การให้ผลของกรรม [โลณกสูตร]

 
Khaeota
วันที่  26 เม.ย. 2553
หมายเลข  15962
อ่าน  1,130


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 495

อรรถกถาโลณกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโลณกสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ยถา ยถาย ตัดบทเป็น ยถา ยถา อย. บทว่า ตถา

ตถา ต ได้แก่ ตถา ตถา ต กมฺม. มีคำอธิบายดังนี้ว่า ผู้ใดพึงกล่าว

ไว้อย่างนี้ว่า บุคคลทำกรรมไว้โดยประการใดๆ ก็จะเสวยวิบาก (ผล) ของ

กรรมนั้นโดยประการนั้นๆ เพราะว่าใครๆ ไม่สามารถที่จะไม่เสวยวิบากของกรรม

ที่ทำไว้แล้ว เพราะฉะนั้น บุคคลทำกรรมไว้เท่าใด ก็จะเสวยวิบากของกรรม

เท่านั้นทีเดียว. บทว่า เอว สนฺต คือ เอว สนฺเต แปลว่า เมื่อเป็น

อย่างนี้. บทว่า พฺรหฺมจริยวาโส น โหติ ความว่า อุปปัชชเวทนียกรรมใด

ที่ทำไว้ก่อนการทำมรรคให้เกิดมี เพราะอุปปัชชเวทนียกรรมนั้นอันตนจะต้อง

เสวยเป็นแน่แท้ พรหมจรรย์แม้อยู่จบแล้ว ก็ไม่เป็นอันอยู่เลย. บทว่า

โอกาโส น ปญฺายติ สมฺมา ทุกฺขสฺส อนฺตกิริยาย ความว่า ก็

เพราะเหตุที่เมื่อเป็นเช่นนี้ การประมวลกรรม และการเสวยผลของกรรม

ยังคงมีอยู่ ฉะนั้น โอกาสแห่งการทำที่สุดแห่งวัฏทุกข์ โดยเหตุโดยนัยชื่อว่า

ไม่ปรากฏ. บทว่า ยถา ยถา เวทนิย ได้แก่ อันตนพึงเสวยโดยอาการ

ใดๆ . บทว่า ตถา ตถาสฺส วิปาก ปฏิสเวทิยติ ความว่า เสวยวิบาก

ของกรรมนั้นโดยอาการนั้นๆ . มีคำอธิบายดังนี้ว่า ในชวนจิตทั้ง ๗ กรรมในชวนจิตที่ ๑ นั้นใด

เมื่อมีปัจจัย ก็ได้วาระที่จะให้ผลทันที กรรมนั้นจัดเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม

เมื่อไม่มีปัจจัย ก็จะชื่อว่าเป็นอโหสิกรรม ส่วนกรรมในชวนจิตที่ ๗ อันใด

กรรมนั้นเมื่อมีปัจจัย ก็จะเป็นอุปปัชชเวทนียกรรม เมื่อไม่มีปัจจัย ก็จะชื่อว่า

เป็นอโหสิกรรม และกรรมในชวนจิตทั้ง ๕ ในท่ามกลางอันใด กรรมนั้น

ชื่อว่า อปราปริยเวทนียกรรม ตราบเท่าที่ยังท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏฏ์ บุรุษ

(บุคคล) นี้ทำกรรมนั้นไว้จะพึงเสวยได้ โดยอาการใดๆ ในบรรดาอาการ

เหล่านี้ ก็จะเสวยวิบากของกรรมนั้นโดยอาการนั้นๆ ทีเดียว. แท้จริง ท่าน

กล่าวไว้ในอรรถกถาว่า กรรมที่ได้วาระให้ผลแล้วเท่านั้น ชื่อว่า ยถาเวทนิย-

กรรม. บทว่า เอว สนต ภิกฺขเว พฺรหฺมจริยวาโส โหติ ความว่า

คำที่กล่าวไว้ว่า ชื่อว่ามีการอยู่พรหมจรรย์ที่ทำกรรมให้สิ้นไป เพราะกรรมที่

จะต้องทำให้สิ้นไป ยังมีอยู่ดังนี้ เป็นอันกล่าวไว้ดีแล้วทีเดียว.

บทว่า โอกาโส ปญฺายติ สมฺมา ทุกฺขสฺส อนฺตกิริยาย

ความว่า เพราะเหตุที่เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จะไม่เกิดวัฏทุกข์ต่อไปในภพนั้นๆ

เพราะอภิสัขารวิญญาณดับไปด้วยมรรคนั้นๆ ฉะนั้น โอกาสแห่งการทำที่สุด

แห่งทุกข์ด้วยดีจึงปรากฏ. ยถาเวทนิยกรรม

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงสภาพแห่งยถาเวทนิยกรรมนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า อิธ ภิกฺขเว เอกจฺจสฺส เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า อปฺปมตฺตก ได้แก่ ปริตตกรรม คือ กรรมนิดหน่อย กรรมเบา

กรรมเล็กน้อย กรรมลามก. บทว่า ตาทิสเยว ได้แก่ วิบากที่เห็นสมด้วย

กับกรรมนั้นแล. บทว่า ทิฏฺธมฺมเวทนิย ความว่า ในกรรมนั้นแล มี

อธิบายว่า กรรมที่จะพึงให้ผล เมื่อได้วาระที่จะให้ผลในปัจจุบัน ก็จะกลาย

เป็นทิฏฐธรรมเวทนิยกรรม. บทว่า นาณุปิ ขายติ ความว่า (กรรมเล็กน้อย

นั้น) ไม่ปรากฏแม้ (เพียง) เล็กน้อยในอัตภาพที่ ๒ อธิบายว่า ไม่ให้ผล

แม้เพียงเล็กน้อยในอัตภาพที่ ๒. บทว่า พหุเทว ความว่า ส่วนกรรมที่มาก

จักให้ผลได้อย่างไรเล่า?๑

ปุถุชนผู้เว้นจากภาวนา (เจริญสติปัฏฐาน) ในกาย เป็นผู้มีปกติไป

สู่วัฏฏะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วยบทว่า อภาวิตกาโย เป็นต้น.

บทว่า ปริตฺโต ได้แก่ มีคุณนิดหน่อย. บทว่า อปฺปาตุโม ความว่า

อัตภาพเรียกว่า อาตุมะ ปุถุชนชื่อว่ามีอัตภาพเล็กน้อยโดยแท้ เพราะแม้เมื่อ

อัตภาพนั้นจะใหญ่ แต่ก็มีคุณเล็กน้อย. บทว่า อปฺปทุกฺขวิหารี ความว่า

มีปกติอยู่เป็นทุกข์ด้วยวิบากเล็กน้อย. พระขีณาสพ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงด้วยบทว่า ภาวิตกาโย เป็นต้น. อธิบายว่า พระขีณาสพนั้น ชื่อว่า

มีกายอบรมแล้ว ด้วยภาวนากล่าวคือกายานุปัสสนา หรือชื่อว่า มีกายอบรมแล้ว

เพราะเจริญกายานุปัสสนา. บทว่า ภาวิตสีโล แปลว่า เจริญศีล. แม้ใน

สองบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล. อีกอย่างหนึ่ง พระขีณาสพ ชื่อว่า มีกายอบรมแล้ว ด้วยอบรม

ปัญจทวาร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอินทรียสังวรศีล ด้วยบทว่า ภาวิตกาโย

นี้ ตรัสศีล ๓ ที่เหลือด้วยบทว่า ภาวิตสีโล นี้. บทว่า อปริตฺโต คือ

มีคุณมิใช่เล็กน้อย. บทว่า มหตฺตา คือ พระขีณาสพชื่อว่า มีอัตภาพใหญ่

เพราะแม้จะมีอัตภาพเล็กน้อย แต่ก็มีคุณมาก. ก็บทว่า อปฺปมาณวิหารี นี้

เป็นชื่อของพระขีณาสพโดยแท้ อธิบายว่า พระขีณาสพนั้นชื่อว่า อัปปมาณ-

วิหารี (มีปกติอยู่ด้วยคุณธรรมอันหาประมาณมิได้) เพราะไม่มีกิเลสมีราคะ

เป็นต้นที่ทำให้มีประมาณ (คือจำกัดขอบเขตของคุณธรรม) . บทว่า ปริตฺเต

แปลว่า เล็กน้อย. บทว่า อุทกมลฺลเก แปลว่า ในขันน้ำ.

บทว่า โอรพฺภิโก แปลว่า เจ้าของแกะ. บทว่า โอรพฺภฆาตโก

แปลว่า คนฆ่าแกะ. บทว่า ชาเปตุ วา ได้แก่ เพื่อทำให้เสื่อมด้วยความ

เสื่อมทรัพย์. ปาฐะว่า ฌาเปตุ ดังนี้ก็มี ความหมายก็อย่างเดียวกันนี้แล.

บทว่า ยถาปจฺจย วา กาตุ ความว่า เพื่อทำได้ตามปรารถนา. บทว่า

อุรพฺภธน ได้แก่ ราคาค่าตัวแกะ. ก็เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะนั้น ถ้า

ปรารถนาก็จะให้ราคาแกะนั้น ถ้าไม่ปรารถนาก็จะให้จับคอลากออกไป.

บทที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสวัฏฏะและวิวัฏฏะ (นิพพาน) ไว้ในสูตรนี้แล.

จบอรรถกถาโลณกสูตรที่ ๙


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ