ได้ยินแล้วคิด_25

 
Khaeota
วันที่  4 มิ.ย. 2553
หมายเลข  16382
อ่าน  1,611

ขอนอบน้อมแด่องค์สมเด็จพระผุ้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เคยได้ยิน ท่าน อ. สุจินต์ แสดง

"โมฆบุรุษ"ได้ยินแล้วคิด
คืออะไร คือใคร ขณะไหน อย่างไร

ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาทุกๆ ท่านค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 4 มิ.ย. 2553

"โมฆบุรุษ" คือ ผู้ที่มีความเข้าใจผิดเห็นผิดในสภาพธรรม เมื่อมีความเข้าใจผิด เห็นผิดในสภาพธรรมก็ไม่มีทางที่จะอบรมเจริญปัญญาขัดแกลากิเลส เพื่อจะบรรลุอริยสัจจธรรมได้ เปรียบเป็นโมฆะบุรุษ ผู้ที่เกิดมาแล้วสูญเปล่าไม่ได้ประโยชน์จากพระธรรม และขณะไหนเป็นโมฆะบุรุษ ... คิดว่าน่าจะขณะที่อกุศลจิต เกิด ไม่ทราบจะถูกตรงหรือเปล่า ขอเรียนเชิญท่านอื่นๆ ค่ะ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตพี่แก้วตาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 5 มิ.ย. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

โมฆบุรุษมีหลายนัยดังอธิบายดังนี้ครับ

โมฆบุรุษคือบุคคลที่ว่างเปล่า ไม่มีแก่นสาร ว่างเปล่าจากอะไร

1. ว่างเปล่าจากกุศลธรรมในขณะนั้นคือขณะนั้นเป็นอกุศลที่มีกำลัง เป็นโมฆบุรุษใน ขณะนั้น

2. ว่างเปล่าจากความเห็นถูกคือเป็นผู้มีความเห็นผิด เป็นโมฆบุรุษ

3. ว่างเปล่าเพราะไม่มีอุปนิสัยที่จะได้บรรลุมรรคผลในชาตินั้นคือไม่มีทางบรรลุในชาติ นั้นก็ชื่อว่าเป็นโมฆบุรุษ

4.ว่างเปล่าแม้จะมีอุปนิสัยจะได้บรรลุในชาตินั้นและท้ายที่สุดได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ แต่ขณะนั้นเป็นอกุศลจึงว่างเปล่าจากการบรรลุในขณะนั้น ขณะนั้นก็ชื่อว่าเป็นโมฆบุรุษ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 70

บทว่า โมฆปุริโส ความว่าบุรุษเปล่า จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเรียกบุรุษผู้ ไม่มีอุปนิสัยแห่งมรรคและผลในอัตภาพนั้นว่าโมฆบุรุษ. ครั้นเมื่ออุปนิสัยแม้มีอยู่ แต่ มรรคหรือผล ไม่มีในขณะนั้น ก็เรียกว่า โมฆบุรุษเหมือนกัน.

นัยที่ 1 คือว่างเปล่าจากกุศลธรรมในขณะนั้นคือขณะนั้นเป็นอกุศลที่มีกำลัง เป็น โมฆบุรุษในขณะนั้น ยกตัวอย่างเช่น ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีด่าว่ากันและกัน ขณะนั้น เป็นอกุศลที่มีกำลัง เป็นโมฆบุรุษว่างเปล่าจากกุศลธรรม พระพุทเจ้าทรงเรียกเหล่า ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีว่าโมฆบุรุษ

นัยที่ 2 คือว่างเปล่าจากความเห็นถูกคือเป็นผู้มีความเห็นผิด เป็นโมฆบุรุษ พระ- พุทธเจ้า ทรงเรียกครูมักขลิโคสาลผู้ที่มีความเห็นผิดอย่างมากว่าเป็นโมฆบุรุษ

นัยที่ 3 คือว่างเปล่าเพราะไม่มีอุปนิสัยที่จะได้บรรลุมรรคผลในชาตินั้นคือไม่มีทางบรรลุในชาตินั้นก็ชื่อว่าเป็นโมฆบุรุษ ผู้ที่ว่างจากการบรรลุในชาตินั้นจึงเป็นโมฆบุรุษ

นัยที่ 4 คือ ว่างเปล่าแม้จะมีอุปนิสัยจะได้บรรลุในชาตินั้นและท้ายที่สุดได้บรรลุเป็น

พระอรหันต์ แต่ขณะนั้นเป็นอกุศล จึงว่างเปล่าจากการบรรลุในขณะนั้น ขณะนั้นก็ชื่อ ว่าเป็นโมฆบุรุษ ในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าทรงติเตียนท่านพระอุปเสนวังคันตบุตร ว่าเป็นโมฆบุรุษเพราะเป็นผู้มักมาก ท่านสะสมบริขารมีบาตรและจีวรมากมาย ทำให้เป็น ผู้มักมากในขณะนั้น ขณะนั้นจึงว่างเปล่าจากการบรรลุ ว่างเปล่าจากกุศลธรรมจึงเป็น โมฆบุรุษ ซึ่งท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรท่านมีอุปนิสัยได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในชาติ นั้นและต่อมาไม่นานที่พระพุทธเจ้าทรงติเตียนว่าโมฆบุรุษ ท่านก็ได้บรรลุเป็นพระ- อรหันต์ครับ

โมฆบุรุษจึงมีหลายระดับ หลากหลายนัยตามที่กล่าวมาครับ จึงเป็นเครื่องเตือน ว่าแต่ละท่านนั้นเป็นโมฆบุรุษหรือไม่ และเมื่อรู้ตามความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่จะทำให้ละ ความเป็นโมฆบุรุษได้คืออะไร ถ้าไม่ใช่การฟังพระธรรมในหนทางที่ถูกต้องและน้อม ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรม

ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 5 มิ.ย. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษา เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้ที่ได้ฟัง ได้ศึกษาอย่างแท้จริง เพื่อความเป็นผู้ว่าง่ายต่อการที่กุศลจิตจะเกิด (ไม่ใช่เพื่อให้เกิดอกุศล) และมีความอดทนที่จะน้อมประพฤติปฏิบัติตามพระธรรม เป็นความจริงที่ว่า แต่ละบุคคลก็เต็มไปด้วยกิเลส เต็มไปด้วยอกุศลด้วยกันทั้งนั้นวันหนึ่งๆ จึงมีอกุศลเกิดมากกว่ากุศล (ความเป็นโมฆบุรุษในแต่ละวัน จึงมีมาก) แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม สำหรับบุคคลผู้ที่ได้สะสมเหตุที่ดีมา ก็มีโอกาสได้ที่จะได้ฟังพระธรรม ซึ่งเป็นโอกาสที่หาได้ยากในชีวิต ทำให้เข้าใจตามความเป็นจริง ว่า อกุศลเป็นอกุศล กุศลเป็นกุศล ทำให้เห็นโทษของอกุศล เห็นคุณประโยชน์ของกุศล แล้วค่อยๆ เป็นผู้ว่าง่ายที่จะขัดเกลากิเลสของตนเอง พร้อมกับไม่ประมาทในการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาต่อไป กล่าวคือ ลดความเป็นโมฆบุรุษลง แล้วเพิ่มความเป็นบัณฑิต (ผู้มีปัญญา) ขึ้น พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ดีแล้วเท่านั้น ที่จะเกื้อกูลได้จริงๆ ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 6 มิ.ย. 2553

เมื่อใดเป็นอกุศล เมื่อนั้นเป็นโมฆะบุรุษ

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 7 มิ.ย. 2553

ในพระไตรปิฎกมีคำว่า “โมฆบุรุษ หมายถึงบุรุษผู้ว่างเปล่าจากคุณธรรม” พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสเรียกบุคคลที่ไม่ได้น้อมประพฤติปฏิบัติธรรมว่า โมฆบุรุษ เพราะฉะนั้น โมฆบุรุษในครั้งที่พระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่ปรินิพพาน เมื่อ ๒,๕๐๐ กว่าปี ถ้าบุคคลนั้น ไม่ประพฤติปฏิบัติธรรม ความเป็นโมฆบุรุษนั้น ก็ยังคงมีอยู่ต่อไปอีก จึงเป็นเครื่อง เตือนใจที่ดีสำหรับทุกคนว่า ขณะนี้ถ้าผู้ใดเป็นผู้ที่ฟังพระธรรม แต่ว่าไม่น้อมที่จะ ประพฤติปฏิบัติตาม ยังมีความโกรธมาก ยังมีความไม่พอใจขุ่นเคืองใจมาก และไม่คิด ที่จะละคลายความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ ความไม่พอใจนั้นลง ผู้นั้นก็จะเป็นโมฆบุรุษ ด้วย ตั้งแต่ในชาตินี้และในชาติต่อๆ ไป ก็จะเพิ่มความเป็นโมฆบุรุษต่อไปอีก เพราะ ฉะนั้น จึงควรเตือนตนเองเสมอว่าจะเป็นโมฆบุรุษ หรือว่าจะเป็นผู้ที่น้อมประพฤติ ปฏิบัติธรรม?

เชิญคลิกอ่าน ... โมฆบุรุษ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 7 มิ.ย. 2553

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 7 มิ.ย. 2553

ข้อความใน ความเห็น 5 ที่บรรยาย นำมาจากข้อมูลของมูลนิธิฯซึ่งบันทึกไว้

ขออนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
saifon.p
วันที่ 7 มิ.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
orawan.c
วันที่ 7 มิ.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
pannipa.v
วันที่ 8 มิ.ย. 2553

ผู้สว่างมา มืดไป ชื่อว่า โมฆะบุรุษ

ผู้มืดมา มืดไป ชื่อว่า โมฆะบุรุษ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Jans
วันที่ 8 มิ.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 16 ต.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ