ความหมายของสุญญตา [ธรรมสังคณีปกรณ์]

 
khampan.a
วันที่  17 เม.ย. 2553
หมายเลข  15902
อ่าน  7,113

[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 615

คำว่า สุญญตา นี้เป็นชื่อของโลกุตรมรรค จริงอยู่ โลกุตรมรรคนั้น ย่อมได้ชื่อเพราะเหตุ ๓ อย่าง คือ เพราะการบรรลุ ๑ เพราะคุณของตน ๑ เพราะอารมณ์ ๑.

ถามว่า ข้อนี้ เป็นอย่างไร?

ตอบว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อาศัยอยู่โดยความเป็นอนัตตา ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นอนัตตา แต่ธรรมดาว่า การออกจากสังขตธรรมด้วยมรรค (มรรควุฏฐานะ) ย่อมไม่มีโดยเพียงเห็นโดยความเป็นอนัตตาเท่านั้น การเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงบ้าง โดยความเป็นทุกข์บ้าง จึงสมควร เพราะฉะนั้น เธอจึงยกขึ้นสู่อนุปัสสนา ๓ อย่าง คือ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา แล้วพิจารณาอยู่ท่องเที่ยวไป ก็วิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินีของภิกษุนั้น ย่อมเห็นสังขารทั้งหลายแม้อันเป็นไปในภูมิ ๓ โดยความเป็นของสูญ (ว่างเปล่า) ทีเดียว วิปัสสนานี้ชื่อว่า สุญญตา วิปัสสนานั้นดำรงอยู่ในฐานะที่ควรบรรลุ จึงให้ชื่อมรรคของตนว่า สุญญตะ มรรคย่อมได้ชื่อว่า สุญญตะ เพราะการบรรลุด้วยประการฉะนี้. แต่เพราะมรรคนั้นสูญจากราคะเป็นต้น ฉะนั้น จึงได้ชื่อว่า สุญญตะ ด้วยคุณของตน. แม้พระนิพพาน ท่านก็เรียกชื่อว่า สุญญตะ เพราะเป็นสภาวะสูญจากราคะเป็นต้น. มรรคย่อมได้ชื่อ สุญญตะ โดยอารมณ์เพราะความที่มรรคนั้นทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่ 15 มิ.ย. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เซจาน้อย
วันที่ 27 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
bukpat
วันที่ 2 ธ.ค. 2555

อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
anattasoonyata
วันที่ 19 ม.ค. 2556

สุญญตา กับ อนัตตา ต่างกันอย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 22 ม.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 15902 ความคิดเห็นที่ 4 โดย anattasoonyata

ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง สิ่งที่มีจริงทั้งหลายทั้งปวงนั้น ไม่พ้นไปจากจิต เจตสิก รูป และนิพพาน เป็นสภาพธรรมที่ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร ไม่มีใครเป็นเจ้าของ และปฏิเสธความเป็นตัวตน สัตว์ บุคคล สภาพธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริงนั้น ว่างจากความเป็นตัวตน แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่มี เพราะแท้ที่จริงแล้ว เป็นสิ่งที่มีจริงๆ เช่น เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องกระทบสัมผัส คิดนึก จิตเป็นอกุศล จิตเป็นกุศล เป็นต้น มีจริงทั้งหมด แต่ว่างจากความเป็นตัวตน สัตว์ บุคคล เพราะเป็นเพียงสภาพธรรมแต่ละอย่างๆ เท่านั้น

โดยนัยนี้ อนัตตากับสุญญตา มีอรรถอย่างเดียวกัน บุคคลผู้ที่อบรมเจริญปัญญา มีปัญญาเจริญขึ้นไปตามลำดับ จนกระทั่งถึงขั้นที่ดับกิเลสได้อย่างเด็ดขาด คือมรรคจิตเกิดขึ้นประหารกิเลสตามลำดับมรรค ขณะนั้นก็เรียกว่าสุญญตะ เพราะว่างจากกิเลส ไม่มีกิเลสเกิดขึ้นอีก โดยนัยนี้ สุญญตะ หมายถึง มรรคจิต พระนิพพาน เป็นสภาพธรรมที่เหนือโลกหรือพ้นจากโลก คือ พ้นจากการเกิดดับ พระนิพพานเป็นวิสังขารธรรม ไม่เกิดไม่ดับ โดยนัยนี้ สุญญตะ หมายถึงพระนิพพาน เพราะพระนิพพาน ว่างจากราคะ โทสะ โมหะ รวมถึงว่างจากสังขารธรรมทุกประเภทอีกด้วย ดังนั้น ไม่ว่าจะแสดงถึงธรรมประเภทใด โดยนัยใด ก็ย่อมส่องให้เข้าใจถึงความเป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนทั้งนั้น ความเข้าใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 15 เม.ย. 2559

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
นิคม
วันที่ 7 ธ.ค. 2559

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Tommy9
วันที่ 8 พ.ค. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
สิริพรรณ
วันที่ 8 พ.ค. 2561

กราบนอบน้อมพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า

พระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้และทรงแสดงลึกซึ้ง ด้วยพระปัญญาธิคุณที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง เพราะปราศจากกิเลส สมควรอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาโดยละเอียดจากพระไตรปิฎก อรรถกถาฯ และฟังจากผู้ศึกษามาโดยละเอียดขยายความ มีคุณค่ามหาศาลที่ได้อ่าน ได้ศึกษา ได้ฟังความละเอียด เพื่อเข้าใจ แม้ทีละเล็ก ทีละน้อย แต่ก็เป็นขณะที่สะสมความเห็นถูกแล้ว

วิชาที่ได้ยินจากพระธรรม มีค่าที่สุดกว่าวิชาใดๆ ในโลกนี้ เพราะเป็นวิชาเดียวที่จะนำพาผู้ศึกษาออกจากความทุกข์ จากความไม่รู้ ความเห็นผิด และความติดข้อง ในสิ่งทั้งปวงได้จริง

จึงขอกราบอนุโมทนาขอบพระคุณยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
orawan.c
วันที่ 1 เม.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 17 พ.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 6 พ.ย. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
มกร
วันที่ 6 พ.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
Jarunee.A
วันที่ 20 ธ.ค. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ