วิปัสสนาภูมิ

 
จักรกฤษณ์
วันที่  26 พ.ค. 2553
หมายเลข  16337
อ่าน  10,287

ขออนุญาตเรียนถามท่านวิทยากรว่า

วิปัสสนาภูมิมีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาหรือไม่ครับ

หากมี จะกล่าวไว้เพื่อพิจารณาอย่างไร

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 27 พ.ค. 2553
ขอเรียนว่ายังไม่พบคำว่าวิปัสสนาภูมิโดยตรงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา แต่พบคำใกล้เคียง เช่น ภูมิแห่งวิปัสสนา เป็นต้น แต่มิได้หมายความว่าคำว่าวิปัสสนาภูมิจะผิดหลักพระธรรม เพราะเข้าใจว่าผู้ศึกษารุ่นต่อๆ มา กล่าวสรุปจากการศึกษาพระไตรปิฎกและอรรถกถาโดยใจความแล้วคำว่าวิปัสสนาภูมิหมายถึง ที่ตั้งหรืออารมณ์ของวิปัสสนาเพราะเมื่อวิปัสสนาเกิดขึ้นย่อมรู้ธรรมเหล่านี้ ธรรมเหล่านี้จึงชื่อว่า วิปัสสนาภูมิ โดยทั่วไป นิยมกล่าวว่า วิปัสสนาภูมิ ๖ คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ สัจจะ และปฏิจจสมุป- บาท แต่จะกล่าวโดยนัยอื่นๆ ก็ได้ เช่น อาหารสี่ ปรมัตถธรรมสภาวธรรม วัฏฏะ เป็นต้นครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 27 พ.ค. 2553

วิปัสสนาภูมิ หมายถึง ภูมิหรือที่ตั้งของการอบรมเจริญปัญญา เช่น

ขณะัใดที่ระลึกรู้ลักษณะทางตา ทางหู ฯลฯ ที่กระทบ และรู้ตรงลักษณะ

ในขณะนั้นจริง ๆ ว่าเป็นนามธรรม หรือรูปธรรม ที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์

เป็นอนัตตา ขณะนั้นเป็นวิปัสสนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
BudCoP
วันที่ 27 พ.ค. 2553

นโม ปหาปเทสธมฺมสฺส
ขอนอบน้อมแด่ที่อ้างอิง

สวัสดีครับ, คุณ prachern.s และ คุณจักรกฤษณ์.

ขอนำข้อความมาแสดงร่วมในการสนทนา ครับ.

สุขปฺปฏิสํเวทิปเท เจตฺถ วิปสฺสนาภูมิทสฺสนตฺถํ สุขนฺติ ทฺเวสุขานิ กายิกญฺจ สุขํ เจตสิกญฺจาติ ปฏิสมฺภิทายํ วุตฺตํฯ ก็บทว่า สุขปฺปฏิสํเวที นี้ ท่านแสดงวิปัสสนาภูมิ ในปฏิสัมภิทามรรคแสดง (ขยายเรื่องอานาปานัสสติกถา) ว่า บทว่า สุขํ คือ สุข 2 อย่าง ได้แก่ กายิกสุข, เจตสิกสุข ดังนี้. * วิสุทธิมรรค - อรรถกถา 4 นิกาย - พระพุทธโฆสาจารย์รจนา * สมันตปาสาทิกา - อรรถกถาวินัยปิฎก - พระพุทธโฆสาจารย์รจนา ฏีกาอธิบายว่า : วิปสฺสนาภูมิทสฺสนตฺถนฺติ ปกิณฺณกสงฺขารสมฺมสนวเสน วิปสฺสนาย ภูมิทสฺสนตฺถํ สุขนฺติ ทฺเว สุขานีติอาทิ วุตฺตํ สมเถ กายิกสุขาภาวโตฯ คำว่า ท่านแสดงวิปัสสนาภูมิ หมายถึง แสดงภูมิของวิปัสสนาที่สัมมสนะปกิณณกสังขาร, ท่านกล่าวอ้างว่า บทว่า สุขํ คือ สุข 2 อย่าง เป็นต้นนี้ เพราะการเจริญสมถะไม่มีภูมิเป็นกายิกสุข (ถ้ามีก็จะไม่อ้างบทนี้ เพราะจะคลุมเคลือว่า เป็นภูมิของสมถะหรือวิปัสสนากันแน่ ครับ) . * วิสุทธิมรรคมหาฏีกา - ฏีกาวิสุทธิมรรค -พระธรรมปาลาจารย์ ผู้แต่งอรรถกถาขุททกนิกาย 7 คัมภีร์ รจนา * สารตถทีปนี - ฏีกาพระวินัยปิฎก - สารีปุตตาจารย์ อาจารย์ของผู้แต่งวิภาวินี รจนา เอตฺตาวตา ตรุณวิปสฺสนาปริโยสานา วิปสฺสนาภูมิทสฺสิตาฯ เพียงเท่านี้ เท่ากับท่านแสดงวิปัสสนาภูมิ จนถึงตรุณวิปัสสนาแล้ว. * ปรมัตถทีปนี - อรรถกถาอิติวุตตกะ - พระธรรมปาลาจารย์รจนา สุขปฏิสํเวทินิทฺเทเส ทฺเว สุขานีติ สมถวิปสฺสนาภูมิทสฺสนตฺถํ วุตฺตํฯ กายิกญฺหิ สุขํ วิปสฺสนาย ภูมิ, เจตสิกํ สุขํ สมถสฺส จ วิปสฺสนาย จ ภูมิฯ ใน สุขปฺปฏิสํเวทินิทเทส มีอธิบายว่า คำว่า สุขมี ๒ อย่าง นี้ ท่านกล่าวเพื่อแสดงสมถะภูมิและวิปัสสนาภูมิ, เพราะกายิกสุขเป็นวิปัสสนาภูมิ, ส่วน เจตสิกสุขเป็นทั้งสมถภูมิและวิปัสสนาภูมิ. * สัทธัมมปกาสินี - อรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค - พระมหานามเถระรจนา วิปสฺสนาภูมิสนฺทสฺสนตฺถํ ปน สาสวาวอุปาทานกฺขนฺธาติ. (ท่านไม่แสดงว่า ขันธ์ 5 แต่) ท่านแสดงว่า สาสวอุปาทานขันธ์ เพื่อแสดงวิปัสสนาภูมิ. * อภิธัมมัตถวิภาวินี - ฏีกาอภิธัมมัตถสังคหะ - พระสุมังคลมหาสามีรจนา เอกาสีติยา จิตฺเตนาติ โลกุตฺตรจิตฺตวชฺชิเตน วิปสฺสนาภูมิภูเตน เอกาสีติยาจิตฺเตนฯ คำว่า ด้วยจิต 81 คือ จิต 81 ที่เป็นวิปัสสนาภูมิ เว้นโลกุตตรจิต. * อภิธัมมาวตารอภินวฏีกา - ฏีกาอภิธัมมาวตาร - ผู้แต่งท่านเดียวกับวิภาวินี


มีอีก แต่ขอนำมาแสดงเท่านี้ เพื่อให้ทราบว่า มีมาก และหลายอาจารย์กล่าว ครับ.

ขอจงเป็นปัจจัยให้นิพพานพลันทุกท่าน ทุกคน ครับ.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 27 พ.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 29 พ.ค. 2553

อนุญาตสอบถามคุณ BudCop เพื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้นนะครับว่า

จากที่ท่านอรรถกถาจารย์ได้กล่าวถึงเรื่องวิปัสสนาภูมิหลายท่าน

ในเนื้อหาดังกล่าวนั้น มีสาระสำคัญที่เป็นหลักเดียวกันและเชื่อมโยงกันหรือไม่ครับ

หรือว่าเป็นการแสดงภูมิที่แตกต่างในแต่ละบท แต่ละหมวด เท่านั้น

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
homenumber5
วันที่ 1 มิ.ย. 2553

วิปัสนาภูมิตามที่ดิฉันเข้าใจประกอบด้วย

นามรูปนี้เป็นขันธ์5 อายตนะ 12 อินทรีย์22 ธาตุ18 ปฏิจจสมุปบาท12 อริยสัจจ4

เพื่อพิจารณาเป็นวิปัสสนาธัมม6ได้แก่วิสุทธิ7 สามัญญลักษณะ 3 อนุปัสสนา3 วิปัสสนาญาณ10 วิโมกข์3 อนุปัสสนาวิโมกข์3

ทั้งวิปัสสนาภูมิและวิปัสสนาธัมมคือองค์ธัมมที่เกิดจากการสิกขาพระไตรปิฎกทั้ง 84000พระธัมมขันธ์เพื่อบรรลุโลกุตรมัคคและโลกุตรผลเป็นอริยะบุคคล

ขอให้ท่านความเห็นที่1และ3ช่วยชี้แนะเพิ่มเติมด้วย

อนุโมทนาสาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
BudCoP
วันที่ 28 มิ.ย. 2553

เรียน คุณ จักรกฤษณ์ :

เรื่องหลักจริงๆ เป็นเรื่องเดียวกัน คือ วิปัสสนา โดยเฉพาะในชั้นมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิเป็นต้นไป ครับ (ดู วิสุทธิมรรค - มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส) .

เรียน คุณ homenumber5 :

ดูตอนท้าย ในความคิดเห็นที่ 1 ของคุณ prachern.s เพิ่มจะเป็นการดี ครับ.

วิปัสสนาภูมิในวิสุทธิมรรค ท่านไม่ได้ใส่จำนวนไว้ ครับ, แต่ตัวอย่างที่ท่านแสดงไว้ นับได้ 6 อย่าง คือ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ สัจจะ และ ปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น.

คำว่า เป็นต้น ในที่นี้มี 2 นัย, นัยของวิสุทธิมรรคเอง ในตอนนิทเทสของปฏิจจสมุปปาท (เหตุของผล) ท่านหมายถึง ปฏิจจสมุปปันนธรรม (ผลของเหตุ) ครับ.

ส่วนในฏีกาของพระธัมมปาลาจารย์ขยายว่า หมายถึง ธรรมะอื่นๆ เช่น อาหาร 4 เป็นต้น ตามที่คุณ prachern.sแสดงไว้. ซึ่งเรื่องนี้ผมจำได้ว่า ท่านให้นัยวิปัสสนาภูมิสำหรับพิจารณาทิฏฐิวิสุทธิเพิ่มมาอีก 3 นัยด้วย อยู่ในฏีกาทิฏฐิวิสุทธินิทเทส ครับ.

ส่วนข้อต่างที่เกิดขึ้นนี้โดยอรรถะแล้ว ใช้ได้ทั้งคุ่ ครับ ไม่ผิดอะไร.

อนึ่ง เรื่องที่ คุณ homenumber5 ยกมานั้น จะให้เข้าใจง่าย สรุปได้ดังนี้ .-

วิปัสสนาภูมิ เป็นอารมณ์ของ โลกิยวิปัสสนาญาณ.

วิปัสสนาญาณที่ทำดีแล้ว จะเรียกว่า วิสุทธิ.

โลกิยวิปัสสนาญาณต้องใช้อสมูหุปาทาบัญญัติ คือ สามัญญลักษณะ (ไตรลักษณ์) ในการพิจารณาวิปัสสนาภูมิ.

วิโมกข์ คือ การบรรลุ, วิโมกขมุข คือ อนุปัสสนาที่ทำจนบรรลุ.

ทั้งหมดว่าตาม พระสุมังคลมหาสามี ผู้รจนาวิภาวินี ครับ.

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
พุทธรักษา
วันที่ 28 มิ.ย. 2553

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณ BudCoP

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
homenumber5
วันที่ 1 ก.ค. 2553

ขออนุโมทนาท่านความเห็นที่7

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ