การหล่อพระ

 
ที่พึ่งที่ระลึก
วันที่  6 พ.ค. 2553
หมายเลข  16087
อ่าน  5,948

เนื่องจากมีคนรู้จัก ถามว่า การหล่อพระได้บุญมากใช่หรือไม่ จึงขอเรียนถามดังนี้

1. การหล่อพระมีผลหรือมีอานิสงส์มากน้อยอย่างไร

2. การหล่อพระมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ครับ ขอบคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 7 พ.ค. 2553
ตามหลักคำสอนแสดงว่า การกระทำใดๆ ที่เป็นบุญนั้น จะมีผลมากมีอานิสงส์มากขึ้นอยู่สภาพของจิตเป็นสำคัญ ถ้ากระทำด้วยจิตที่ผ่องใสมีศรัทธาแรงกล้า มีปัญญาเข้าใจในพระธรรมคำสอนอย่างถูกต้อง การกระทำนั้นย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มากถ้าการกระทำใดทำไปโดยความไม่รู้ไม่เข้าใจ ไม่มีปัญญา ทำตามที่ผู้อื่นบอก การกระทำนั้นมีผลน้อย มีอานิสงส์น้อยกว่าข้างต้น แม้จะหล่อจะสร้างพระใหญ่โตสักเพียงใด ก็ไม่มีผลมากเหมือนผู้ที่มีปัญญาและประพฤติธรรมกระทำ อนึ่งการสร้างการสร้างพระปฏิมา พระพุทธรูป มีประวัติมานานแล้ว คือ ตั้งแต่หลังพระพุทธองค์ปรินิพพานล่วงไปประมาณสี่ห้าร้อยปี ก็เริ่มมีการสร้างขึ้น แต่สิ่งสำคัญในพระพุทธศาสนาไม่ได้อยู่ที่รูปวัตถุ สิ่งสำคัญอยู่ที่พระธรรมคำสอน ถ้าขาดการศึกษาขาดความรู้ความเข้าใจขาดการประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน รูปวัตถุต่างๆ ก็ไม่มีความหมาย ศาสนาก็ชื่อว่าเสื่อมและอันตรธานไปในที่สุดครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 7 พ.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ที่พึ่งที่ระลึก
วันที่ 7 พ.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
jaran
วันที่ 7 พ.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
บัณฑิตทึ่ม
วันที่ 7 พ.ค. 2553

ชัดเจนมากเลยคับอยู่ที่สภาพของจิตและความเข้าใจ

ขอบพระคุณและอนุโมทนาคับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
คุณ
วันที่ 8 พ.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Pinyapachaya
วันที่ 9 พ.ค. 2553

สาธุ ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 11 พ.ค. 2553

พระพุทธรูป เป็นเครื่องหมายเตือนให้ทำความดี เตือนให้จิตเป็นกุศล ไม่ประมาทค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Preawpraw
วันที่ 21 พ.ค. 2553

ขอเรียนถามท่านว่า ระหว่างทำบุญหล่อพระ กับ ทำทานกับเด็กยากไร้ด้อยโอกาส อย่างไหนได้บุญมากกว่ากันคะ เคยทราบมาว่าเขาเปรียบเทียบกันเป็นเปอร์เซ็นต์ด้วย กราบขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
prachern.s
วันที่ 21 พ.ค. 2553

เรียนความเห็นที่ ๙

กรุณาอ่านความเห็นที่ ๑ อีกหลายๆ รอบครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
sukrip
วันที่ 28 มิ.ย. 2553

รูปเหมือนพระพุทธเจ้าไม่มี เล่ม 32 หน้า 214 บรรทัด 6
อปฺปฎิโม (ไม่มีผู้เปรียบ) ความว่า อัตภาพ (ความเป็นตัวตน)
เรียกว่ารูปเปรียบ ชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบ เพราะรูปเปรียบอื่นเช่นกับอัตภาพของท่านไม่มี
อีกอย่างหนึ่ง มนุษย์ทั้งหลายกระทำรูปเปรียบใดล้วนแล้วด้วยทองและเงินเป็นต้น
ในบรรดารูปเปรียบเหล่านั้น ชื่อว่าผู้สามารถกระทำโอกาสแม้สักเท่าปลายขนทราย
(แม้เพียงนิ๊ดนึง) ให้เหมือนอัตภาพของพระตถาคต ย่อมไม่มี

พราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบแม้โดยประการทั้งปวง.
อปฺปฎิสโม (ไม่มีผู้เทียบ) ความว่า ชื่อว่าไม่มีผู้เทียบ
เพราะใครๆ ชื่อว่าผู้จะเทียบกับอัตภาพของพระตถาคต นั้นไม่มี

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
sukrip
วันที่ 28 มิ.ย. 2553

บ่วงแห่งมาร เล่ม 28 หน้า 192
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่หากภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญ
หมกมุ่น พัวพันรูปนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่าไปสู่ที่อยู่ของมาร ตกอยู่ในอำนาจของมาร
ถูกมารคล้อง รัด มัดด้วยบ่วง ภิกษุนั้นพึงถูกมารผู้มีบาปใช้บ่วงทำได้ตามปรารถนา
ฯลฯ


พระ ไตรปิฎก ชุด 91 เล่ม มหามกุฏราชวิทยาลัย

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
vovovov
วันที่ 11 ม.ค. 2556

ขออนุโมทนาครับ

คุณsukrip

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ