บุคคลไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต
prachern.s
วันที่ 21 เม.ย. 2553
หมายเลข 15931
อ่าน 1,304
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 622
[๙๗๘] คำว่า พึงเปล่งวาจาอันเป็นกุศล ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต ความว่า พึงเปล่งวาจาอันเกิดขึ้นแต่ญาณ คือ พึงเปล่งเปล่งออก เปล่งออกดี ซึ่งวาจาอันประกอบด้วยอรรถ อันประกอบด้วยธรรม ซึ่งเป็นวาจาประกอบด้วยประโยชน์ มีที่อ้างอิง มีที่สุด ตามกาลอันควร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเปล่งวาจาที่อันเป็นกุศล. ชื่อว่า ขอบเขต ในคำว่า ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต ได้แก่ ขอบเขต ๒ อย่างคือขอบเขตกาล ๑ ขอบเขตศีล ๑. ขอบเขตกาลเป็นไฉน ภิกษุไม่พึงกล่าววาจาล่วงเกินกาล ไม่พึงกล่าววาจาล่วงเกินเวลา ไม่พึงกล่าววาจาล่วงเกินกาลและเวลา ไม่พึงกล่าววาจาที่ยังไม่ถึงกาล ไม่พึงกล่าววาจาที่ยังไม่ถึงเวลา ไม่พึงกล่าววาจาที่ยังไม่ถึงกาลและเวลา. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ก็ผู้ใด เมื่อยังไม่ถึงกาลอันควร ย่อมกล่าววาจาเกิน เวลา ผู้นั้นย่อมถูกฆ่านอนอยู่ เหมือนลูกของนางนก ดุเหว่าที่นางกาเลี้ยงไว้ฉะนั้น ดังนี้.นี้ชื่อว่า ขอบเขตกาล. ขอบเขตศีลเป็นไฉน บุคคลผู้กำหนัดไม่ควรกล่าววาจา ผู้โกรธเคืองไม่ควรกล่าววาจา ผู้หลงไม่ควรกล่าววาจา แลไม่ควรกล่าว บอกพูด แสดง แถลง ซึ่งมุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะนี้ชื่อว่า ขอบเขตศีล. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเปล่งวาจาเป็นกุศล ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต...อรรถกถาขยายความ...บทว่า วาจํ ปมุญฺเจ กุสลํ พึงเปล่งวาจาเป็นกุศล คือเปล่งวาจาอันตั้งขึ้นด้วยญาณ. บทว่า นาติเวลํ ไม่เกินขอบเขต คือ ไม่พึง เปล่งวาจาเกินขอบเขต คือ เกินขอบเขตของกาล และขอบเขตของศีล...