จิตที่ฝึกแล้ว เป็นเหตุนำสุขมาให้

 
khampan.a
วันที่  22 เม.ย. 2553
หมายเลข  15941
อ่าน  2,628

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ -หน้าที่ 403

พระศาสดา ตรัสว่า "เธอจงรักษาจิตของเธอนั่นแหละ ธรรมดาจิตนี้บุคคลรักษาได้ยาก เธอจงข่มจิตของเธอไว้ให้ได้ อย่าคิดถึงอารมณ์อะไรๆ อย่างอื่น ธรรมดาจิตอันบุคคลข่มได้ยาก" ดังนี้แล้วจึงตรัสพระคาถานี้ว่า

"การฝึกจิตอันข่มได้ยาก เป็นธรรมดาเร็ว มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่ เป็นการดี (เพราะว่า) จิตที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้"

แก้อรรถ

บัณฑิตพึงทราบวิเคราะห์ในพระคาถานั้น (ดังต่อไปนี้) :-

ธรรมดาจิตนี้ อันบุคคลย่อมข่มได้โดยยาก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทุนฺนิคฺคหํ จิตนี้ย่อมเกิดและดับเร็ว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ลหุ ซึ่งจิตอันข่มได้ยากอันเกิดและดับเร็วนั้น บาทพระคาถาว่า ยตฺถ กามนิปาติโน ความว่า มักตกไปในอารมณ์ใด อารมณ์หนึ่งนั่นแล จริงอยู่ จิตนี้ ย่อมไม่รู้จักฐานะอันตนควรได้ หรือฐานะอันไม่ควรได้, ฐานะอันสมควรหรือฐานะอันไม่สมควร ย่อมไม่พิจารณาดูชาติ ไม่พิจารณาดูโคตร ไม่พิจารณาดูวัย; ย่อมตกไปในอารมณ์ที่ตนปรารถนาอย่างเดียว

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่" การฝึกจิตเห็นปานนี้นั้น เป็นการดี คือ ความที่จิตอันบุคคลฝึกฝนด้วยอริยมรรค ๔ ได้แก่ ความที่จิตอันบุคคลทำแล้วโดยประการที่จิตสิ้นพยศได้ เป็นการดี

ถามว่า "เพราะเหตุไร"

แก้ว่า "เพราะว่า จิตนี้อันบุคคลฝึกแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้ คือว่า จิตที่บุคคลฝึกแล้ว ได้แก่ทำให้สิ้นพยศ ย่อมนำมาซึ่งความสุขอันเกิดแต่มรรคผล และสุขคือพระนิพพานอันเป็นปรมัตถ์"


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เซจาน้อย
วันที่ 24 มี.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
jaturong
วันที่ 27 มี.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 7 ก.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Jarunee.A
วันที่ 16 ส.ค. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ