การฝึกซ้อม

 
จักรกฤษณ์
วันที่  20 พ.ค. 2553
หมายเลข  16239
อ่าน  2,705

ผมได้ดูรายการทีวีรายการหนึ่งได้สัมภาษณ์

อาจารย์ยุทธนา ศรีมูลชัย ซึ่งเป็นคนตาบอด

แต่สามารถเล่นเปียโนได้รับรางวัลพระราชทานมากมาย

มีตอนหนึ่งผู้สัมภาษณ์ถามคำถามว่า

อาจารย์ตาบอด แต่เล่นเปียโนได้ ยากไหมค่ะ

ท่านตอบว่า "แม้ตาบอด แต่ก็เล่นเปียโนได้ไม่ยาก หากขยันฝึกซ้อม

เรียนดนตรีไป แต่ไม่ขยันซ้อม ก็ไม่ได้อะไร"

ข้อความดังกล่าวทำให้ผมย้อนนึกถึงเรืองการเรียนธรรมะ

จึงเกิดคำถามขึ้นว่า การเรียน การศึกษาธรรมะ จะเหมือนกันหรือไม่

เรียนไปแต่ไม่ฝึกซ้อม ก็ไม่ได้อะไร

ไม่ทราบว่าจะถูกต้อง ครบถ้วน หรือไม่ ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 20 พ.ค. 2553

เรียนคุณจักรกฤษณ์

ที่สำคัญควรเข้าใจว่า การศึกษาธรรมะ คืออะไร แค่ไหน อย่างไร

การฝึกซ้อม คืออย่างไร เมื่อไหร่ ฝึกด้วยอะไร ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 20 พ.ค. 2553

เรียนอาจารย์ประเชิญครับ

การศึกษาธรรมะที่กล่าวถึงนั้น ผมหมายถึง การทำความเข้าใจในอรรถและเนื้อหาของพระธรรมในพระไตรปิฎกและอรรถกถา และจากคำอธิบายของท่านอาจารย์สุจินต์และคณะท่านวิทยากร

ส่วนการฝึกซ้อมนั้น ผมหมายถึง การตรวจสอบความเข้าใจในพระธรรมกับสิ่งที่ปรากฏตามความเป็นจริง ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 20 พ.ค. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ความเข้าใจเบื้องต้นคือไม่มีสัตว์ บุคคลมีแต่ธรรม ในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็น เช่น

การเล่นดนตรี ต้องอาศัยการทำบ่อยๆ ใครทำ ถ้าไม่ใช่ธรรม ความชำนาญก็เกิดจาก

สัญญาที่จำในสิ่งนั้นบ่อยๆ ก็สามารถทำให้เล่นดนตรีได้เพราะอาศัยสังขารขันธ์คือ

สัญญา เป็นต้น หากไม่มีสภาพธรรมแล้ว ไม่ว่าจะฝึกหรือเรียนรู้อะไรก็ไม่สามารถทำได้

เลย เพราะฉะนั้นธรรมทั้งนั้นที่ฝึก แม้แต่การเล่นดนตรี เช่นเดียวกับการศึกษาธรรม

การอบรมปัญญา สำคัญที่สุดคือมีแต่ธรรม ที่เป็น จิต เจตสิก รูป ขณะที่เรียนแล้วเข้าใจ

ขณะที่เข้าใจขั้นการฟัง ฝึกแล้ว ปัญญาทำหน้าที่รู้ตามความเป็นจริง ขณะนั้นชื่อว่า

ฝึกตนด้วยความเข้าใจ จึงเป็นธรรมที่ฝึกไม่ใช่เราที่จะฝึกหรือจะต้องทำ การฝึกจึงมี

หลายระดับทั้งปัญญาขั้นการฟัง จนถึงสติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมและปัญญาที่

สามารถดับกิเลสได้ การศึกษาธรรมจึงไม่ใช่หมายถึงการไม่ฝึก ต้องไปฝึกแยกต่างหาก

จากการศึกษาธรรมนั่นไม่ใช่ แต่ขณะที่ฟังธรรมสามารถบรรลุธรรมได้ขณะที่ฟัง ขณะนั้น

ก็ฝึกแล้วเพราะปัญญาเกิเข้าใจความจริงครับ เพราะฉะนั้นขณะที่เข้าใจ ขณะที่เห็นถูก

ขณะนั้นชื่อว่าฝึก ฝึกด้วยธรรมคือธรรมฝ่ายดี มีสติและปัญญา เป็นต้น ขออนุโมทนา อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
พุทธรักษา
วันที่ 21 พ.ค. 2553

"การฝึกซ้อม"

กล่าวโดยรวม ควรจะหมายถึง เจตนา-ความตั้งใจแน่วแน่ ในการกระทำสิ่งต่างๆ ตามหนทางที่ได้เรียนรู้ เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตนเองเห็นว่ามีประโยชน์ อันควรค่าแก่การทุ่มเท ฝึกซ้อม.
ทางโลก...เป็นไปเพื่อ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุขทางธรรม..................เป็นไปเพื่อ "รู้แล้วละ"

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 21 พ.ค. 2553

การศึกษาธรรมะ แล้วไม่น้อมนำมาประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน

นั้นคือขาดการฝึกซ้อม ขาดความเข้าใจค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เมตตา
วันที่ 21 พ.ค. 2553

การฟังพระธรรมบ่อยๆ เนืองๆ มีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น ขณะที่มีความเข้าใจ

ขณะนั้นธรรมะปฏิบัติธรรมะ ไม่ใช่เราที่ไปฝึกซ้อมค่ะ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
khampan.a
วันที่ 21 พ.ค. 2553

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
คุณ
วันที่ 21 พ.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
choonj
วันที่ 21 พ.ค. 2553

ผมอยากออกความเห็นว่า การเล่นเปียนโน การตีกอล์ฟ การตีเทนนีส การเล่นกีฬาฯลฯ จะให้เก่งก็ต้องฝึกซ้อม เป็นทางโลก การศึกษาธรรม ต้องอาศัยการฟังบ่อยๆ จนสังขารขันธ์มีกำลัง สามารถละกิเลสได้ ไม่เรียกว่าฝึกซ้อม เพราะถ้าฝึกก็ต้องมีตนที่กำลังฝึก ธรรมไม่มีตน
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ