ถ้าต้องหาอะไรมาคอยเติม...

 
พราวฝัน
วันที่  4 พ.ค. 2553
หมายเลข  16063
อ่าน  1,370

แค่อยากรู้น่ะค่ะว่า คนที่อยู่เฉยๆ แล้วเบื่อง่าย ต้องคอยทำโน่นทำนี่อยู่ตลอดเวลา

ต้องออกไปเจอผู้คน รู้จักคนเพิ่ม เข้าสังคม หางานทำสักอย่าง อยู่เฉยๆ นานๆ ไม่ได้

อย่างนี้นี่ถือว่าใจยังไม่สงบพอรึเปล่าคะ? หากสิ่งที่ทำนั้นมักจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย

คือไม่ได้ไปดื่มเหล้า หรือทำอะไรทีเป็นอบายมุข...แต่ดูเหมือนว่าอย่างนี้ จิตก็ยังมีกิเลส

ที่จะต้องคอยหาอะไรเติมความว่างนั้น..ต้องออกไปเป็นที่รู้จักของผู้คน และอยู่กับความ

สงบ อยู่กับตัวเองไม่ได้นาน หรือว่าแบบนี้ไม่ได้บ่งบอกถึงภาวะสงบของจิตใจ (แบบว่า

ไม่เกี่ยวกันสักหน่อย) เพราะเมื่อใจตั้งอยู่ในทางกุศลอยู่แล้ว การหมั่นหาโน่นนี่มาทำ

หรือชอบพบปะพูดคุยกับผู้คน ก็ไม่เกี่ยวกับที่ว่าใจสงบ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ลดกิเลสได้มาก

แล้วหรือยัง...???


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 4 พ.ค. 2553

เข้าใจว่า พระอริยเจ้าผู้ที่ไม่มีกิเลส มีจิตสงบย่อมไม่มีอาการเบื่อง่าย หรือ ต้องเข้าหาสังคม แต่ท่านอยู่โดยมีเครื่องอยู่อันประเสริฐ มีสมาบัติ เป็นต้น ขอเชิญสมาชิกร่วมแสดงความเห็นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
govit2553
วันที่ 6 พ.ค. 2553

ผมว่าเกิดจากจิต ต้องการอาคันตุกะ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

เป็นตัณหานั่นเองครับ

อาการเหงา อาการเบื่อ พวกนี้เป็นตัณหา ที่จะพาให้เราต้องไปเกิดอีก เกิดอีก

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wihok
วันที่ 6 พ.ค. 2553

เป็นธรรม เป็นโลก จักนิ่งได้ สงบได้ ก็เพราะรู้แจ่มแจ้ง

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
คุณ
วันที่ 6 พ.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 6 พ.ค. 2553

ในเมตตาสูตร ท่านแสดงไว้ว่า กิจอันใดอันพระอริยบุคคล บรรลุบทอันสงบแล้ว

กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดพึงทำ พึงเป็นผู้อาจหาญ ตรงและซื่อตรงด้วยดี พึงเป็น

ผู้ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่มีอติมานะ พึงเป็นผู้สันโดษ เลี้ยงง่าย มีกิจน้อย พึง

เป็นผู้มีอินทรีย์สงบ มีปัญญารักษาตัว ไม่คะนอง ไม่ติดในสกุลทั้งหลาย ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 6 พ.ค. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย สงบไม่ได้หมายความถึงอาการภายนอกที่ดูสงบนิ่งที่ดูได้จากทางตา แต่ความสงบ

เป็นนามธรรมที่เกิดทางใจและความสงบก็ไม่ได้หมายถึงจิตใจที่จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

ไม่วอกแวกไปในสิ่งใด แต่ความสงบคือความสงบจากกิเลส สงบจากโลภะ โทสะและ

โมหะ สงบจากอกุศลนั่นก็คือจิตเป็นกุศลจึงชื่อว่าสงบ เพราะฉะนั้นไม่ต้องกล่าวถึงการ

ออกไปข้างนอก เข้าสังคม ขณะนี้เองสงบหรือไม่ ขณะใดที่ไม่เป็นไปในกุศล คือไม่เป็น

ไปในทาน ศีลหรือการอบรมวิปัสสนา ขณะนั้นก็เป็นอกุศลโดยมาก ขณะนั้นจึงไม่สงบ ความไม่สงบหรือกุศลจึงมีหลายระดับทั้งที่ไม่ล่วงออกมาทางกาย วาจา เพียงแต่

อยู่ในใจก็เป็นอกุศลแล้ว หรือกุศลที่ล่วงออกมาทางกาย วาจา มีการดื่มสุรา เป็นต้น

ก็เป็นอกุศลที่มีกำลังมากขึ้น แต่ขึ้นชื่อว่าอกุศลแล้วสงบไมได้เลยครับ อกุศลจิตเป็นปกติในชีวิตประจำวัน การอบรมปัญญาที่ถูกต้องคือรู้ความจริงของอกุศลที่เกิดแล้วว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา ละความเห็นผิดว่าเป็นสัตว์ บุคคลตัวตนก่อน นี่คือ

กิเลสที่ต้องละเป็นอันดับแรกครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 7 พ.ค. 2553

ถ้าอยู่เฉยๆ แล้วฟุ้งซ่าน..จิตใจไม่สงบจึงต้องหาอะไรทำ

อะไรที่ทำ...จะเป็นเหตุให้ใจสงบหรือไม่สงบ...ขึ้นกับสิ่งที่ทำ

ถ้าสิ่งที่ทำเป็นกุศลเป็นเหตุให้ใจสงบ....หากสิ่งที่ทำเป็นอกุศลทำให้จิตใจไม่สงบ

เพราะในขณะที่จิตใจไม่สงบมีอุทธัจจเจตสิกเกิดร่วมด้วย (จึงฟุ้งซ่าน)

ในภาวะปกติอกุศลจิตเกิดมากกว่ากุศลจิต..หากกุศลจิตหรืออกุศลจิตมีกำลังก็จะล่วง

ออกมาทางกายหรือทางวาจา..เช่นถ้าฟุ้งซ่านมากๆ ต้องออกไปสังสรรดื่มเหล้ากับ

เพื่อนฯ..ในทางตรงข้ามถ้าฟุ้งซ่านมากๆ แล้วฟังธรรม....อันไหนดีกว่า

สงบหรือไม่สงบขึ้นกับจิตขณะนั้นว่าเป็นกุศลหรืออกุศล

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Pinyapachaya
วันที่ 9 พ.ค. 2553
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 16063 โดย พราวฝัน

แค่อยากรู้น่ะค่ะว่า คนที่อยู่เฉยๆ แล้วเบื่อง่าย ต้องคอยทำโน่นทำนี่อยู่ตลอดเวลา

ต้องออกไปเจอผู้คน รู้จักคนเพิ่ม เข้าสังคม หางานทำสักอย่าง อยู่เฉยๆ นานๆ ไม่ได้

อย่างนี้นี่ถือว่าใจยังไม่สงบพอรึเปล่าคะ? หากสิ่งที่ทำนั้นมักจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย

คือไม่ได้ไปดื่มเหล้า หรือทำอะไรทีเป็นอบายมุข...แต่ดูเหมือนว่าอย่างนี้ จิตก็ยังมีกิเลส

ที่จะต้องคอยหาอะไรเติมความว่างนั้น..ต้องออกไปเป็นที่รู้จักของผู้คน และอยู่กับความ

สงบ อยู่กับตัวเองไม่ได้นาน หรือว่าแบบนี้ไม่ได้บ่งบอกถึงภาวะสงบของจิตใจ (แบบว่า

ไม่เกี่ยวกันสักหน่อย) เพราะเมื่อใจตั้งอยู่ในทางกุศลอยู่แล้ว การหมั่นหาโน่นนี่มาทำ

หรือชอบพบปะพูดคุยกับผู้คน ก็ไม่เกี่ยวกับที่ว่าใจสงบ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ลดกิเลสได้มาก

แล้วหรือยัง...???


ขออนุญาตร่วมสนทนาด้วยคนนะคะ

ก่อนอื่นคงต้องพูดคุยกันก่อนว่าในทางพระพุทธศาสนา

กิเลสมีหลายระดับ

ซึ่งกิเลสระดับที่ละเอียด เป็นกิเลสที่ละได้ยาก ระลึกตามได้ยาก

แต่ก็มีโทษน้อยกว่ากิเลสอย่างหยาบ

ความละเอียดของกิเลสที่คนไม่ค่อยรู้ทัน นั่นได้แก่ โลภะในชีวิตประจำวัน

โลภะ ไม่ได้แปลตามความหมายของคนไทย ที่แปลว่า โลภมาก อยากได้ของๆ คนอื่น หรืออยากได้มากเกินไป จริงๆ แค่รับประทานอาหารอร่อย หรือได้นอนที่นอนนุ่มๆ รู้สึกว่างๆ สบายๆ อยากเหยียดตัวนอน ฯลฯ ขณะนั้นก็เกิดโลภะแล้ว เป็นโลภะอย่างละเอียดที่ละได้ยาก สำหรับปุถุชนนั้น เป็นเรื่องธรรมดาที่จะมีกิเลสเหล่านี้อยู่ และมักจะไม่ค่อยเห็นโทษ เพราะไม่ได้มีโทษรุนแรงเหมือนโทสะ จึงทำให้คนเราไม่รู้ว่าชีวิตประจำวันนั้นก็เป็นกิเลสอยู่แทบตลอดเวลา อาจจะทำทานหรืองดเว้นไม่ล่วงศีลหรือฟังธรรม ก็เป็นกุศลที่เกิดแป๊ปๆ ไม่บ่อยเท่ากิเลสตัวนี้ ความเกิดขึ้นเนืองๆ ของมัน ซึ่งมักทำให้ปัญญาเจตสิก (ปัญญาทางธรรม) ตกไป เหมือนข้าศึกที่มาฟันหัวเราโดยไม่ทันตั้งตัวจากทางอากาศ ทำให้แพ้อำนาจกิเลสชนิดละเอียดนี้อย่างง่ายดาย ซึ่งตรงข้ามกับกุศลจิตที่เกิดได้ยาก โดยเฉพาะ สติและปัญญา (2คำนี้ก็คนละความหมายกับสติและปัญญาในภาษาไทยอีก สติคือระลึกได้ในทางกุศล ไม่ติดข้องเลย ปัญญาก็เห็นชัด เห็นความต่างกันชัดว่ากุศลไม่ใช่อกุศล ไม่สลับเอาอกุศลมาบอกว่าเป็นกุศล ปัญญาก็มีหลายขั้นอีก ถึงขั้นเห็นชัดเรื่องรูป-นาม ซึ่งรูปนามในภาษาไทยก็เป็นคนละความหมายกับภาษาทางธรรมอีก เพราะเหตุนี้คนเราจึงขาดการฟังธรรมะขั้นละเอียดหรือปรมัตถธรรมไม่ได้เลย)

ซึ่งคนเราส่วนใหญ่ก็มักจะมองว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่จะไปดูหนังฟังเพลง หาของอร่อยกิน หรือรู้สึกอยากทำนั่นทำนี่แก้เซ็ง หรือมีแรงบันดาลใจทำกิจการงานต่างๆ จนคิดว่าเรื่องทั่วไปเหล่านี้ไม่ใช่กิเลส

เป็นไปไม่ได้ที่คนทั่วไปจะสงบจากกิเลสตลอดเวลา เป็นธรรมดาที่ปุถุชนจะเกิดกิเลสระดับลึกเหล่านี้ ผุดขึ้นมาเป็นระยะๆ

ความเบื่อ ความฟุ้งซ่าน ความรำคาญ ความหงุดหงิด ความวิตกกังวล แม้ดูแล้วจะเกิดขึ้นเล็กๆ น้อยๆ ไม่ถึงกับทรมาณ แต่ก็คือเครื่องกั้นกุศลจิต ซึ่งก็ต้องเข้าใจอีกว่า กุศลจิตจริงๆ นั้นเป็นกุศลตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติจริงๆ ไม่ใช่แค่ความพอใจ เพราะความพอใจสามารถเกิดพร้อมกับโลภะได้ เช่นพอใจในรูป รส กลิ่น เสียงต่างๆ ที่ไม่มีโทษให้เห็นชัด

และตามความเป็นจริงโดยปรมัตถธรรมแล้ว โลภะ เป็นเหตุให้เกิดโทสะตามมา เพราะเมื่อมีความพอใจอะไรแล้ว พอสิ่งนั้นบกพร่องไปตามกฏไตรลักษณ์ ก็จะเกิดการขัดข้องหมองใจ คือเป็นโทสะ ที่เป็นอารมณ์เบื่อหน่าย หงุดหงิด เครียด วิตกกังวล เซ็ง ฯลฯ ได้ในทันที โดยที่ไม่จำเป็นต้องแสดงออกมาว่าโกรธกระฟัดกระเฟียด เล็กๆ น้อยๆ ทางธรรมะก็เรียกว่าโทสะแล้ว แต่ในทางภาษาไทย โทสะอาจจะฟังดูว่าโกรธหน้าแดง แต่จริงๆ ในทางภาษาพระพุทธศาสนา ไม่ต้องรอให้แสดงออกมา แค่ไม่พอใจที่อาหารไม่อร่อย ก็เป็นโทสะแล้ว แต่เป็นโทสะอย่างละเอียด ที่โทษน้อยกว่าการล่วงออกมาทางกาย วาจา (เช่น ทุบตี มีคำด่าหรือพูดเสียดสีต่างๆ ถือว่ามีโทษมาก คนทั่วไปจะสังเกตได้ง่ายว่าเป็นกิเลส)

วกกลับมาที่ประเด็นที่คุณพราวฝันสนทนาถึงความสงบ ก็เป็นเหตุให้ดิฉันต้องอธิบายเรื่องกิเลสแบบคร่าวๆ ในตอนแรก เพราะกิเลสเล็กๆ น้อยๆ ที่คนเราไม่รู้สึกหรือระลึกรู้ทันได้นั้น มีมากกว่าและละได้ยากกว่า ต้องการสื่อว่าเป็นเรื่องปกติ และก็ทำให้เห็นว่ากิเลสชนิดละเอียดนั้นมันแนบเนียนแค่ไหน มันฝังตัวอยู่แบบยางเหนียวในใบไม้ ยิ่งต้องเพียรสะสมความเข้าใจพระธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปอีก และให้ปัญญาปฏิบัติกิจของปัญญา ปฏิบัติธรรทในความหมายของพระพุทธเจ้า ก็ไม่ได้หมายถึงการปฏิบัติแบบสมัยนี้ แต่เป็น ปฏิปัตติ การระลึกและถึงเฉพาะลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ซึ่งความสงบจากกิเลส ก็คงต้องเริื่่มจากการเข้าใจก่อนว่า ทำไมอาการเบื่อแบบนี้ถึงเรียกว่าไม่สงบ เพราะมันเป็นกิเลสที่ฝังแน่นเป็นเรื่องปกติไปแล้วนั่นเอง

ความรู้สึกเบื่อ ก็เป็นกิเลสปกติของปุถุชน ที่ยังมีโลภะอยู่ ซึ่งแม้จะเป็นผู้ระลึกศึกษาธรรมะมากเท่าไหร่ หากยังไม่ดับกิเลสตัวนี้ได้อย่างเด็ดขาด ก็ยังต้องมีอาการเบื่อ แม้กระทั่งฟังธรรมบางทียังแอบเบื่อ ขอไปดูหนังดูทีวีก่อน ก็มีถมเถไป

จริงๆ แล้วเป็นธรรมดาที่เราจะมีอัธยาศัยและอุปนิสัยต่างๆ ตามแต่การสะสม สะสมมาตั้งแต่อดีตชาติ ที่อาจทำให้ชอบเข้าสังคม พบปะเพื่อนฝูง หากิจกรรมอะไรทำ ไม่ชอบอยู่เงียบๆ บางคนที่ชอบอยู่เงียบๆ เฉยๆ ทำตัวว่างๆ โล่งๆ ไม่ได้แปลว่าเขาจะไม่มีกิเลส อย่างที่สทนาไปในตอนแรกว่ากิเลสระดับละเอียดนั้น แม้นอนอยู่บ้านบนที่นอนอันนุ่ม ได้กินอาหารอร่อยๆ ก็เป็นการสะสมกิเลสไปทีละนิดๆ แล้ว โลภะละเอียดแนบเนียนมาก

เพราะเป็นพระปัญญาคุณระดับพระพุทธเจ้า ที่ทรงค้นพบกิเลสระดับละเอียดเหล่านี้ คนธรรมดาทั่วไป อยู่กับกิเลสจนชิน คิดว่าเป็นกุศลไปก็มี อย่างเช่น ความว่าง ความรู้สึกสบายๆ ความรื่นรมย์ การได้อยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร หรือนั่งหลับตาอยู่กับที่ ก็เข้าใจผิดว่ากำลังปฏิบัติธรรม ยังมีเลยค่ะ

ความสงบที่ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้าจริงๆ คือสงบจากอกุศล (หาอ่านกุศล และอกุศลได้จากหนังสือปรมัตถธรรมสังเขป) ซึ่งถ้าขณะใดเป็นอกุศล จะไม่เรียกว่าสงบเลย แม้ภายนอกจะดูสงบ หรือจะรู็สึกสบายใจแค่ไหนก็ตาม หากเป็นความพอใจที่ประกอบด้วยโลภะ (อย่างละเอียด) ก็ไม่ใช่ความสงบอยู่ดี

เป็นโอกาสอันประเสริฐ ที่ทุกๆ ท่านได้เกิดมาทันพบคำสอนในระดับปรมัตถ์ ที่ยังคงมีอยู่ในโลกมนุษย์ เหมือนหงายของที่คว่ำ บอกทางแก่คนหลงจริงๆ ค่ะ

เป็นกำลังใจให้คุณพราวฝันได้ต่อสู้กับกิเลสในชีวิตประจำวันค่ะ ดิฉันก็เป็นอีกคนนึง ที่กำลังสะสมเหตุให้เกิดกุศลจิตต่างๆ ไปทีละน้อยตามการสะสม ด้วยการฟังธรรมเนืองๆ และประพฤติธรรม สมควรแก่ธรรม

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ