แห่งสติ เรียกว่า สติปัฏฐาน ได้ในบาลีเป็นต้น (สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับไปแห่ง สติปัฏฐาน ๔ ท่านทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเกิดแห่งกายเป็นอย่างไร ความเกิดแห่งกาย ก็เพราะอาหารก่อให้เกิดดังนี้

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สติปัฏฐาน ได้ในบาลี (ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค) เป็นต้นว่า กายเป็นที่ปรากฏ มิใช่สติ สติเป็นที่ปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย คำนั้นมีความดังนี้

ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เป็นที่ตั้งในที่นี้ ถามว่า อะไรตั้ง ตอบว่า สติ ที่ตั้งอยู่แห่งสติ ชื่อว่า สติปัฏฐาน อีกนัยหนึ่ง ความตั้งเป็นประธาน เหตุนั้นจึงชื่อว่า ปัฏฐาน ความตั้งแห่งสติ ชื่อว่า สติปัฏฐาน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
พุทธรักษา
วันที่ 4 เม.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ประวิทย์พลีไพร
วันที่ 7 เม.ย. 2553

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
phawinee
วันที่ 8 ธ.ค. 2555

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 16 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ