ภควา ได้แก่ ครู บัณฑิตในโลกเรียกครูว่า ภควา
[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 22
บทว่า ภควา ได้แก่ ครู เพราะ บัณฑิตในโลกเรียกครูว่า ภควา จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นครูของสรรพสัตว์ทั้งหลาย เพราะความที่พระองค์เป็นผู้วิเศษสุดโดยคุณทั้งปวง เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบคำว่าภควา ดังนี้. แม้พระโบราณาจารย์ทั้งหลายก็กล่าวว่า ภควาติ วจนํ เสฏฺฐ ภควาติ วจนมุตฺตมํ คุรุคารวยุตฺโต โส ภควา เตน วุจฺจติ คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐสุด
คำว่า ภควา เป็นคำสูงสุด พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นควรแก่การเคารพโดย ฐานครู เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงทรง พระนามว่า ภควา ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบอรรถแห่งบทนั้นโดยพิสดาร ด้วยอำนาจแห่งคาถานี้ว่า ภาคฺยวา ถคฺควา ยุตฺโต ภคฺเคหิ จ วิภตฺตวา ภตฺตวา วนฺตคมโน ภเวสุ ภควา ตโต. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรง มีโชค ทรงหักกิเลสได้แล้ว ทรงประกอบ ด้วยภคธรรม ทรงจำแนกธรรม ทรงคบ ธรรม ทรงคายการไปในภพทั้งหลายแล้ว เหตุนั้น พระองค์ จึงทรงพระนามว่า ภควา ดังนี้....
อนึ่ง เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็น วิภตฺตวา ท่านอธิบายว่า ทรงจำแนก เปิดเผย แสดง ซึ่งธรรมทั้งปวงโดยประเภทมีประเภทกุศลเป็นต้น หรือซึ่งธรรมมีกุศลธรรมเป็นต้น โดยประเภทมีขันธ์ อายตนะ ธาตุสัจจะ อินทรีย์และปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น หรือซึ่งทุกขอริยสัจ โดยอรรถคือ ปีฬนะบีบคัน สังขตะอันปัจจัยปรุงแต่ง สันตาปะแผดเผา วิปริณามะแปรปรวนหรือซึ่งสมุทัยอริยสัจ โดยอรรถคือ อายูหนะ ประมวลทุกข์มา นิทานะเหตุแห่งทุกข์ สังโยคะผูกไว้กับทุกข์ ปลิโพธะหน่วงไว้มิให้ถึงมรรค ซึ่งนิโรธ-อริยสัจโดยอรรถคือ นิสสรณะออกไปจากทุกข์ วิเวกะสงัดจากทุกข์ อสังขตะอันปัจจัยมิได้ปรุงแต่ง อมตะเป็นสภาพไม่ตาย ซึ่งมรรคอริยสัจโดยอรรถคือ นิยยานิกะ นำออกจากทุกข์ เหตุ เหตุแห่งนิโรธ ทัสสนะเห็นพระนิพพานอธิปไตย ใหญ่ในการเห็นพระนิพพาน ฉะนั้น เมื่อน่าจะเรียก วิภตฺตวา แต่ก็เรียกเสียว่า ภควา