พระอรหันต์ ไม่มีศรัทธาจริงหรือ

 
natthaset
วันที่  11 เม.ย. 2553
หมายเลข  15872
อ่าน  2,128

"พระอรหันต์ มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญาบริสุทธิ์ ไม่จำเป็นต้องใช้ศรัทธาในการดำรงชีวิตอีกต่อไป"ข้อความนี้เป็นจริงใช่ไหมครับ

เคยได้ยินมาว่า ศรัทธาไม่ประกอบด้วยปัญญา ก็โง่งมงาย ปัญญา ไม่ประกอบด้วยศรัทธาก็อันตรายยิ่ง

ศรัทธา กับ ปัญญา เหมือนไก่กับไข่ไม่รู้อะไรเกิดก่อนกัน ใช่ไหมครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 12 เม.ย. 2553
ขอเรียนว่า ผู้ที่มีศรัทธาสูงสุดคือพระอรหันต์ เพราะท่านมีปัญญามาก ศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญามาก และท่านไม่มีกิเลสใดๆ แล้ว จึงชื่อว่ามีศรัทธาสูงสุดมีศรัทธาที่ประเสริฐ ที่สุด ผู้ที่ศึกษาพระไตรปิฎกจะเห็นได้ว่า พระอรหันต์ทั้งหลายมีความเคารพ มีศรัทธาในพระพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง เพราะท่านหมดกิเลสพ้นจากกองทุกข์ได้ เพราะได้ฟังพระธรรมจากพระพุทธเจ้า สำหรับการเกิดขึ้นของศรัทธาและปัญญา โดยปรมัตถธรรมแล้ว ธรรมทั้งสองประเภทนี้เกิดขึ้นพร้อมกันในขณะจิตเดียวกัน เมื่อใดปัญญาเกิดขึ้นย่อมมีศรัทธาเกิดขึ้นเสมอ แต่ในบางกาลศรัทธาเกิดขึ้นโดยไม่มีปัญญาก็ได้ โดยนัยของพระสูตรบางแห่ง แสดงว่าการเกิดขึ้นของศรัทธามีก่อนที่จะฟังพระธรรม เมื่อฟังพระธรรม พิจารณาตาม เข้าใจ ปัญญาจึงเกิดขึ้นภายหลัง ดังนี้ก็มี..
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ผิน
วันที่ 12 เม.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 12 เม.ย. 2553
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อันดับแรก ควรที่จะได้ศึกษาพิจารณาว่า ศรัทธา คือ อะไร และ ปัญญา คืออะไรสภาพธรรมทั้งสองประการนี้เกิดกับจิตประเภทใดบ้าง ศรัทธาเป็นสภาพธรรมที่ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว เป็นเจตสิกฝ่ายดี (โสภณเจตสิก) ที่เกิดร่วมกับโสภณจิตทุกประเภท เป็นไปในทาน ศีล และ ภาวนา เมื่อศรัทธาเกิดขึ้นอกุศลธรรมประการต่างๆ จะเกิดร่วมไม่ได้เลย เพราะศรัทธากับอกุศล เป็นธรรมคนละประเภทกัน ไม่เกิดร่วมกัน ปัญญา หมายถึงความเข้าใจถูกเห็นถูก ปัญญา เป็นเจตสิกฝ่ายดี แต่ไม่เกิดกับโสภณจิตทุกประเภท ไม่เหมือนกับศรัทธาที่เกิดร่วมกับโสภณจิตทุกประเภท โสภณจิตประเภทใดที่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยก็จะไม่ปราศจากศรัทธาเลย แต่โสภณจิตบางประเภทมีศรัทธาเกิดร่วมด้วยโดยที่ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยก็ได้ พระอรหันต์ เป็นผู้ห่างไกลจากกิเลส เป็นผู้ดับกิเลสทั้งหลายทั้งปวงได้อย่างเด็ดขาดแล้ว ไม่มีกิเลสใดๆ เกิดขึ้นอีกเลย จิตของพระอรหันต์มีเพียง ๒ ชาติเท่านั้น คือ ชาติวิบาก กับ ชาติกิริยา ยกตัวอย่าง จิตชาติวิบากของพระอรหันต์ กล่าวคือ ภวังคจิต (จิตที่ดำรงภพชาติ) ซึ่งเป็นจิตประเภทเดียวกันกับปฏิสนธิจิต เป็นผลของกุศลกรรมที่ประกอบด้วยเหตุ ๓ คื่อ อโลภเหตุ อโทสเหตุ และอโมหเหตุ มีปัญญาเกิดร่วมด้วย เมื่อมีปัญญาเกิดร่วมด้วยก็ต้องมีศรัทธาเกิดร่วมด้วยเช่นกัน แต่เป็นชาติวิบาก,จิตชาติวิบากมีหลายประเภท บางประเภทไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย บางประเภทก็มีเหตุเกิดร่วมด้วย จึงค่อยๆ ศึกษาในรายละเอียดต่อไป, จิตชาติกิริยาของพระอรหันต์ ก็มีทั้งที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ และประกอบด้วยเหตุ สำหรับ มหากิริยาจิตของพระอรหันต์บางประเภทก็มีปัญญาเกิดร่วมด้วย บางประเภทก็ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย ที่สำคัญมหา-กิริยาจิตของพระอหรันต์จะมีศรัทธาเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Jans
วันที่ 12 เม.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 13 เม.ย. 2553

ศรัทธาของปุถุชนไม่แน่นอน ไม่ประกอบด้วยปัญญาก็ได้ แต่ศรัทธาของ

พระโสดาบันที่มีต่อพระรัตนตรัยมั่นคงแน่นอน และมีมากขึ้นตามลำดับขั้นค่ะ

เช่น ศรัทธาของพระโสดาบันที่เห็นพระคุณของพระพุทธเจ้า ก็ไม่เท่าศรัทธา

ของพระสกทาคามี ศรัทธาของพระสกทาคามีก็ไม่เท่าศรัทธาของพระอนาคามี

ศรัทธาของพระอนาคามีก็ไม่เท่าศรัทธาของพระอรหันต์ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 13 เม.ย. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

โดยทั่วไปเราเข้าใจกันว่า ศรัทธาคือความเชื่อ เมื่อเชื่อในสิ่งใด ในแนวคิดอะไรก็คือมี

ศรัทธาในสิ่งนั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ศรัทธาในพระพุทธศาสนามีความหมายที่

ลึกซึ้งมากกว่านั้น ศรัทธาเป็นสภาพธรรมฝ่ายดีจะไม่เกิดกับอกุศลจิตเลย และขณะใดที่

กุศลจิตเกิดก็ต้องมีศรัทธาเกิดร่วมด้วยเสมอ เพราะฉะนั้นขณะที่มีความเชื่อในแนวคิด

ปรัชญาหรือในหลักการเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่ได้หมายความว่ามีศรัทธาในเรื่องนั้นเพราะ

ขณะนั้นจิตเป็นอกุศลคือพอใจติดข้องในความเห็นนั้นคือเป็นโลภะ ซึ่งศรัทธาจะไม่เกิด

กับอกุศลจิตเลย ในทำนองเดียวกัน หากมีศรัทธาในหนทางที่ผิด ในความเชื่อที่ผิด จะ

กล่าวว่ามีศรัทธาแต่ไม่มีปัญญาก็ไม่ได้ครับ เพราะขณะนั้นมีความเชื่อ พอใจในความ

เห็นที่ผิดจึงเป็นโลภะที่ประกอบด้วยความเห็นผิด เป็นอกุศลจิต ศรัทธาเป็นสภาพธรรม

ฝ่ายดีจะไม่เกิดกับอกุศลจิต จึงไม่อาจกล่าวได้เลยว่าขณะนั้นมีศรัทธาแต่ขาดปัญญา

แต่ขณะใดที่มีความเชิ่อในหนทางที่ถูกอันเกิดจากความเข้าใจ ขณะนั้นมีศรัทธา เพราะ

เป็นจิตที่เป็นกุศล เมื่อกุศลเกิดย่อมมีศรัทธาเกิดร่วมด้วยเสมอครับ อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 14 เม.ย. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
choonj
วันที่ 14 เม.ย. 2553

ในอดีตมีผู้เอาดอกใม้เพียงดอกเดียวบ้าง สี่ดอกบ้าง และพวงมาลัยบูชาขึ้นสู่สถูปแล้วด้วยศรัทธาอันแรงกล้าในพระสำมาสัมพุทธเจ้า เมื่อกายแตกแล้วได้เกิดบนสวรรค์ มีวิมานสวยงามรัศมีรุ้งโรจน์ และได้อัตภาพพันหนึ่งแห่งอายุกัปเป็นที่สุด ไม่รู้จักทุคติถึง ๓๐ กัป ศรัทธาในพระพุทธเจ้า เมื่อได้กระทำแล้ว จึงเป็นคุณอันใหญ่ เป็นบุณอันโอฬาร ได้ดีแล้วหนอ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
natthaset
วันที่ 17 เม.ย. 2553

ความคิดเห็นที่6 น่าสนใจมากครับ

ศรัทธาเกิดได้เฉพาะกุศลจิตเท่านั้น จะไม่เกิดกับอกุศลจิตเลย

แล้วความเชื่อผิดๆ น่าจะเรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ ไม่ใช่ มิจฉาศรัทธา ไช่ไหมครับ?

ขอบคุณ และอนุโทนาด้วครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
paderm
วันที่ 17 เม.ย. 2553

เรียนความเห็นที่ 9

ความเชื่อที่ผิดที่ไม่ถูกต้อง ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นโลภมูลจิตที่ประกอบ

ด้วยความเห็นผิด นั่นก็คือ มิจฉาทิฏฐินั่นเองครับ ไม่ใช่มิจฉาศรัทธา

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Pinyapachaya
วันที่ 19 เม.ย. 2553

ขอเรียนถามความเห็นที่ 8 อยากรบกวนถามว่าอยู่ในพระสูตรตอนใดคะ ขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
คนรักธรรมะ
วันที่ 19 เม.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ