ว่าด้วยเข้าใจธรรมด้วยภาษาใด ก็เข้าใจในภาษานั้น [อรณวิภังคสูตร]
[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ [เล่มที่ 23] - หน้าที่ 326
ว่าด้วยเข้าใจธรรมด้วยภาษาใด ก็เข้าใจในภาษานั้น
ข้อความบางตอนจาก
อรณวิภังคสูตร
[๖๖๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงปรักปรำภาษาชนบท ไม่พึงล่วงเลยคำพูดสามัญเสีย นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า เป็นการปรักปรำภาษาชนบท และเป็นการล่วงเลยคำพูดสามัญ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภาชนะนั้น แลในโลกนี้ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปาตี
ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปัตตะ
ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปิฏฐะ
ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า สราวะ
ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า หโรสะ
ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า โปณะ
ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า หนะ
ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปิปิละ.
ภิกษุพูดปรักปรำโดยประการที่ชนทั้งหลายหมายรู้เรื่องภาชนะนั้นกันดังนี้ ในชนบทนั้นๆ ตามกำลังและความแน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า อย่างนี้แล ชื่อว่า เป็นการปรักปรำภาษาชนบท และเป็นการล่วงเลยคำพูดสามัญ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า เป็นการไม่ปรักปรำภาษาชนบท และเป็นการไม่ล่วงเลยคำพูดสามัญ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภาชนะนั่นแลในโลกนี้ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปาตี ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปัตตะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปิฏฐะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า สราวะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า หโรสะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า โปณะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า หนะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปิปิละ.
ภิกษุพูดโดยประการที่ชนทั้งหลายหมายรู้เรื่องภาชนะกันดังนี้ ในชนบทนั้นๆ อย่างไม่ใช่ความแน่ใจว่า เป็นอันทำผู้มีอายุทั้งหลาย พูดแก่ข้าพเจ้าหมายถึงภาชนะนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าเป็นการไม่ปรักปรำภาษาชนบท และเป็นการไม่ล่วงเลยคำพูดสามัญ.
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงปรักปรำภาษาชนบท ไม่พึงล่วงเลยคำพูดสามัญ นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว.