ข้องใจมานานแล้วครับ! วิธีการรู้ความจริงและตัดกิเลส

 
natthaset
วันที่  17 เม.ย. 2553
หมายเลข  15910
อ่าน  1,871

สมถะ ทำให้อยู่สุขด้วยการข่มกิเลสไว้ และให้ไปเกิดในพรหมโลก
แค่นั้นพ้นทุกข์ไม่ได้
วิปัสสนา ทำให้เข้าถึงความพ้นทุกข์ คือ พระนิพพาน
และเข้าถึงความไม่เกิดเป็นที่สุด

ข้อความนี้เป็นจริงหรือครับ
ถ้าเป็นจริง สมถะ ก็เป็นแค่ทางผ่านทางหนึ่ง (หรือทางเอก) ที่ไปหาวิปัสสนา เพื่อให้รู้สัจจะธรรมใช่ไหม่ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 18 เม.ย. 2553

แสดงโดยรวมกว้างๆ คือ กุศลขั้นสมถภาวนา เป็นกุศลขั้นสูงสุด ตามคำสอนลัทธิภายนอกพระพุทธศาสนา ผลคือ ความสงบของจิต ระดับฌานขั้นต่างๆ ข่มกิเลสไว้ เมื่อฌานไม่เสื่อมบังเกิดเป็นพระพรหม เมื่อหมดอายุแล้วต้องกลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้อีก ส่วนคำสอนของพระพุทธเจ้า กุศลขั้นสูงสุดคือวิปัสสนาภาวนา อริยมรรคมีองค์แปด เมื่ออบรมเจริญถึงที่สุดแล้ว ดับกิเลส พ้นจากทุกข์ทั้งปวงไม่ต้องกลับมาเกิดอีก แต่เมื่อพิจารณาตามหลักคำสอนของพระพุทธองค์ที่ทรงแสดงไว้ พระองค์ทรงแนะนำพระสาวกให้เจริญกุศลทุกประการ คือ ทาน ศีล สมถะ วิปัสสนา และเป็นไปไม่ได้ที่จะมีเพียงกุศลขั้นวิปัสสนาเพียงอย่างเดียว ผู้ที่อบรมเจริญต้องมีกุศลขั้นอื่นๆ ด้วย เช่น ข้อความในชฏาสูตรตอนหนึ่งมีว่า นรชนผู้มีปัญญา ตั้งมั่นแล้วในศีลอบรมจิตและปัญญาให้เจริญอยู่ เป็นผู้มี ความเพียร มีปัญญารักษาตน ภิกษุนั้นพึงถางรกชัฏนี้ได้.. จากข้อความสูตรนี้จะเห็นได้ว่า สำหรับพระภิกษุต้องมีศีล เจริญสมถะและวิปัสสนาในอรรถกถาท่านเปรียบเหมือนการที่บุคคลจะตัดต้นไม้ใหญ่ (กิเลส) ต้องอาศัยแผ่นดินคือศีล เป็นที่ยืน ศาสตรา คือปัญญา หินลับมีด คือ สมาถะ ความพยายาม คือ วิริยะจึงจะตัดต้นไม้คือกิเลสได้ ถ้ามีเพียงมีด หรือขวาน แต่ไม่มีที่ยืน ไม่มีหินลับ ไม่มีความเพียรพยายาม ก็ไม่สามารถตัดต้นไม้คือกิเลสได้ อนึ่งทรงแสดงกุศลที่เป็นใหญ่ คือ อินทริย์ หรือ พละ ก็มีถึง ๕ ประเภท ไม่ใช่เพียงปัญญาเท่านั้น แม้องค์มรรคก็มีถึง ๘องค์ แม้บารมีก็ต้องอบรมถึง ๑๐ ประการ จึงจะถึงฝั่งคือพระนิพพานได้ สรุปคือ กุศลทุกประการสนับสนุนเกื้อกูลกันตลอด ไม่ต้องแยกว่าจะเจริญอย่างหนึ่งไม่เอาอีกอย่างหนึ่งไม่ได้ครับ

และข้อความในพระสูตรหลายสูตรแสดงผลของการอบรมเจริญสมถภาวนาใน

พระพุทธศาสนาทำให้ถึงพระนิพพานเช่นเดียวกัน อยู่ที่ความเข้าใจเป็นสำคัญ

ขอเชิญคลิกอ่านตัวอย่างที่ เอกธัมมาทิบาลี นัยอื่น วรรคที่ ๑ .. อนุสสติ ๑๐ และพระสูตร ควรเจริญสมถและวิปัสสนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 18 เม.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
natthaset
วันที่ 18 เม.ย. 2553

"เปรียบเหมือนการที่บุคคลจะตัดต้นไม้ใหญ่ (กิเลส) ต้องอาศัยแผ่นดินคือศีล เป็นที่ยืน ศาสตรา คือปัญญา หินลับมีด คือ สมาถะ ความพยายาม คือ วิริยะจึงจะตัดต้นไม้คือกิเลสได้"

ขอบคุณ และอนุโมทนามากๆ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 18 เม.ย. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เรียนสนทนาด้วยครับ คงต้องแยกคำว่า สมถะคืออะไร และคำว่าสมถภาวนาคืออะไร

ก่อนครับ เมื่อเข้าใจความต่างของสองคำก็จะเข้าใจว่าควรเจริญหรือไม่ อย่างไร และ

สามารถดับกิเลสได้หรือไม่

สมถะ คือความตั้งมั่นแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่าน หรือสมาธิ แต่เมื่อกล่าวโดยนัยของ

กุศลคือการอบรมเจริญปัญญา สมถะก็ต้องเป็นความตั้งมั่นแห่งจิตที่เกิดกับจิตที่เป็น

กุศล แต่ไม่ใช่ความตั้งมั่นจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วจะเป็นสมถะที่เป็นไปในการ

อบรมปัญญาครับ เพราะฉะนั้น คำว่าสมถะ อย่างเดียวที่เป็นไปในการอบรมปัญญาจึง

หมายถึงความตั้งมั่นแห่งจิตที่เกิดกับกุศลจิตประกอด้วยปัญญา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 367

[๖๔] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ? ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่าย

ไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบสมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมถะ

มีในสมัยนั้น.

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 18 เม.ย. 2553

ส่วนคำว่า สมถภาวนาก็มีอีกความหมายหนึ่ง ไม่ใช่ความหมายเหมือนกับสมถะเท่านั้น

สมถะคือความตั้งมั่นแห่งจิต ถ้าเป็นฝ่ายกุศลก็ ตั้งมั่น สงบจากกิเลส ตั้งมั่นในกุศล

ขณะที่ให้ทาน มีเอกัคคตาเจตสิกคือความตั้งมั่นของจิตในขณะนั้น เป็นขณิกสมาธิชั่ว-

คราวแล้วก็ดับไป แต่ขณะนั้นก็ต้องเป็นสมถะ ที่ไม่ฟุ้งซ่าน ตั้งมั่นเพียงชั่วขณะ และเป็น

ไปในกุศล แต่กุศลเกิดขึ้นและก็ดับไป อกุศลก็เกิดต่อได้ จึงไม่ใช่สมถภาวนาเพราะว่า

สมถภาวนา หมายถึงการอบรมเจริญให้กุศลที่เกิดเพียงชั่วขณะให้เกิดบ่อยๆ ติดต่อกัน

ไป จึงเป็นการอบรมสมถภาวนา ภาวนาคือการอบรมในสิ่งที่ไม่มีให้มีขึ้นหรือสิ่งที่มีขึ้น

แล้วให้เจริญติดต่อกันไปป หรือมีมากขึ้นนั่นเองครับ

สมถภาวนาจึงไม่ใช่หนทางในการดับกิเลสได้เลย เพราะไม่สามารถรู้ความจริงว่าเป็น

ธรรมไช่เรา ไม่สามารถละอวิชชาความไม่รู้ที่ยึดถือว่าเป็นสัตว์ บุคคลได้ครับ เชิญคลิกอ่านที่นี่

ฌานดับกิเลสไม่ได้ มรรคมีองค์ 8 ดับกิเลสได้ [มหาโควินทสูตร]

ฌานไม่ใช่หนทางในการดับกิเลส [สัลเลขสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 18 เม.ย. 2553

ตามที่กล่าวมา สมถภาวนาไม่สามารถดับกิเลสได้เลย วิปัสสนาเท่านั้นครับที่ดับ-

กิเลสได้ ซึ่งตามที่ได้อธิบายมาในเรื่องของคำว่าสมถะที่หมายถึงความตั้งมั่นแห่งจิตอัน

เป็นในกุศลโดยนัยการอบรมปัญญาและสมถภาวนาคือการอบรมเจริญขึ้นของกุศล ให้

มากขึ้นติดต่อกันไป ซึ่งในการเจริญวิปัสสนานั้นก็มีทั้งสมถะและวิปัสสนาอยู่แล้ว

จึงไม่ได้หมายความว่าการอบรมวิปัสสนาจะต้องอบรมสมถภาวนาก่อน เพื่อจะได้เจริญ

วิปัสสนาได้ครับ ตรงนี้ไม่ถูก เพราะเราไปเข้าใจว่าการเจริญวิปัสสนามีทั้งสมถะและ

วิปัสสนาแล้วก็เลยเหมาว่า สมถะในที่นั้นคือสมถภาวนาซึ่งไม่ใช่ครับ คำที่ว่าวิปัสสนา

มีทั้งสมถะและวิปัสสนา สมถะในที่นี้คือ เว้น สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะที่เป็น

วิปัสสนา มรรค อีก 6 มีสัมมาวาจา เป็นต้น เป็นสมถะครับ ดังข้อความในพระไตรปิฎก

เชิญคลิกอ่านที่นี่

มรรคหรือสติปัฏฐาน เป็นทั้งสมถและวิปัสนนาแม้ไม่ได้อบรมสมถภาวนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 18 เม.ย. 2553

วิปัสสนาคือการรู้สภาพธรรมที่มีจริง สมถภาวนาไม่สามาถดับกิเลสได้แต่เป็นอารมณ์

ของวิปัสสนา คือปัญญาสามารถรู้ความจริงที่เป็นสมถภาวนาได้เพราะขณะนั้นเป็นจิต

จิตที่เป็นไปในฌาน จิตมีจริงเป็นสภาพธรรม วิปัสสนาจึงสามารถรู้ตามความเป็นจริง

ของความไม่เที่ยง ของความไม่ใช่ตัวตนของจิตที่เป็นฌานได้ครับ เพราะฉะนั้นใน

เรื่องสมถภาวนาไม่สามารถดับกิเลสได้ หากไม่มีความเข้าใจในเรื่องของการเจริญ

วิปัสสนา สำคัญคือความเข้าใจในเรื่องการเจริญวิปัสสนาเป็นสำคัญ แต่ก็ไมได้หมาย

ความว่าจะให้ไม่ให้เจริญสมถภาวนา แต่ขึ้นอยู่กับการสะสมมาของแต่ละบุคคล แต่ให้รู้

ตามความเป็นจริงว่าหนทางใดเป็นหนทางดับกิเลสครับ เชิญคลิกอ่านที่นี่...สมถภาวนา กับ วิปัสสนาภาวนา อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 19 เม.ย. 2553

จาก ความคิดเห็นที่ 1

"......อนึ่งทรงแสดงกุศลที่เป็นใหญ่ คือ อินทริย์ หรือ พละ ก็มีถึง ๕ ประเภท ไม่ใช่เพียง

ปัญญาเท่านั้น แม้องค์มรรคก็มีถึง ๘ องค์ แม้บารมีก็ต้องอบรมถึง ๑๐ ประการ จึงจะถึง

ฝั่งคือพระนิพพานได้ สรุปคือ กุศลทุกประการสนับสนุนเกื้อกูลกันตลอด ไม่ต้องแยกว่าจะเจริญอย่าง

หนึ่งไม่เอาอีกอย่างหนึ่งไม่ได้ครับ ....."

อธิบายได้ชัดเจนดีค่ะ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
คนรักธรรมะ
วันที่ 19 เม.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
สามารถ
วันที่ 20 เม.ย. 2553


หากจะพูดอย่างง่าย ผมเห็นอย่างนี้ครับว่า จะทำลายกิเลสที่มีอวิชาเป็นต้นได้ ก็ด้วยปัญญา คือการรู้แจ้งในความจริงที่ว่า ทุกอย่างเป็นทุกข์ ไม่น่ายินดี จึงจะเกิดการไม่ยึดถือได้ครับ อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ และอะไรที่จะทำให้เรารู้ความจริง อะไรจะทำให้เราเกิดปัญญาที่รู้ถึงทุกข์ ...จนถึงทุกขอริยสัจนั้น สิ่งนั้นย่อมเป็นประโยชน์ครับ ผลของสมถะคืออะไร ทำให้เกิดความรู้ในความจริงหรือไม่ ผลของวิปัสนาคืออะไร ทำให้เกิดความรู้ในความจริงหรือไม่

นี้เป็นสิ่งที่เราควรไตร่ตรองอย่างมากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ผมคือโรบอท
วันที่ 21 เม.ย. 2553

หรือความสุขที่แท้จริงคือการหลับ ที่ไม่ฝัน และไม่ตื่นอีกเลยใช่ไหมเนี่ย

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
สามารถ
วันที่ 23 เม.ย. 2553

เรากำลังศึกษาความเป็นจริง เพื่อการรู้จักตัวเองตามความเป็นจริง

อยากชวนคุณโรบอทคิดว่า การหลับ ที่ไม่ฝัน และไม่ตื่นอีกเลย จะเป็นความเป็นจริงได้อย่างไร เมื่อพระพุทธองค์แสดงไว้ว่าไม่มีสิ่งใดที่จะมั่นคงนอกจากความไม่มั่นคง

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
ตะวัน
วันที่ 30 เม.ย. 2553

เข้ามาเก็บเกี่ยวความรู้ ขอบคุณมากครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ