ธรรมย่อมชนะอธรรม

 
kanchana.c
วันที่  6 มิ.ย. 2553
หมายเลข  16390
อ่าน  1,831

เมื่อบ้านเมืองไม่สงบ มีการแบ่งพวก แบ่งสี แบ่งแยกความคิดออกไปหลายฝ่าย จนเกิดเหตุจลาจล เกือบจะเป็นสงครามกลางเมืองนั้น (ระหว่าง เม.ย. ๕๓ – พ.ค. ๕๓) หลายคนไม่สบายใจ วิตกกังวล กลัวพวกที่ตัวเองคิดว่าดีนั้นจะแพ้ เมื่อรวมกลุ่มคุยกัน ก็จะปลอบใจกันว่า ไม่ต้องกลัว ธรรมย่อมชนะอธรรม ซึ่งทำให้สบายใจขึ้น โดยที่ไม่เข้าใจจริงๆ ว่า “ธรรมย่อมชนะอธรรม” นั้นมีหมายความลึกซึ้งอย่างไร แค่ไหน

วันเสาร์ที่ ๕ มิ.ย. ๕๓ ได้ไปสนทนาธรรมที่มูลนิธิฯ ซึ่งได้นำปริสาสูตร (ว่าด้วยบริษัท ๓ จำพวก) มาสนทนา สรุปได้ว่า บริษัท ๓ จำพวก คือ บริษัทที่มีแต่คนดี ๑ บริษัทที่เป็นพรรค คือ แบ่งพวกทะเลาะกัน ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอก คือ ปาก (ช่างเหมือนเหตุการณ์บ้านเมืองที่ผ่านมาเลย ชอบจริงๆ คำว่า ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอก คือ ปากเป็นคำพูดที่ทำให้เห็นภาพพจน์ชัดเจนจริงๆ ) ๑ และบริษัทที่สามัคคีกัน พร้อมเพรียงกัน ชื่นบานต่อกัน ไม่วิวาทกัน มองดูกันและกันด้วยสายตาของคนที่รักใคร่กันหนึ่ง

เมื่อมีผู้ถามว่า ทำไมบ้านเมืองเราถึงเป็นอย่างนี้ ท่านอาจารย์ก็ตอบว่า บ้านเมืองไหนๆ ยุคใดๆ ในอดีตก็เป็นอย่างนี้

เมื่อท่านย้อนถามว่า “รักชาติคืออะไร” และ “ชาติ คืออะไร” พวกเราก็ตอบกันสะเปะสะปะไม่ตรงเป้าสักที ท่านก็เลยเฉลยว่า ชาติ คือ คน รักชาติ ก็คือเมตตากันและกัน ไม่ว่าจะเป็นใครในโลกนี้

เมื่อมีโอกาสฟังท่านอธิบายคำว่า “ธรรมย่อมชนะอธรรม” ซึ่งตามความเข้าใจของตนเองนั้นสรุปว่า (ไม่ทราบว่าจะถูกต้องลึกซึ้งอย่างที่ท่านอธิบายหรือไม่) ทุกอย่างเป็นธรรม แต่เมื่อพูดว่า “ธรรมย่อมชนะอธรรม” นั้น ธรรมก็คือกุศลธรรม อธรรม ก็คือ อกุศลธรรม กุศลชนะอกุศล เมื่อกุศลเกิด แสดงว่ากุศลมีกำลังกว่าอกุศล และเมื่อกุศลเกิด ก็สามารถดับอกุศลได้ และกุศลที่มีกำลังสามารถดับอกุศลเป็นสมุจเฉทได้ อกุศลไม่สามารถดับกุศลเป็นสมุจเฉทได้ เมื่อมีปัญญาก็ดับอวิชชาได้ แต่อวิชชาดับปัญญาเป็นสมุจเฉทไม่ได้ ไม่อย่างนั้นท่านพระเทวทัตคงไม่ได้รับการพยากรณ์จากพระผู้มีพระภาคว่า จะได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าในอนาคต

ดังนั้น จึงไม่มีความหมายแต่เฉพาะเวลาต่อสู้กันแล้ว พวกคนดีย่อมชนะคนไม่ดี อย่างที่พวกเราเข้าใจกัน ไม่อย่างนั้นมหาวิทยาลัยนาลันทาคงไม่ถูกเผาจนหมด และพระภิกษุถูกฆ่าเป็นหมื่นๆ รูป เพราะไม่ใช่มีแต่เฉพาะกรรมในปัจจุบัน ยังมีกรรมในอดีตที่มองไม่เห็นอีก ที่ปุถุชนอย่างเราๆ ไม่สามารถรู้ได้ว่า ใครมีเวรต่อกันอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
Saris
วันที่ 7 มิ.ย. 2553

คำพูดว่า "ธรรมย่อมชนะอธรรม" ผมเองก็สงสัยมานานแล้วครับ เพราะสิ่งที่เห็นก็คือ ใครมีกำลังมากกว่า มียุทธวิธี มีกลศึก มีชัยภูมิดีกว่าก็เป็นฝ่ายชนะ วันนี้ได้กระจ่างถึงความหมายนี้แล้ว

กุศลชนะอกุศล เมื่อกุศลเกิด แสดงว่ากุศลมีกำลังกว่าอกุศล และเมื่อกุศลเกิดก็
สามารถดับอกุศลได้ และกุศลที่มีกำลังสามารถดับอกุศลเป็นสมุจเฉทได้ อกุศลไม่
สามารถดับกุศลเป็นสมุจเฉทได้ เมื่อมีปัญญาก็ดับอวิชชาได้ แต่อวิชชาดับปัญญาเป็นสมุจเฉทไม่ได้

ขอบคุณครับ

และขออนุโมทนาสาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
aurasa
วันที่ 8 มิ.ย. 2553

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 8 มิ.ย. 2553

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
choonj
วันที่ 8 มิ.ย. 2553

ยุคใดๆ ในอดีตก็เป็นอย่างนี้ แสดงว่ายังไม่จบ ความไม่สบายใจและวิตกกังวลยังต้องมีอีก อาจจะเร็วๆ นี้เพราะตอนนี้ลงใต้ดินไปแล้ว จะเห็นได้จากอันตรายของการขาดศีลข้อที่ ๔ พูดเท็จ ก็เริ่มต้นจากการพูดเท็จ พูดเท็จคำโตๆ พูดบ่อยๆ มากๆ พร้อมทั้งสร้างสถานการณ์ จนมีคนเชื่อ แล้วก็รวบรวมเป็นพรรค อีกกลุ่มหนึ่งที่ขัดผลประโยชน์ก็เช่นเดียวกัน พูดเท็จจนมีคนเชื่อ แล้วก็รวบรวมเป็นอีกพรรค ทิ่มแทงกันด้วยหอก เอ็ม๗๙ ฯลฯ ศีลข้อที่๔ การพูดเท็จ สามารถทำให้ผู้ฟังเชื่อได้อย่างสนิดใจ จนทำให้มีการเผาบ้านเมือง เป็นเรื่องของใกล้กาลวิบัติ เมืองใดไร้ธรรมอำไพ เมืองนั้นบรรลัยแน่นอน ถ้าทุกคนศรีษะนี้หมอบให้พระพุทธเจ้า ความไม่สบายใจและวิตกกังวนจะมีได้อย่างไร ในเมื่อพระพุทธเจ้าห้ามใว้ในศีล ข้อที่ ๔ ห้ามพูดเท็จ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
kinder
วันที่ 8 มิ.ย. 2553

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Jans
วันที่ 8 มิ.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
jaran
วันที่ 9 มิ.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
คุณ
วันที่ 10 มิ.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
pannipa.v
วันที่ 10 มิ.ย. 2553

ผู้ชนะ.....ย่อมก่อเวร ผู้แพ้.....ย่อมอยู่เป็นทุกข์

ผู้สงบระงับ.....ละความชนะ และความแพ้ได้แล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข

(อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท)

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ms.pimpaka
วันที่ 28 มี.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ส.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ