คนในชาติเกลียดชังกัน เป็นผลของกรรมใดครับ?

 
ชีวิตคือขณะจิต
วันที่  18 พ.ค. 2553
หมายเลข  16216
อ่าน  2,277

คนในชาติเกลียดชัง ชิงชังกันมากขึ้น ถึงขั้นล้างผลาญประหัตประหารกัน เราพลอยได้รับผลกระทบไม่สบายอก สบายใจไปด้วย สงสารผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ และเป็นห่วงบ้านเมืองของเรา เป็นผลของกรรมใช่หรือไม่? จะหมดผลกรรมนั้นด้วยวืธีใดครับ?


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 18 พ.ค. 2553

เรียนคุณชีวิต ...

ตามหลักคำสอนเมื่อกล่าวถึงผลของกรรม หมายถึงวิบากจิตและกัมมชรูป จิตประเภทอื่นๆ คือ ขณะที่เป็นอกุศล ขณะที่เป็นกุศล และกิริยา ไม่ใช่ผลของกรรม ดังนั้นตามคำถาม คนเกลียดชังกัน ไม่ใช่ผลของกรรม ขณะที่เราไม่สบายใจ ก็ไม่ใช่ผลของกรรมไม่ใช่วิบาก เป็นความคิด ส่วนจิตที่เห็น จิตได้ยิน เป็นผลของกรรม ถ้าเห็น ได้ยินในสิ่งที่ไม่ดี เป็นผลของอกุศลกรรม ถ้าเห็นได้ยินในสิ่งที่ดี เป็นผลของกุศลกรรมครับข้อความตอนหนึ่งจากอนนุโสจิยชาดกมีว่า

เมื่อวัยเสื่อมไปอย่างนั้นหนอ ในตน ซึ่งเป็นทางอันตรายนั้นหนอ ต้องมีความ พลัดพรากจากกันโดยไม่ต้องสงสัยหมู่สัตว์ ที่ยังเหลืออยู่ ควรมีเมตตาเอ็นดูกัน ส่วนที่ ตายไปแล้ว ไม่ควรจะต้องเศร้าโศกถึง.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 18 พ.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
yupa
วันที่ 19 พ.ค. 2553

ฟังธรรมเท่านั้นที่จะเกิดปัญญา ที่จะเห็นถูก เข้าใจถูก และ ทำในสิ่งที่ถูกต้อง เมื่อก่อนก็ไม่เข้าใจหรอกกับคำว่า "จับจนด้ามมีดสึก" การเจริญสติจนปัญญาเกิดเท่านั้นที่จะละความเห็นผิดทั้งปวงได้ ปัญหาใดๆ ก็ไม่จบหรอก ถ้ายังเต็มด้วย อวิชชา

ขออนุโมทนากุศลจิตของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
tanakase
วันที่ 19 พ.ค. 2553

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
michii
วันที่ 19 พ.ค. 2553
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 20 พ.ค. 2553

คนที่เกลียดกัน ไม่ใช่ผลของกรรม แต่เป็นกิเลสที่สะสมความโกรธ สะสมอกุศลจิตไว้มากๆ ทำให้กิเลสมีกำลังมาก จึงฆ่ากัน ทำร้ายกัน ส่วนใครก็ตามที่ได้รับผลกระทบ เช่น ได้ยินเสียงไม่ดี เห็นไม่ดี เป็นต้น เป็นผลของกรรม เป็นมือที่มองไม่เห็น เพราะไม่รู้ว่าจะเกิดกับใคร-ตอนไหนค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
คุณ
วันที่ 20 พ.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
orawan.c
วันที่ 20 พ.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Komsan
วันที่ 21 พ.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
raynu.p
วันที่ 21 พ.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
khampan.a
วันที่ 21 พ.ค. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ตามหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนา พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงชาติ (ความเกิดขึ้น) ของจิต ว่า มี ๔ ชาติ ได้แก่ จิตเกิดขึ้นเป็นกุศล ๑ จิตเกิดขึ้นเป็นอกุศล ๑จิตเกิดขึ้นเป็นวิบากคือผลของกรรม ๑ และจิตเกิดขึ้นเป็นกิริยา คือไม่ใช่เหตุ ไม่ใช่ผลเป็นแต่เพียงเกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ของตนแล้วก็ดับไปเท่านั้น ๑ จะเห็นได้ว่า ในชีวิตปกติประจำวันของผู้ที่ยังมีกิเลสนั้น ย่อมมีจิตเกิดขึ้นเป็นไปใน ๔ ชาติ ดังกล่าว ครบด้วยกันทั้งนั้น โดยเฉพาะอกุศล ซึ่งเกิดขึ้นมากกว่ากุศล เพราะเหตุว่า เมื่อไม่กล่าวถึงขณะจิตที่เป็นกุศล ขณะจิตที่เป็นการได้รับผลของกรรมและขณะที่จิตเป็นกิริยาแล้ว นอกนั้นเป็นอกุศลทั้งหมด

ดังประเด็นที่กำลังกล่าวถึงอยู่นี้ คือ ความเกลียด ความโกรธ ขณะที่เกลียดชังกัน โกรธกัน ขณะนั้น เป็นอกุศลไม่ใช่ผลของกรรม เป็นการสะสมโทสะ (ความโกรธ) เมื่อสะสมบ่อยๆ เนืองๆ เข้าจึงทำให้กิเลสมีกำลังกล้า จนถึงขั้นประทุษร้ายเบียดเบียน ทำอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดี และไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะเป็นโทษเป็นภัยกับตนเองโดยตรงแล้ว ยังก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ชนหมู่มากอีกด้วย

เพราะฉะนั้นแล้ว ควรอย่างยิ่งที่จะได้คิดพิจารณาว่า ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ ควรที่จะเห็นคุณค่าของความเป็นคน ด้วยการสะสมแต่สิ่งที่ดีงามในชีวิตประจำวัน มี ความมีเมตตา ความเป็นมิตร ความเป็นเพื่อน หวังดี ต่อผู้อื่น เป็นต้น รวมถึงการอบรมเจริญปัญญา ด้วยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม สะสมความเข้าใจถูก เห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรม ด้วย เพราะเมื่อปัญญาเจริญขึ้น กุศลธรรมประการต่างๆ ก็จะเจริญขึ้นตามระดับของปัญญา, ความเกลียดชัง ความโกรธ รวมถึงอกุศลธรรมประการอื่นๆ ก็จะลดน้อยลงด้วย จนกว่าจะสามารถดับกิเลสทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ได้อย่างเด็ดขาดในที่สุด, ที่พึ่งอย่างอื่นไม่มี นอกจากปัญญา ความเข้าใจถูก เห็นถูก เท่านั้น ครับ

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
พงศ์ศิริ
วันที่ 21 พ.ค. 2553

ไฟร้อนเผาเมือง ไฟโทสะเผาใจ ผลจากการฟังธรรมมานาน ช่วยคลายร้อนของโทสะได้เป็นระยะ ระยะ เห็นพระคุณของพระธรรม พระคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

และพระคุณของท่านอาจารย์สุจินต์ ทั้งทุกท่านทีได้ให้ช่วยกันแสดงข้อคิดธรรมเรื่องต่างๆ เสมอมา การฟังธรรมช่วยให้เป็นคนดีได้จริง

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
พุทธรักษา
วันที่ 21 พ.ค. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ผลของกรรม ไม่ว่าจะเป็นผลที่ดี หรือ ไม่ดี เกิดจาก กรรมที่ได้กระทำสำเร็จแล้ว ทางกาย หรือทางวาจา หรือทางใจ.

กรรม หมายถึง เจตนาเจตสิก ซึ่งเกิดร่วมกับจิตในขณะที่กระทำกรรมใดกรรมหนึ่งหมายถึง มีเจตนาเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้เกิดการกระทำ เมื่อได้กระทำกรรมนั้นๆ สำเร็จไปแล้ว ก็จะต้องให้ผลแน่นอน ในวันหนึ่งวันใด เมื่อปัจจัยถึงพร้อม

กุศลกรรม ย่อมให้ผลที่ดี แต่ ... อกุศลกรรม ย่อมให้ผลที่ไม่ดีทั้งนี้ เพราะเมื่อเหตุสมควรแก่ผล ... ผลก็ย่อมสมควรแก่เหตุนี้เป็นหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา.
สำหรับ ความรู้ที่ว่า กรรมใดเป็นผลจากกรรมใดพระผู้มีพระภาคฯ พระองค์เดียวเท่านั้น ที่ทรงพยากรณ์ได้ ด้วยพระสัพพญุตตญาณเรื่องกรรมของสัตว์ จึงเป็นเรื่อง อจินไตย คือ ไม่ควรคิด เพราะคิดไปก็ไม่รู้จริง.

แต่ถ้าเชื่อเรื่องกรรม และ ผลของกรรม ตามหลักธรรมจริงๆ ... จะไม่โทษใครเลยเพราะผู้ที่ประสบผลของกรรมที่ไม่ดี (อกุศลวิบาก) ต้องเกิดจากกรรมที่ตนเองได้กระทำแล้วในอดีต.

ถ้าจะกล่าวถึง "บุคคล" ผู้กระทำทั้งกุศลกรรม และ อกุศลกรรมการรับผลของกรรมย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัยถ้ากรรมไม่ถึงเวลาที่จะให้ผล ด้วยเหตุปัจจัยต่างๆ ที่เหนือการควบคุม (อนัตตา) ก็ไม่มีใคร หรือ สิ่งใด สามารถทำอะไรบุคคลนั้นได้แต่ ถ้า ปัจจัยถึงพร้อม ... อยู่ที่ไหน ก็ต้องได้รับผลของกรรมตามสมควรแก่เหตุในลักษณะใด ... ก็ไม่มีใครรู้ได้ และไม่มีทางเลี่ยงผลของกรรมไปได้.

ปกติ ถ้าเป็นผลของกรรมดี ... ก็ชอบแต่ถ้าเป็นผลของกรรมชั่ว ... ก็ไม่ชอบแต่ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบ ... กรรมก็ต้องให้ผลตามสมควร.

สมดังพระพุทธพจน์ ที่ทรงตรัสสอนพุทธศาสนิกชนเพื่อไม่ประมาทในการน้อมนำมา ... "พิจารณาตนเอง" คือ บุคคล มีกรรมเป็นทายาท มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ ฯลฯ สัตว์โลก ... ย่อมเป็นไปตามมกรรมสัตว์โลก เป็นที่ดูผลของบุญและบาป ฯลฯ .

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
choonj
วันที่ 21 พ.ค. 2553

สัตวโลก มีโมหะเป็นเครื่องผูกพัน ย่อมเห็นเหมื่อนมีรูปเป็นที่ยั่งยืน คนพาลมีอุปธิ เป็นเครื่องผูกไว้ ถูกความมืดหุ้มห่อแล้ว ย่อมปรากฎราวกะว่าเที่ยงยั่งยืน กิเลสเป็น เครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่บัณฑิตผู้เห็นอยู่ ฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
วิริยะ
วันที่ 23 พ.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ