อาชีพที่ทำอยู่ ไม่เอื้อต่อการปฏิบัติธรรม ครับ

 
anupong
วันที่  6 เม.ย. 2553
หมายเลข  15842
อ่าน  2,518

ผมเป็นนักร้อง นักดนตรีครับ

หลายๆ ครั้งที่การฝึกดูจิต รวมถึงการฟังธรรมะบรรยาย ทำให้ความรักฉันท์ชู้สาวลดน้อยลงไป เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่สามารถ ร้องและเล่นอย่างมีอารมณ์สุนทรีย์ได้ นักดนตรีไม่สุนทรีย์คนฟังก็ไม่สุนทรีย์ ทุกวันนี้ผมเหมือนหุ่นยนต์ร้องเพลงได้ ไม่สามารถสร้างความสุขให้กับผู้ฟังได้อย่างเคย

ผมควรทำอย่างไรครับ "วันไหนได้ฟังธรรมะก่อนออกจากบ้าน วันนั้นจะไม่มีอารมณ์ในการร้องเพลงครับ มีแต่ความรู้สึกนิ่งๆ เฉยๆ "


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 7 เม.ย. 2553
ผมคิดว่าชีวิตของทุกคนที่เกิดมาในโลกก็เป็นอย่างนี้ คือ มีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง มีเฉยๆ บ้าง เป็นธรรมดา จะให้มีแต่ความสุข ตลอดไปก็ไม่ได้ จะให้มีสุนทรีย์ทุกๆ วันก็เป็นไปไม่ได้ เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยจริงๆ และเป็นเพียงธรรมะอย่างหนึ่งที่กำลังเป็นไปไม่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา อนึ่งควรคำนึงเสมอว่าอะไรคือสาระของชีวิตควรสะสมบุญกุศล คุณความดี ไม่ควรประมาทในบุญญกิริยาวัตถุทั้ง ๑๐ ประการ กระทำวันนี้ให้ดีที่สุดครับ...
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
anupong
วันที่ 7 เม.ย. 2553

"และเป็นเพียงธรรมะอย่างหนึ่งที่กำลังเป็นไป "

ขอบคุณมากครับ ผมลืมสิ่งนี้ไปได้ยังไงหนอ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
choonj
วันที่ 7 เม.ย. 2553

น่าสนใจนะครับว่าจะทำอย่างไร อ.ว่าทำนะไม่ได้ ทีนี้ต้องเล่นดนตรีและร้องด้วยอารมณ์สนทรีย์ ก็ร้องด้วยอารมณสนทรีย์ไปสิครับ แต่เมื่อฟังธรรมจนมีการระลึกได้ว่า นี่ก็เป็นธรรมอย่างหนึ่งไปด้วย ก็อาจจะช่วยประกอบอาชีพนี้ไปได้ เป็นการเจริญสติไปในตัว ก็ต้องรู้ว่าขณะร้องอยู่กำลังเจริญและสั่งสมอกุศล แต่ถ้ามีกำลังและสติเกิด อกุศลนั้นก็เป็นเพียงธรรม เกิดแล้วก็ดับ คนฟังก็ได้ฟังดนตรีอันสนทรีย์ ปัญหาก็คือมีการเจริญอกุศลเพราะเป็นอาชีพ แต่ทุกคนที่ไม่ใช่นักดนตรีก็กำลังเจริญอกุศลแบบอื่นอยู่เหมื่อนกัน เป็นแค่ความเห็นนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 7 เม.ย. 2553

ไม่ว่าจะประกอบอาชีพใดๆ ชีวิตโดยปกติทั่วไปของปุถุชนก็มักเป็นไปกับ

อกุศลอยู่แล้วค่ะ และหากเว้นจากการประกอบมิจฉาอาชีวะแล้ว อาชีพใดๆ ก็ตามไม่ได้

เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรมเลย ถ้าผู้นั้นมีความเข้าใจธรรม รู้ว่าธรรมคืออะไร

ธรรมมีในขณะไหน (อะไรจริง อะไรไม่จริง) แม้ในขณะที่ร้องเพลง เล่นดนตรีก็ไม่พ้น

ไปจากสภาพธรรรมในชีวิตประจำวันเลยค่ะ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ยังมีอยู่ครบ)

ชีวิตของฆราวาสจำเป็นต้องมีการประกอบอาชีพ และอาชีพส่วนใหญ่ก็เป็น

ไปกับการตอบสนองของกิเลส ไม่ทางตา ก็ทางหู หรือทางจมูก ลิ้น กาย แม้แต่

ทางใจ เช่นนักเขียนพวกนวนิยายต่างๆ ถึงท่านจะไม่เล่นดนตรี ร้องเพลง อกุศลก็

ยังเกิดทางทวารอื่นๆ ได้ใช่มั้ยค่ะ

ดังนั้นท่านจะรู้จะเข้าใจอกุศลที่เกิดขึ้น "ตามความเป็นจริง" คือเป็นผู้ที่ตรง

ต่อสภาพธรรม หรือว่า จะพยายามบังคับยับยั้งไม่ให้อกุศลนั้นๆ เกิดขึ้น.....ด้วยความ

เป็นตัวตนค่ะ

อีกประการหนึ่งเราควรเป็นผู้ที่ตรงต่อหน้าที่ค่ะ หน้าที่ของนักดนตรีคือ

อะไร ท่านทำหน้าที่นั้นๆ ได้ครบถ้วนสมบูรณ์แล้วรึยัง (สมควรกับค่าจ้างรางวัลที่ท่าน

ได้รับหรือไม่) ไม่ควรห่วงเรื่องการปฏิบัติธรรมให้มากเกินไปนะคะ แต่ควรเข้าใจ

"ความจริง" ของชีวิตให้มากขึ้น......นั่นแหละค่ะ เป็นการปฏิบัติธรรมแล้ว

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
anupong
วันที่ 7 เม.ย. 2553

กระทู้แรกที่ตั้งบอร์ดนี้ เป็นประโยชน์ต่อผมมากครับ ขอขอบคุณทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 7 เม.ย. 2553

ขออนุญาตร่วมสนทนาด้วยในเรื่องของการปฏิบัติธรรมของคุณคือการดูจิต ขอเชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ...การดูจิต

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 7 เม.ย. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
jaran
วันที่ 8 เม.ย. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 8 เม.ย. 2553

ในพระไตรปิฏกแสดงไว้ว่า พวกเทวดาและมนุษย์ บูชาพระพุทธเจ้า ด้วยดนตรี

และการฟ้อนรำ ฯลฯ ถ้ากุศลเกิดสามารถบูชาด้วยเสียงธรรมะและเสียงดนตรีค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 8 เม.ย. 2553

^

^

ดังเช่น ท่านปัญจสิกขเทพบุตรบรรเลงเพลงด้วยพิณสีดั่งผลมะตูม เพื่อถวายเป็นพระ

พุทธบูชา เมื่อครั้งที่เหล่าเทวดาและพรหมตามส่งเสด็จพระพุทธองค์ ลงจากสวรรค์

ขั้นดาวดึงส์ ในวันมหาปวารณาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
jaran
วันที่ 8 เม.ย. 2553

คิดเสียว่า การฟังธรรมะ การอ่านหนังสือธรรมะเป็นการเรียนรู้ทฤษฎีในการที่จะนำสิ่งที่ดีมาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ส่วนการทำงานหรือการทำกิจกรรมต่างๆ ก็คือการฝึกภาคสนามทีจะนำทฤษฎีทีได้ฟังได้อ่านมาประยุคใช้ในแต่ละวัน หากคุณได้ทำบ่อยครั้งจะเกิดความชำนาญและสามารถอยู่ในสังคมต่อไปอย่างมีความสุข สงบ เยือกเย็น

ขอเป็นกำลังใจให้ปฏิบัติธรรมต่อไปครับและขออนุโมทนาทุกความเห็นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
kritchp
วันที่ 9 เม.ย. 2553

จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าวครับ

สถานที่ไหนมันก็เหมือนกัน ครูบาอาจารย์ท่านสอนว่าทุกอย่างอยู่ที่ใจเท่านั้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Nareopak
วันที่ 10 เม.ย. 2553

เห็นด้วยกับความคิดเห็นที่4 "อีกประการหนึ่งเราควรเป็นผู้ที่ตรงต่อหน้าที่ค่ะ หน้าที่ของนักดนตรีคืออะไร ท่านทำหน้าที่นั้นๆ ได้ครบถ้วนสมบูรณ์แล้วรึยัง (สมควรกับค่าจ้างรางวัลที่ท่านได้รับหรือไม่) ไม่ควรห่วงเรื่องการปฏิบัติธรรมให้มากเกินไปนะคะ แต่ควรเข้าใจ "ความจริง" ของชีวิตให้มากขึ้น......นั่นแหละค่ะ เป็นการปฏิบัติธรรมแล้ว มีอยู่ช่วงหนึ่งตัวเองก็ต้องมีหน้าที่ ที่จะต้องทำให้ผู้ร่วมงานสนุกสนานเพลิดเพลิน (จึงทั้งร้องและเต้นนำ) แต่ในขณะที่เต้น ระลึกว่าเราทำเพื่อหน้าที่ เมื่อได้รับมอบหมายมาก็ต้องทำให้ดีที่สุด ไม่ได้คิดว่าจะทำให้ผู้ดูมายกย่องชื่นชมในตัวเรา ในเวลาต่อมา เมื่อถึงเหตุปัจจัยเราก็ขอปฏิเสฐไม่รับหน้าที่แบบนี้อีก ท่านอาจารย์กล่าวเตือนอยู่เสมอว่า"ควรเจริญกุศลทุกประการ"

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
คุณ
วันที่ 10 เม.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
oom
วันที่ 16 เม.ย. 2553

อาชีพนักร้อง/ นักดนตรี เป็นอาชีพที่ทำให้คนอื่นมีความสุขน่าภูมิใจนะ เพราะตัวเองก็ชอบดนตรี ชอบฟังเพลง มันช่วยทำให้จิตใจอ่อนโยน เหมือนดังพระราชนิพนธ์ของร.6 ที่ว่า ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก............ คุณน่าจะภูมิใจที่เป็นนักดนตรี ซึ่งหลายๆ คนอยากเป็น แต่เป็นไม่ได้ เพราะไม่ได้สะสมมาทางด้านนี้

ดิฉันคิดว่าคนที่ร้องเพลง เล่นดนตรีได้เป็นอาชีพนั้น ถือว่ามีพรสวรรค์มากเลย ที่สามารถร้อง เล่นให้คนอื่นฟังแล้วมีความสุข อย่าคิดมาก เพราะเรายังเป็นปุถุชนคนหนึ่งที่ยังต้องดำเนินชีวิตไปตามปกติ เมื่อได้ฟังธรรมเข้าใจ ก็ถือว่าเป็นบุญที่จะได้สะสมต่อไปที่ละเล็ก ที่ละน้อย จนกว่าจะมีปัญญารู้แจ้ง ตามความเป็นจริง แล้วคุณก็จะไม่ทุกข์ ขอให้ทำหน้าที่ของคุณให้ดีที่สุด เพราะทุกอย่างก็เป็นธรรมะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ