ขอเรียนถาม

 
นักศึกษา
วันที่  13 เม.ย. 2553
หมายเลข  15881
อ่าน  1,599

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 50

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ความรู้ในเหตุ ชื่อว่าธรรมปฏิสัมภิทา.๑ ผลแห่งเหตุชื่อว่าอรรถ สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไว้ว่าความรู้ในผลแห่งเหตุ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา๒.บัญญัติ อธิบายว่า การเทศนาธรรมตามธรรม ชื่อว่าเทศนา. การตรัสรู้ชื่อว่าปฏิเวธ. ก็ปฏิเวธนั้นเป็นทั้งโลกิยะและโลกุตระ คือ ความรู้ รวมลงในธรรมตามสมควรแก่อรรถ ในอรรถตามสมควรแก่ธรรมในบัญญัติตามสมควรแก่ทางแห่งบัญญัติ โดยวิสัย และ โดยความไม่งมงาย ๓.

กรุณาอธิบายข้อความนี้

๑. ความรู้ในเหตุ ชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา

๒. ผลแห่งเหตุ ชื่อว่า อรรถ

๓. ก็ปฏิเวธนั้น เป็นทั้งโลกิยะ และ โลกุตระ

๔. ธรรม ตามสมควรแก่ อรรถ

๕. อรรถ ตามสมควรแก่ ธรรม

๖. ในบัญญัติ ตามสมควรแก่ ทางแห่งบัญญัติ

๗. โดย วิสัย และ โดย ความไม่งมงาย

ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
นักศึกษา
วันที่ 13 เม.ย. 2553

๑-๒ อภิ. วิ. ๓๕/๓๙๙. ๓. สารตฺถทีปนี. ๑/๑๒๒. อธิบายว่า ในความตรัสรู้ เป็นโลกิยะ และโลกุตระนั้น

ความหยั่งรู้เป็นโลกิยะ มีธรรมมีอวิชชาเป็นต้น เป็นอารมณ์มีสังขารมีอรรถเป็นต้น เป็นอารมณ์

มีการให้เข้าใจธรรมและอรรถทั้งสองนั้นเป็นอารมณ์ชื่อว่า ความรู้รวมลงธรรมเป็นต้น ตามสมควรแก่อรรถเป็นต้นโดยวิสัย.

ส่วนความตรัสรู้เป็นโลกุตระนั้นมีนิพพานเป็นอารมณ์สัมปยุตด้วยมรรค มีการกำจัดความงมงายในธรรม อรรถและบัญญัติตามที่กล่าวแล้วชื่อว่าความรู้รวมลงในธรรมเป็นต้น ตามสมควรแก่อรรถเป็นต้น โดยความไม่งมงาย.

กรุณาอธิบายข้อความนี้

ในความตรัสรู้ เป็นโลกิยะ และโลกุตระนั้น ความหยั่งรู้เป็นโลกิยะ มีธรรมมีอวิชชาเป็นต้น เป็นอารมณ์มีสังขารมีอรรถเป็นต้น เป็นอารมณ์มีการให้เข้าใจธรรมและอรรถทั้งสองนั้นเป็นอารมณ์ชื่อว่า ความรู้รวมลงธรรมเป็นต้น ตามสมควรแก่อรรถเป็นต้นโดยวิสัย.

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prachern.s
วันที่ 15 เม.ย. 2553

๑. ความรู้ในเหตุ ชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา เช่น ความรู้ใน กุศลจิต อกุศล อริยมรรคและ พระบาลีที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นต้น

๒. ผลแห่งเหตุ ชื่อว่า อรรถ ความรู้ในผล เช่น วิบากจิต กิริยาจิต นิพพาน และอรรถกถาแห่งพระบาลี เป็นต้น

๓. ก็ปฏิเวธนั้น เป็นทั้งโลกิยะ และ โลกุตระ ปฏิเวธคือการแทงตลอดในอริยสัจทั้งสี่ปัญญาที่แทงตลอด กว่าโดยรวมมีทั้งโลกิยะและโลกุตตระ

๔. ธรรม ตามสมควรแก่ อรรถ...

๕. อรรถ ตามสมควรแก่ ธรรม....

๖. ในบัญญัติ ตามสมควรแก่ ทางแห่งบัญญัติ...

ขอเชิญสมาชิกร่วมสนทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
BudCoP
วันที่ 5 พ.ค. 2553

นโม เม ปฏิเวธสฺส

ความนอบน้อมของเราจงมีแด่พระปฏิเวธ

สวัสดีครับ, คุณ prachern.s และคุณนักศึกษาใหม่ - ขอสนทนาร่วมด้วยคน ครับ.

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 50 (แปลใหม่)

เหตุ คือ ธรรม เพราะท่านว่า "ญาณใน เหตุ เรียก ธรรมปฏิสัมภิทา".

ผลของเหตุ คือ อรรถะ. เพราะท่านว่า ญาณในผลของเหตุ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา.

บัญญัติ คือ เทศนา หมายถึง การสอนเป็นเหตุเป็นผลและถูกตรงต่อความจริง.

การตรัสรู้ คือ ปฏิเวธ.

ปฏิเวธในข้อ 4 นั้นมีทั้งโลกิยะและโลกุตระ คือ .-

วิสยะ - หยั่งรู้ด้วยการเอาเป็นอารมณ์ คือ.-

ต้องรู้ธรรมตรงกับความหมาย.

ต้องรู้ความหมายตรงกับธรรม.

ต้องรู้บัญญัติตามที่เหมาะควรกับการบรรลุด้วย.

อสัมโมหะ - หยั่งรู้ด้วยการไม่หลงยึดผิดอีกต่อไป คือ .-

ต้องรู้ธรรมตรงกับความหมาย.

ต้องรู้ความหมายตรงกับธรรม.

ต้องรู้บัญญัติตามที่เหมาะควรกับการบรรลุด้วย.

-๒ อภิ. วิ. ๓๕/๓๙๙. . สารตฺถทีปนี. /๑๒๒. อธิบายว่า (แปล ใหม่)

การปฏิเวธแบบเข้าใจอารมณ์นั้น เป็นการเข้าใจอารมณ์ คือ ธรรมะ กับ อารมณ์ คือ อรรถะตรงกันสมกัน เป็นต้น.

การเข้าใจอารมณ์คือธรรมะนั้น คือ การเข้าใจอวิชชา เป็นต้น.

การเข้าใจอารมณ์คืออรรถะนั้น คือ การเข้าใจสังขาร เป็นต้น.

การเข้าใจอารมณ์คือวิธีการสอนนั้น คือ การเข้าใจวิธีการบอกสอนธรรมะและอรรถะทั้งคู่.

เป็นการ เข้าใจอย่างโลกิยะ.

การปฏิเวธแบบอสัมโมหะนั้น เป็นความเข้าใจธรรมะกับอรรถะตรงกันสมกัน เป็นต้น.

แต่เป็นความเข้าใจในระดับที่ทำลายล้างโมหะเกี่ยวกับเรื่องธัมมะ อัตถะ และเสียเกลี้ยงเรียบ.

เป็นความเข้าใจอารมณ์คือนิพพาน.

เป็นความเข้าใจที่ประกอบกับมรรค.

เป็นความเข้าใจระดับโลกุตตระ.

อธิบาย.-

โลกิยะปฏิเวธะนี้เป็นการเข้าใจ เหตุ ผล และ วิธีแสดงเหตุผล อย่างตลอดสาย คือ ถ้าเข้าใจอวิชชา ก็ต้องเข้าใจสังขารด้วย, และเมื่อเข้าใจสังขารก็ต้องเข้าใจไปจนถึงชรามรณะด้วย, เข้าใจลักขณาทิจตุกกะของมันด้วย เป็นต้น.

โลกุตตระปฏิเวธะนี้เป็นการเข้าใจ เหตุ ผล และ วิธีแสดงเหตุผล ที่สุดสายแล้ว เต็มแล้วตัดโมหะได้เรียบสนิทปิดตายแล้ว คือ มันเพียงพอที่จะเข้าใจนิพพาน ทำให้มรรคเกิดเต็มเปี่ยม และหลีกพ้นสังขารได้อย่างถาวร.

ตัวอย่างการปฏิเวธแบบโลกิยะ.-

เข้าใจสาเหตุ เช่น ในที่นี้ยกตัวอย่างอวิชชาเป็นธรรม, การเข้าใจอวิชชานั้นทั้งมุมลักขณา ทิจจตุกะ, อัทธา 3, องค์ 12, อาการ 20, สนธิ 3, สังเขป 4, วัฏฏะ 3, มูล 2, ปัฏฐาน เป็นต้น เป็นการเข้าใจสาเหตุ. เข้าใจผลลัพธ์ เช่น ในที่นี้ยกตัวอย่างสังขารเป็นอรรถะ, การเข้าใจสังขารนั้นทั้งมุมลักขณา ทิจจตุกะ, อัทธา 3, องค์ 12, อาการ 20, สนธิ 3, สังเขป 4, วัฏฏะ 3, มูล 2 เป็นต้น เป็นการเข้าใจผลลัพธ์. เข้าใจวิธีการสอนธรรมะและอรรถะทั้งคู่ เช่น กล่าวเรื่องอวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขารอย่างไรจะไม่ผิดความจริง บอกตัวเองสอนตัวเองอย่างไรจึงจะบรรลุ เป็นต้น. ซึ่งข้อนี้ถ้าไม่ใช่สัมพุทธะจะ เข้าใจได้แค่ตามแนวที่ตนเรียนมา. ถ้าถามว่ารู้ขนาดไหน ก็ตอบว่า ขนาดที่โม้ได้ แต่เป็นเฉพาะเรื่องที่ตนบรรลุหรือเรียนมา ครับ.

ตัวอย่าง การปฏิเวธแบบโลกุตตระ.-

ผมยังเป็นปุถุชน ครับ.

* * * เขียน เกิน 4 ชั่วโมง หวังว่าจะอ่านจนบรรลุได้นะครับ * * *

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
นักศึกษา
วันที่ 8 พ.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ