อาบัติเล็กน้อยไม่แสดงเสียก่อนให้โทษ [เรื่องนาคราชชื่อเอรกปัตตะ]

 
JANYAPINPARD
วันที่  22 เม.ย. 2553
หมายเลข  15935
อ่าน  3,082

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓-หน้าที่ 323

๓. เรื่องนาคราชชื่อเอรกปัตตะ [๑๕๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา ทรงอาศัยนครพาราณสี ประทับอยู่ที่โคนไม้ซึก ๗ ต้น ทรงปรารภพระยานาคชื่อเอรกปัตตะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ" เป็นต้น.

อาบัติเล็กน้อยไม่แสดงเสียก่อนให้โทษ

ทราบว่า ในศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าในกาลก่อน พระยานาคนั้นเป็นภิกษุหนุ่ม ขึ้นเรือไปในแม่น้ำคงคา ยึดใบตะไคร้น้ำกอหนึ่ง เมื่อเรือแม้แล่นไปโดยเร็ว, ก็ไม่ปล่อย. ใบตะไคร้น้ำขาดไปแล้ว. ภิกษุหนุ่มนั้นไม่แสดงอาบัติ ด้วยคิดเสียว่า "นี้เป็นโทษเพียงเล็กน้อย" แม้ทำสมณธรรมในป่าสิ้น ๒ หมื่นปี ในกาลมรณภาพ เป็นประดุจใบตะไคร้น้ำผูกคอ แม้อยากจะแสดงอาบัติ เมื่อไม่เห็นภิกษุอื่น ก็เกิดความเดือดร้อนขึ้นว่า "เรามีศีลไม่บริสุทธิ์" จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว บังเกิดเป็นพระยานาค ร่างกายประมาณเท่าเรือโกลน. เขาได้มีชื่อว่า "เอรกปัตตะ" นั่นแล. ในขณะที่เกิดแล้วนั่นเอง พระยานาคนั้นแลดูอัตภาพแล้ว ได้มีความเดือดร้อนว่า "เราทำสมณธรรมตลอดกาลชื่อมีประมาณเท่านี้ เป็นผู้บังเกิดในที่มีกบเป็นอาหาร ในกำเนิดแห่งอเหตุกสัตว์"

ในกาลต่อมาเขาได้ธิดาคนหนึ่ง แผ่พังพานใหญ่บนหลังน้ำในแม่น้ำคงคาวางธิดาไว้บนพังพานนั้น ให้ฟ้อนรำขับร้องแล้ว

ขอเชิญอ่านพระสูตรเรื่องเต็ม...

ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เป็นการยาก [เรื่องนาคราชชื่อเอรกปัตตะ]


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 28 พ.ย. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ