เวทนาเจตสิก - ความรู้สึกเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่ทุกคนยึดถือ

 
พุทธรักษา
วันที่  16 พ.ค. 2553
หมายเลข  16206
อ่าน  1,381

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

การศึกษา "พระอภิธรรม" โดยละเอียด เป็นปัจจัยให้ "เกิดความเข้าใจ" ในสภาพของ "เวทนาเจตสิก" ซึ่งเกิดกับจิต ได้อย่างถูกต้อง มิฉะนั้น ก็จะพอใจ หลงติดใน โสมนัสเวทนา หรือ สุขเวทนา หรือ อุเบกขาเวทนา โดย "ไม่รู้" ว่าเวทนาขณะใด เป็น กุศลเวทนาขณะใด เป็น อกุศลเวทนาขณะใด เป็น วิบาก เวทนาขณะใด เป็น กิริยา

ใน อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ สนิมิตต วรรคที่ ๓ ข้อ ๓๒๘ มีข้อความว่า

"ดูกร ภิกษุทั้งหลายธรรม ที่เป็นบาป อกุศล มีเวทนา จึงเกิดขึ้น ไม่มีเวทนา ก็ไม่เกิดขึ้นเพราะ ละเวทนา นั้นเสีย ธรรม ที่เป็นบาปอกุศล เหล่านี้ จึงไม่มี ด้วยประการดังนี้"

แสดงว่า "เวทนาเจตสิก" ซึ่งหมายถึง สภาพที่รู้สึก หรือ ความรู้สึกเป็นที่ตั้งแห่ง "ความยึดมั่น" อย่างเหนียวแน่น ฉะนั้น เมื่อ ไม่รู้ "ลักษณะของเวทนา" ตามความเป็นจริงก็ไม่สามารถ "ละ" ความรู้สึก
ว่า "เป็นเรา" ได้ การรู้ ลักษณะของ เวทนาเจตสิก นั้นเกื้อกูลให้ "สติ" เริ่ม ระลึก รู้ ลักษณะของเวทนา ได้ มิฉะนั้น ก็ไม่สามารถที่จะ ระลึกได้เลย ว่า ในวันหนึ่งๆ นั้น มี เวทนาเจตสิกเช่นเดียวกับที่ ในวันหนึ่งๆ นั้น ก็มีสภาพธรรมที่ปรากฏ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ เพราะ จิตเกิดขึ้นรู้สภาพธรรมนั้นๆ

แต่ลองคิดดู ว่า ถ้า เห็น แล้ว ไม่มีความรู้สึกอะไรเลย ก็ ไม่เดือดร้อน ถ้า ได้ยิน แล้วไม่รู้สึกอะไรเลย ก็ ไม่เดือดร้อน เมื่อได้กลิ่น ลิ้มรส รู้โผฏฐัพพะ แล้วไม่รู้สึกอะไรเลย ก็ไม่เดือดร้อน เมื่อไม่เดือดร้อน ก็ย่อมไม่มีบาปอกุศลธรรม ใดๆ ทั้งสิ้น

แต่ เมื่อมี "ความรู้สึก" เกิดขึ้น จึงติด และ ยึดมั่นในความรู้สึกและ อยากได้ สิ่งที่ทำให้รู้สึกดีใจ เป็นสุข ซึ่ง ความติด ยึดมั่น และ ความอยากได้สิ่งที่ทำให้รู้สึกเป็นสุข นี้เองเป็นปัจจัยให้อกุศลธรรมทั้งหลาย เกิดขึ้นบ่อยๆ เนืองๆ โดยไม่รู้ตัว

ธรรมทั้งหลาย เป็น อนัตตาไม่มีใครสามารถยับยั้ง ไม่ให้ เวทนาเจตสิก เกิดขึ้น ได้ไม่ว่าจิตเกิดขึ้น รู้อารมณ์ขณะใด ขณะนั้น ก็ต้องมีเวทนาเจตสิก เกิดขึ้นและ "รู้สึกในอารมณ์ขณะนั้น" ด้วยทุกครั้ง

ขณะนี้ เวทนาเจตสิก ย่อมเป็นเวทนาอย่างใด อย่างหนึ่งคือ อุเบกขาเวทนา สุขเวทนา ทุกขเวทนา โสมนัสเวทนา โทมนัสเวทนา

การศึกษาพระธรรม ไม่ใช่เพียงเพื่อให้รู้จำนวน หรือ รู้ชื่อแต่ เพื่อให้ รู้ลักษณะของความรู้สึก ที่กำลังมี ในขณะนี้

แม้ ความรู้สึกนั้น มีจริง เกิดขึ้น แต่ ก็ดับไปแล้ว ฉะนั้น เมื่อไม่รู้ "ลักษณะที่แท้จริงของความรู้สึก" ก็ย่อม "ยึดถือความรู้สึก" ว่า เป็นเราซึ่งเป็นสุข เป็นเราซึ่งเป็นทุกข์เป็นเราที่ดีใจ หรือเสียใจ หรือเฉยๆ

ฉะนั้น ตราบใด ที่ "สติ" ยังไม่เกิดขึ้น ระลึก รู้ ลักษณะของความรู้สึกย่อมไม่มีทางที่จะ "ละคลาย" การยึดถือ สภาพธรรม ว่า เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน

เพราะว่า ทุกคน ยึดมั่นในความรู้สึก ว่า เป็นสิ่งที่สำคัญในชีวิต ทุกคน ต้องการความรู้สึก ที่เป็นสุข ไม่มีใครต้องการ ความรู้สึกที่เป็นทุกข์ฉะนั้น ไม่ว่าจะมีทางใด ที่ทำให้เกิดสุขเวทนา หรือ โสมนัสเวทนาก็ย่อมจะพยายาม ขวนขวาย ให้เกิดความรู้สึกนั้นโดยที่ไม่รู้ ว่า ขณะนั้น
เป็นการติดเป็นความพอใจ ยึดมั่นในความรู้สึก ซึ่งเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย แล้วก็ดับไป

เมื่อ ความรู้สึก เป็นสิ่งที่สำคัญ ที่ทุกคนยึดถือ พระผู้มีพระภาค จึงทรงแสดง เวทนาเจตสิก เป็น เวทนาขันธ์เป็นขันธ์หนึ่ง ใน ขันธ์ทั้ง ๕ เพราะว่า เวทนาเจตสิก หรือ ความรู้สึก นั้น เป็นสภาพธรรมที่สำคัญมากชนิดหนึ่งซึ่ง เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความยึดมั่นในสภาพธรรมทั้งหลายว่า เป็น สัตว์ บุคคล ตัวตน

ฉะนั้น การที่ "สติ" จะเกิดขึ้น ระลึก รู้ ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงที่เกิดขึ้น และ ปรากฏ นั้น ต้องอาศัยการศึกษาพระธรรม เช่น การฟังเรื่องของสภาพธรรม ให้ละเอียดยิ่งขึ้น และควรพิจารณา ควรพิสูจน์สภาพธรรมที่มีจริงนั้นๆ ตามปกติ ตามความเป็นจริง ในชีวิตประจำวัน ด้วย

(ข้อความบางตอนจากหนังสือปรมัตถธรรมสังเขป)

ขออนุโมทนาขออุทิศกุศล แด่ คุณพ่อ คุณแม่ และ สรรพสัตว์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 16 พ.ค. 2553

การศึกษาพระธรรม ไม่ใช่เพียงเพื่อให้รู้จำนวน หรือ รู้ชื่อแต่ เพื่อให้ รู้ลักษณะของความรู้สึก ที่กำลังมี ในขณะนี้

ฉะนั้น การที่ "สติ" จะเกิดขึ้น ระลึก รู้ ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงที่เกิดขึ้น และ ปรากฏ นั้น ต้องอาศัยการศึกษาพระธรรม เช่น การฟังเรื่องของสภาพธรรม ให้ละเอียดยิ่งขึ้น และควรพิจารณา ควรพิสูจน์ สภาพธรรมที่มีจริงนั้นๆ ตามปกติ ตามความเป็นจริง ในชีวิตประจำวันด้วย

ขออนุโมทนาด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 17 พ.ค. 2553

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
คุณ
วันที่ 17 พ.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 17 พ.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Jans
วันที่ 20 พ.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ