คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นธรรมที่ไม่นำกลับหลัง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔- หน้าที่ 97
สุกกาเถรีคาถา
[๔๓๕] พวกมนุษย์ใน กรุงราชคฤห์เหล่านี้ทำ
อะไรกัน มัวดื่มน้ำผึ้ง ดีดนิ้วมืออยู่ ไม่เข้าไปหาพระ
สุกกาเถรี ผู้แสดงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ากันเลย
เหมือนชนเหล่าอื่นผู้มีปัญญา ย่อมดื่มคำสั่งสอนของ
พระพุทธเจ้านั้น ซึ่งเป็นธรรมไม่นำกลับหลัง เป็น
ธรรมทำผู้ฟังให้ชุ่มชื่น มีโอชะ เหมือนคนเดินทาง
ไกล ดื่มน้ำฝน ฉะนั้น. พระสุกกาเถรีมีธรรมบริสุทธิ์
ปราศจากราคะ มีจิตตั้งมั่นชนะมารพร้อมทั้งพาหนะ
ทรงไว้ซึงร่างกายอันมีในที่สุด.
จบ สุกกาเถรีคาถา
ครับ
พุทธบริษัทจะต้องศึกษาธรรมและปฏิบัติตามธรรม
พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงเพียงให้ภิกษุผู้เป็นสาวกเป็นผู้เฉียบแหลมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงภิกษุณีผู้เป็นสาวิกา อุบาสกผู้เป็นสาวก อุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาด้วย ว่าต้องเป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับแนะนำ แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้วบอกแสดง บัญญัติ แต่งตั้งเปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายได้
ฉะนั้น ก็เป็นหน้าที่ของอุบาสิกาด้วย ไม่ใช่ว่าจะมอบหมายภาระให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น เพราะว่าพุทธบริษัททั้งหมดจะต้องศึกษาธรรมและปฏิบัติตามธรรม ถ้าในครั้งนั้น ภิกษุเป็นผู้ที่เฉียบแหลมแล้ว แกล้วกล้าแล้ว แต่ภิกษุณีสาวิกา หรืออุบาสกผู้เป็นสาวก อุบาสิกาผู้เป็นสาวิกานั้น ยังไม่เฉียบแหลม ยังไม่แกล้วกล้าแล้ว พระผู้มีพระภาคก็จักยังไม่ปรินิพพาน แต่เพราะว่าพรหมจรรย์ของพระองค์นั้นสมบูรณ์แล้ว เป็นประ-โยชน์แล้วแก่เทวดาและแก่มนุษย์ทั้งปวง
ฉะนั้น ก็เป็นกาลสมัยที่พระผู้มีพระภาคจะปรินิพพาน
ญาตกสูตร ว่าด้วยปฏิบัติเพื่อประโยชน์และมิใช่ประโยชน์
[๔๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีชื่อเสียง ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสิ่งอันไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อสิ่งอันมิใช่ความสุขแก่ชนมาก เพื่อความเสื่อม เพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่ชนมากทั้งเทวดาทั้งมนุษย์
ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ
ชักชวนในกายกรรมอันไม่สมควร ชักชวนในวจีกรรมอันไม่สมควร ชักชวนในธรรมทั้งหลายอันไม่สมควร
ภิกษุผู้มีชื่อเสียง ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แลชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสิ่งอันไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก ฯลฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้มีชื่อเสียง ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความเจริญ เพื่อประโยชน์ เพื่อสุขแก่ชนมากทั้งเทวดาทั้งมนุษย์
ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ
ชักชวนในกายกรรมอันสมควรชักชวนในวจีกรรมอันสมควรชักชวนในธรรมอันสมควร
ภิกษุผู้มีชื่อเสียงประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แลชื่อว่าปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก ฯลฯ
จบญาตกสูตรที่ ๑
รายละเอียดเพิ่มเติม เล่ม ๓๔ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ -หน้าที่ ๒๑๑. ญาตกสูตร ว่าด้วยปฏิบัติเพื่อประโยชน์และมิใช่ประโยชน์
การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ได้แก่ ปฏิบัติปุพพภาคปฏิปทา อันเป็นธรรมสมควรก็ปฏิปทานั่นแล ท่านเรียกว่าสามีจิ ชอบยิ่ง เพราะเป็นปฏิปทาอันสมควร
ชื่อว่า สามีจิปฏิปนฺโน เพราะปฏิบัติธรรมอันชอบยิ่งชื่อว่า อนุธมฺมจารี เพราะประพฤติบำเพ็ญธรรมอันสมควรกล่าวคือ บุพพภาคปฏิปทานั้นนั่นแล
ก็ศีล อาจารบัญญัติการสมาทานธุดงค์สัมมาปทาถึงโคตรภูญาณ พึงทราบว่า ปุพพภาคปฏิปทา
เพราะฉะนั้น ภิกษุตั้งอยู่ในอคารวะ ๖ ละเมิดพระบัญญัติ เลี้ยงชีวิตด้วยอเนสนาภิกษุนี้ชื่อว่าไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ส่วนภิกษุใดไม่ละเมิดสิกขาบทที่ทรงบัญญัติแล้วแก่ตนทั้งหมดที่ขีดคั่นเขตแดนและเส้นบรรทัดของพระชินเจ้าแม้มีประมาณน้อยภิกษุนี้ ชื่อว่าปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.
แม้ในภิกษุณี ก็นัยนี้เหมือนกัน
ก็อุบาสกใดยึดเวร ๕ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประพฤติไว้แนบแน่นอุบาสกนี้ชื่อว่าไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ส่วนอุบาสกปฏิบัติให้สมบูรณ์ในสรณะ๓ ศีล ๕ ศีล๑๐รักษาอุโบสถเดือนละ ๘ ครั้ง ถวายทาน บูชาด้วยของหอม บูชาด้วยมาลาบำรุงมารดาบิดา บำรุงสมณพราหมณ์อุบาสกผู้นี้ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
แม้ในอุบาสิกา ก็นัยนี้เหมือนกัน
เล่ม 13 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ -หน้าที่ 421การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม