สติระลึก

 
gavajidham
วันที่  17 ก.ค. 2549
หมายเลข  1607
อ่าน  873
สติระลึกในสภาพธรรมที่กำลังปรากฎทันที,ระลึกแล้ว,แล้วอย่างไรต่อไม่เข้าใจ

  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 17 ก.ค. 2549

การอบรมเจริญสติปัฏฐาน คือ สติเกิดขึ้นระลึกในสภาพธรรมที่กำลังปรากฎ บ่อยๆ

เนืองๆ จนสติและปัญญามีกำลังสมบูรณ์ คือ โลกุตตรปัญญาเกิดขึ้น ละกิเลส กระทำ

นิพพานให้แจ้ง ผู้ที่ไม่ต้องอบรมสติปัฏฐานเพื่อการละกิเลส คือ พระอรหันต์ ส่วนพระ-

เสกขบุคคลและกัลยาณปุถุชนต้องอบรมไปจนกว่าจะเป็นพระอรหันต์ สรุปคือนอกจาก

พระอรหันต์ บุคคลอื่นยังอบรมสติปัฏฐานยังไม่แล้วเสร็จ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
namarupa
วันที่ 18 ก.ค. 2549

สติระลึกในสภาพธรรมที่กำลังปรากฎทันที,ระลึกแล้ว,แล้วอย่างไรต่อไม่เข้าใจ

คุณหมายความว่า..คุณมีสติระลึกในสภาพธรรมที่กำลังปรากฎทันที,ระลึกแล้ว..อย่าง-

นั้นหรือคะ? หรือยังไงคะ? คำว่า..ระลึกแล้ว..อันนี้ผ่านไปไม่ได้เลยนะคะ..ต้องเข้าใจ

จริงๆ .... ต้องขอโทษนะคะ...คือดิฉันพอที่จะมีความเข้าใจบ้างเล็กน้อย ก็เลยสนใจ

อยากที่จะร่วมสนทนาด้วย ดิฉันขออนุญาตแสดงความคิดเห็นนะคะ ในความคิดเห็นของดิฉัน...ขั้นต้นก็คือ

เราควรที่จะต้องฟังธรรมขั้นพื้นฐานให้เข้าใจเสียก่อนค่ะ ตั้งแต่เรื่องของ จิต เจตสิก

และรูป เมื่อเข้าใจขั้นพื้นฐานแล้ว จึงจะค่อยๆ ก้าวเข้าไปในอีกขั้นตอนหนึ่ง อย่าเพิ่ง

รีบร้อน ทุกอย่างเป็นเรื่องของกาลเวลา อย่างที่ท่านอาจารย์สุจินต์ท่านกล่าวเตือนอยู่เสมอค่ะว่าการจับด้ามมีด ไม่ทราบว่าคุณเคยได้ยินบ้างหรือเปล่านะคะ ซึ่งเป็นสิ่ง

ที่มีประโยชน์มากๆ คำพูดนี้ของท่าน หากเรานำมาทบทวนดูจริงๆ แล้ว มันเป็นอย่าง

นั้นจริงๆ ค่ะ เพราะว่าการที่เราจะศึกษาและเข้าใจในพระธรรมคำสอนซึ่งละเอียดลึก

ซึ้ง เข้าใจได้ยาก จะต้องค่อยเป็นค่อยไป ไม่รีบร้อน จะทำให้เราได้สาระจากพระธรรม

คำสอนอย่างแน่นอน ค่อยๆ ทำความเข้าใจในเรื่องของหน้าที่ (กิจ) ของแต่ละสภาพ

ธรรม เช่น..สติเจตสิกทำหน้าที่ระลึกรู้ในสภาพธรรมที่กำลังเกิดขึ้นปรากฎ ยกตัวอย่าง

เช่น หากความโกรธเกิดขึ้น ความโกรธนั้นก็คือลักษณะของสภาพธรรมอย่างหนึ่งที่มี

จริงๆ กำลังเกิดขึ้นปรากฏและเมื่อการฟังของเราแน่นพอเมื่อมีเหตุปัจจัยพร้อม สติ-

เจตสิกเค้าก็จะทำหน้าที่ของเค้าระลึกได้ ซึ่งไม่ใช่ตัวเราทำและในส่วนของปัญญาก็จะ

ทำหน้าที่ของปัญญาซึ่งรู้และเข้าใจชัดว่า ขณะนั้นไม่ใช่เรา ไม่มีเรา ไม่มีใครเลย แต่ว่า

เป็นเพียงแค่สภาพธรรมแต่ละอย่างที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปก็เท่านั้นเอง เมื่อมีความเข้าใจ

เกิดขึ้นจริงๆ (ไม่ใช่เพียงแค่เข้าใจแต่ตัวหนังสือหรือเข้าใจเพียงแค่คำพูดนะคะ) ซึ่ง

ความเข้าใจนั้นก็จะค่อยๆ เจริญๆ ขึ้นไปเรื่อยๆ สูงสุดก็คือ คำตอบมีแล้วจากมูลนิธิฯ

ค่ะ หวังว่าการสนทนาคงจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะคะหากมีข้อผิดพลาดก็

ขอให้ผู้รู้กรุณาช่วยเพิ่มเติมด้วยนะคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
prapas.p
วันที่ 23 ก.ค. 2549

หากยังไม่มีความเข้าใจ ก็เป็นธรรมดาที่เกิดความสงสัย ในลักษณะของสติปัฏฐาน เพราะสติทำกิจระลึกลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฏทันที ไม่จำกัดกาลเวลา ไม่มี

กาลต้องรอสภาพธรรมเกิดแล้วก็ดับทันทีอย่างรวดเร็ว จึงต้องกล่าวว่า ระลึกทันที

ที่สภาพธรรมกำลังปรากฏ มิฉะนั้น ก็จะเข้าใจผิดว่า นิมิต อนุพยัญชนะ (บัญญัติ)

เป็นสภาพธรรม นั้นก็คือสติไม่ได้เกิดแต่เป็นการคิดนึกเรื่องราวของสภาพธรรมที่ดับไป

แล้ว จนโลภะก็เห็นเป็นว่าเป็นข้อปฏิบัติ เมื่อเข้าใจผิดจนเป็นสีลัพตปรมาส (ทิฏฐิใน-

การปฏิบัติผิด)

หากมีการฟังมากขึ้นโดยความเคารพก็จะเคารพในพระธรรมด้วยครับ เพราะคำว่า " ระลึกในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏทันที " ทำให้เข้าใจได้ถึงความเป็นอนัตตา

" ระลึกแล้ว " หมายถึง ผู้ที่มีความเข้าใจแล้วในสัจจญาณแล้ว ไม่ได้หมายถึงผู้ยังไม่เข้าใจในสัจจญาณ

" แล้วอย่างไรต่อ " ไม่มีหนทางอื่น นอกจากการฟังธรรมสมควรแก่ธรรม โดยเคารพ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
prapas.p
วันที่ 25 ก.ค. 2549
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
prapas.p
วันที่ 25 ก.ค. 2549

เชิญคลิกอ่านที่นี่.....อรรถกถาภัทเทกรัตตสูตร

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ