ความเป็นผู้ว่าง่าย [มังคลัตถทีปนีแปล]
มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๔ - หน้าที่ 204
กถาว่าด้วยความเป็นผู้ว่าง่าย
[๔๓๕] ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า "ความเป็นคืออันบุคคลผู้ถูกกล่าวอยู่ โดยชอบธรรม ไม่ถึงความกลบเกลื่อนหรือความเป็นผู้นิ่งเฉย หรือการคิดถึงคุณและโทษ กระทำความเอื้อเฟื้อ ความเคารพ ความถ่อมตัว อย่างเหลือเกินไว้เบื้องหน้า กระทำคำพูดว่าดีละ ดังนี้ ชื่อว่า ความเป็นผู้ว่าง่าย."
ในบทว่า โสวจสฺสตา นั้น มีการจำแนกดังนี้: สุวโจ โสวจสฺสํ โสวจสฺสตา. พึงทราบวินิจฉัยในคำนั้น ดังต่อไปนี้: บุคคลผู้ อันเขาพึงว่ากล่าวโดยง่าย ชื่อว่า สุวโจ. เจตนาที่เป็นไปด้วยอำนาจความ เอื้อเฟื้อของบุคคลผู้ว่าง่าย ชื่อว่า โสวจสฺสํ. ความมีอยู่แห่ง บุคคลผู้ว่าง่าย ชื่อว่า โสวจสฺสตา. เพราะเหตุนั้น ในอรรถกถา ๒ ทุกะในสังคีติสูตร ท่านจึงกล่าวไว้ว่า "การว่ากล่าวได้ยาก ในบุคคลผู้ ถือรั้น ผู้ยินดีในการขัดคอ ผู้ไม่เอื้อเฟื้อนั้น มีอยู่ เหตุนั้น บุคคลนี้ชื่อว่า เป็นผู้ว่ายาก. กรรมของบุคคลผู้ว่ายากนั้น ชื่อว่า โทวจสฺสํ. ความเป็นแห่งกรรมของบุคคลผู้ว่ายากนั้น ชื่อว่า โทวจสฺสตา. ความเป็นผู้ว่ายากนั้น โดยเนื้อความ ก็คือสังขารขันธ์. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ความเป็นผู้ว่ายากนี้ เป็นชื่อของขันธ์ทั้ง ๔ ที่เป็นไปโดยอาการ นี้.
[๔๓๙] ความเป็นผู้ว่าง่ายนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งการได้โอวาทานุสาสนีจากสำนักของเพื่อนพรหมจารี ทั้งหลาย และเพราะเป็นเหตุแห่งการบรรลุคุณคือการละโทษได้.