กรรมเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่ครับ

 
truth
วันที่  5 เม.ย. 2553
หมายเลข  15839
อ่าน  1,518
กรรมดี หรือ กรรม ชั่วนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่ครับ หรือ เป็นเพียงสิ่งที่เป็นนามธรรม

  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 5 เม.ย. 2553
ตามหลักพระธรรมคำสอนแสดงว่า กรรม คือการกระทำ ความจงใจ สภาพธรรมได้แก่เจตนาเจตสิก เจตนาเป็นนามธรรม เมื่อเกิดขึ้นย่อมมีชีวิตินทีรย์เจตสิกเกิดร่วมด้วยและเกิดร่วมกับจิตทุกประเภท กรรมหรือเจตนาจะเกิดกับสิ่งมีชีวิตเท่านั้น ไม่เกิดที่ก้อนหินก้อนดินภูเขาที่ชาวโลกเรียกว่าธรรมชาติครับ แต่จะเกิดกับสัตว์มีจิตเท่านั้น
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 5 เม.ย. 2553

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
BudCoP
วันที่ 7 เม.ย. 2553

นโม สพฺพสมฺพุทฺธานํ อุปฺปนฺนานํ มเหสินํ

สวัสดี ครับ ทุกท่าน ขอร่วมสนทนา ครับ.

สิ่งมีชีวิตในที่นี้ ท่านผู้ถาม คงหมายถึง สัตว์ ปาณา ภูตา ชีวิกา ครับ.

ดังนั้น ถ้าตอบโดยโวหารโลก เจตนานั้น เป็นสิ่งมีบัญญัติที่ใช้เรียกว่า สิ่งมีชีวิต สัตว์ ปาณา ภูตา ชีวิกา ไม่ใช่สิ่งมีชีวิต ที่ไม่ใช่นามธรรม (บัญญัติ) .

คำถามนี้ มีอีกสำนวนว่า "สัตว์ คน บุคคล กับเจตนา เป็นอันเดียวกัน หรือคนละอย่างกัน"?

เมื่อว่าโดยปรมัตถ์แล้ว เราไม่ควรเรียกปนกัน ระหว่าง บัญญัติ กับ ปรมัตถ์ จะทำให้สับสนง่าย, เพราะเจตนาไม่เป็นสิ่งมีชีวิต คือ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ บุคคล ครับ.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 7 เม.ย. 2553

ข้อความ..เจตนาไม่เป็นสิ่งมีชีวิต คือ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ บุคคล ครับ.
ขอร่วมสนทนาด้วย..ดังนี้
เจตนาเจตสิกเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงเป็นปรมัตถธรรม..นามบัญญัติ...ว่าเจตนาเจตสิก..
สัตว์ บุคคลเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงเป็นบัญญัติเจตนาหมายถึงเจตนาเจตสิกเป็นนามธรรมเป็นสภาพรู้สิ่งที่มีชีวิตไม่มี..เจตนาเจตสิกมีหรือไม่..มีเช่น..พวกอสัญญีพรหมกรรมหมายถึงเจตนาเจตสิกถ้าไม่มีเจตนาเจตสิก...จะมีกรรมไหมดังนั้น.เพราะมี.สิ่งมีชิวิตที่มีเจตนาเจตสิกจึงมีกรรมดีและกรรมชั่วสื่งไม่มีชีวิตไม่มีนามธรรม..ไม่มีเจตนาเจตสิก...จึงไม่มีกรรมดีและกรรมชั่ว

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ประวิทย์พลีไพร
วันที่ 9 เม.ย. 2553
แค่มีเจตนาก็เป็นกรรมแล้วหรือครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 9 เม.ย. 2553

เจตนาที่ใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวันจะหมายถึงเจตนาเจตสิกที่เกิดร่วมกับกุศลจิตหรืออกุศลจิตและกรรมหมายถึง"การกระทำ" ได้แก่ กระทำทางกาย เรียก กายกรรม ทางวาจา เรียก วจีกรรม และทางใจ เรียก มโนกรรมดังนั้นข้อความที่ว่า..แค่มีเจตนาก็เป็นกรรมแล้วหรือครับ น่าจะหมายถึงเจตนาเจตสิกที่เกิดร่วมกับอกุศลจิตหรือกุศลจิตแต่ยังไม่ล่วงทางกาย ทางวาจา..เป็นมโนกรรม..........................................................................................................................
เจตนาเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวงคือ วิบากจิต กิริยาจิต กุศลจิต อุศลจิต เรียกว่า

กัมมปัจจัย
เจตนาเจตสิกที่เกิดกับ วิบากจิตและกิริยาจิต กระทำหน้าที่ร่วมกับวิบากเจตสิกอื่นๆ แล้วดับไปไม่ทำให้เกิด กายกรรม วจีกรรมและมโนกรรม เรียก เจตนาเจตสิกนั้นว่า สหชาตกัมมปัจจัย แต่เจตนาเจตสิกที่เกิดกับกุศลจิตหรืออกุศลจิตหากล่วงเป็นกรรมบถอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วดับไปแล้วให้ผล เจตนาเจตสิกนั้นเรียกว่านานักขณิกกัมมปัจจัย..........................................................................................................................
กรรมในพระไตรปิฏกละเอียดและน่าสนใจมากหากสนใจลองศึกษาจากพระไตรปิฎกเพิ่มเติมนะคะ....ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ชีวิตคือขณะจิต
วันที่ 9 เม.ย. 2553

ผมสนใจครับขอถามร่วมด้วยว่า จิตมีชีวิตหรือไม่ครับท่านวิทยากร

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
sutassangsri
วันที่ 9 เม.ย. 2553
กรรมดี หรือ กรรม ชั่วนั้น เป็น การกระทำของสิ่งมีชีวิตเท่านั้นที่สามารถทำได้ สิ่งไม่มีชีวิต เช่นก้อนดิน ก้อนหิน และพวกที่ไม่มี จิต เจตสิก เช่น ต้นไม้ ไม่สามารถ ทำกรรมดี กรรมชั่วได้ ดังนั้นกรรมดีกรรมชั่วไม่ใช่เป็นสิ่งมีชีวิต แต่เป็นสิ่งที่มีชีวิต เช่น คน สัตว์ เท่านั้น ที่ทำได้
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 9 เม.ย. 2553
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 15839 ความคิดเห็นที่ 7 โดย ชีวิตคือขณะจิต

ผมสนใจครับขอถามร่วมด้วยว่า จิตมีชีวิตหรือไม่ครับท่านวิทยากร


ชีวิตคือขณะจิตไม่ใช่หรอค่ะ?

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ชีวิตคือขณะจิต
วันที่ 11 เม.ย. 2553
จริงๆ ด้วยครับ ท่านไตรสรณคมน์ ชีวิตคือขณะจิต ชีวิตในบัญญัติว่า "เราตาย"
เราก็ตายทุกขณะจิต แล้วก็เกิดทุกขณะจิต ครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
สามารถ
วันที่ 12 เม.ย. 2553

ผมเห็นว่าเราควรพิจารณาถึงปรมัตถธรรม 4 ให้ดีนะครับ
ปรมัตถธรรม 4 สิ่งที่เป็นสาระ เนื้อแท้ แก่น ของธรรมชาติ
ไม่มีอะไรนอกเหนือจากปรมัตถธรรม 4 นี้
แม้จักรวาลอันกว้างใหญ่ก็อยู่ในปรมัตถธรรม 4 นี้
จะมีอะไร อะไรจะเป็นอะไร อะไรจะมีอะไรนั้น
ย่อมตกอยู่ใน 4 อย่างนี้ครับ คือรูป จิต เจตสิก นิพพาน

"เราลองพิจารณาเถิดครับว่า
ชีวิต เป็นปรมัตถธรรมอะไร
กรรมดี กรรมชัว เป็นปรมัตถธรรมอะไร"

ถ้าเราไม่ใคร่ครวญอย่างละเอียด ไม่ตรงต่ออรรถและพยันชนะ
ผมเห็นว่าเราอาจไปกำหนด หรือสนใจ หรือเข้าใจ ในสิ่งที่ไม่มีจริงอยู่ก็ได้ครับ
ถ้าเรารู้จักกรรม เราย่อมบอกได้ว่ากรรมคืออะไร
ถ้าเรารู้จักชีวิต เราก็ย่อมบอกได้ว่าชีวิตเป็นอะไร

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
paderm
วันที่ 13 เม.ย. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ควรแยกระหว่างปรมัตถสัจจะและสมมติสัจจะ ความจริงแท้ที่เป็นสภาพธรรมกับความ

จริงโดยสมมติ สภาพธรรมที่มีจริงที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม (ปรมัตถสัจจะ) ไม่ใช่สัตว์

บุคคล แต่เป็นเพียงสภาพธรรม จิตเป็นสภาพธรรมไม่ใช่สัตว์ บุคคล เจตสิกเป็นสภาพ

ธรรมไม่ใช่สัตว์ บุคคล เจตนาเป็นเจตสิกเป็นสภาพธรรมไม่ใช่สัตว์ บุคคล แต่เพราะมี

สภาพธรรม มีจิต เจตสิก รูปจึงบัญญัติ สมมติว่ามีสัตว์ บุคคล เป็นสิ่งมีชีวิต หากไม่มี

สภาพธรรมแล้วก็จะไม่มีสัตว์ บุคคล จะมีสิ่งมีชีวิตไม่ได้เลย ดังนั้นสภาพธรรมที่เป็น

ปรมัตถธรรมไม่ใช่สิ่งมีชีวิตแต่เพราะอาศัยสภาพธรรมธรรมที่เป็นปรมัตถธรรมจึงบัญญัติ

ว่าเป็นสิ่งมีชีวิตได้ครับ ซึ่งก็แล้วตามสมควรว่ามีปรมัตถธรรมหรือสภาพธรรมใดอะไรจึง

บัญญัติว่าเพราะมีสภาพธรรมนี้จึงบัญญัติสมมติว่ามีชีวิต ขออนุโมทนา อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ