ปฐมอัคคิสูตรที่ ๓ [คัมภีร์ฎีกา]

 
Khaeota
วันที่  7 มิ.ย. 2553
หมายเลข  16401
อ่าน  3,380

ฎีกา ปฐมอัคคิสูตร

ในปฐมอัคคิสูตรที่ ๓ มีอรรถาธิบาย ดังต่อไปนี้ฯ

แม้ว่าจะมีไฟทั้งสามมีอาหุเนยยัคคิเป็นต้น ซึ่งพวกพราหมณ์ต้องการก็ตาม แต่กระนั้นไฟสามประการนั้น เป็นเพียงแค่สิ่งที่พราหมณ์พวกนั้นต้องการเท่านั้น, มิได้สำเร็จประโยชน์อันเช่นนั้น แก่สัตว์ทั้งหลาย, แต่ไฟเหล่าใดที่ให้สำเร็จประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย, เพื่อจะแสดงไฟ เหล่านั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า สักการะ ตรัสเรียกว่า อาหุนะ ดังนี้เป็นต้นไว้ฯ ในคำว่า อาหุเนยยะนั้น การนำมาแล้วบูชาท่านเรียกว่าอาหุนะมารดาบิดา ย่อมควรซึ่งการบูชา ที่เรียกว่า อาหุนะ นั้นฯ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้ง หลาย

คำว่า อาหุเนยยะ นี้เป็นชื่อของมารดาและบิดาทั้งหลายฯ อนึ่งด้วยความที่ท่านมีอุปการะมากแก่บุตรทั้งหลาย บิดามารดา จึงเป็นอาหุเนยยะ (ผู้ควรแก่การบูชา) ก็โดยความเป็นผู้เลิศนั้น การปฏิบัติดีในมารดาบิดาจึงนำประโยชน์สุข และการปฏิบัติผิดในมารดาบิดานั้นเป็นเหตุนำโทษและทุกข์มาให้แก่บุตรฯ ด้วยเหตุนี้นั่นแหละ พระอรรถกถาจารย์ จึงกล่าวว่า "บุตรทั้งหลายปฏิบัติผิดในมารดาและบิดา ทั้ง ๒ นั้น ย่อมบังเกิดในอบาย มีนรกเป็นต้น" เรื่องนี้ บัณฑิตควรทราบด้วยเรื่องของนายมิตตวินทุกะ (มาในอรรถกถาสังคีติสูตร ทีฆนิกาย ปาถิกวรรค) ก็มารดาของนายมิตตวินทุกะนั้น ได้บอกแก่เขาว่า พ่อคุณ, วันนี้ ลูกจงเป็นผู้รักษา อุโบสถแล้วฟังธรรมในวิหารตลอดราตรีเถิด แม่จะให้ทรัพย์ ๑๐๐๐ แก่เจ้า "ด้วยความอยาก ได้ทรัพย์ เขาจึงสมาทานอุโบสถแล้วไปวิหาร กำหนดว่า "สถานที่นี้เป็นที่ปลอดภัย" จึงนอนใต้ ธรรมาสน์ หลับทั้งคืนแล้วได้กลับบ้านไปฯ มารดา ต้มข้าวต้มตั้งแต่เช้า ได้นำเข้าไปให้ฯ เขาดื่ม ข้าวต้มทั้งที่ยังถือทรัพย์หนึ่งพัน ฯ ต่อมานายมิตตวินทุกะ ได้คิดว่า เราจักหาทรัพย์ ฯ เขาต้องการไปมหาสมุทรทางเรือ, ทีนั้น มารดาได้ห้ามปรามว่า พ่อคุณ ในตระกูลนี้มีทรัพย์ ๔๐ โกฏิ เจ้าอย่าได้ไปเลยฯ แต่เขา ไม่ใส่ใจคำห้ามปรามของมารดา จะไปให้ได้ฯ มารดาจึงได้ยืนขวางหน้า, เขากลับโกรธมารดาคิดว่า แม่นี่ ยืนขวางหน้าเรา ดังนี้จึงถีบมารดาให้ล้มแล้วทำให้มีช่องว่างเป็นทางไปได้ฯ (หมาย ความว่า ถีบมารดาให้ล้มแล้วจึงก้าวข้ามไป) ฯ

ฝ่ายมารดา ลุกขึ้นแล้วกล่าวว่า "ลูกเอ๋ย เจ้าคงคิดว่า จักมีความสุขในที่ๆ เจ้าทำกับผู้ เป็นมารดาอย่างกับเราไป " ฯ ครั้นนายมิตตวินทุกะ ลงเรือไปแล้วนั้น ในวันที่ ๗ เรือก็ได้หยุดอยู่กับที่ฯ ต่อมา มนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น กล่าวว่า "ในที่นี้ จักต้องมีคนบาปอยู่เป็นแน่, พวกท่านจงแจกสลาก"ฯ สลากที่เขาแจกนั้น ได้ตกแก่นายมิตตวินทุกะถึงสามครั้งทีเดียวฯ พวกมนุษย์จึงเอาแพให้เขา แล้วทิ้งไปในมหาสมุทรฯ นายมิตตวินทุกะ ได้ไปถึงเกาะๆ หนึ่ง เสวยสมบัติกับนางเวมานิกเปรต, เมื่อนางเปรต เหล่านั้นได้กล่าวกะเขาว่า คุณอย่าได้ไปข้างหน้าๆ อีก แต่ก็ไม่ฟัง ได้ไปข้างหน้าต่อไปเรื่อยๆ เห็นสมบัติของนางเปรตที่ผ่านมาทุกๆ แห่งเป็น ๒ เท่า จนกระทั่งได้เห็นสัตว์นรกตนหนึ่งที่ทูน จักรคมฯ จักรคมนั้น ปรากฏเหมือนกับดอกปทุม, นายมิตตวินทุกะกล่าวกับสัตว์นรกนั้นว่า "ท่านจงมอบดอกปทุมที่ท่านประดับอยู่แก่ข้าพเจ้าเถิด" ฯ ฝ่ายสัตว์นรกตอบว่า "นาย,นี้มิได้ เป็นดอกปทุม แต่เป็นจักรคม" เขากลับกล่าวว่า "ท่านหลอกเรา, ทำไมเราจะไม่เคยเห็นดอกบัว หรือ" ดังนี้แล้วกล่าวอีกว่า "ท่านชะโลมจันทน์แดงแล้ว คงจะไม่อยากให้ดอกบัวเครื่องประดับ นั้นแก่เรา"ฯ สัตว์นรกจึงคิดได้ว่า "ชะรอย ผู้นี้คงทำกรรมเช่นกับที่เราเคยทำแล้วจักต้องการ เสวยผลกรรมนั้น" ฯ ทีนั้น สัตว์นรกผู้นั้น จึงกล่าวว่า "เอาเลย เจ้าจงรับไป" ดังนี้แล้วได้ขว้าง จักรไปบนกระหม่อมของมิตตวินทุกะฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ (ในจตุทวารชาดก ทสกนิบาต) ว่า "ได้สี่แล้วอยากได้แปด ได้แปดแล้วอยากได้สิบหก ได้สิบหกแล้วอยากได้สามสิบสอง จึงต้องมาทูนจักรไว้ คนที่ถูกความอยากเล่นงานเอาจักรกำลังหมุนอยู่บนหัว". คำว่า คหบดี ได้แก่ เจ้าของเรือน คือ ผู้เป็นสามี (ภัสดา, ผัว) ฯ

คำว่า โดยนัยข้างต้นนั่นแหละ ได้แก่ เพราะเป็นปัจจัยแก่การตามเผาผลาญฯ ในความที่ผิดในสามีนั้น พึงทราบเรื่องนี้ฯ ในสมัยพระกัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า ภรรยาของอุบาสก ผู้เป็นพระโสดาบันได้ ประพฤตินอกใจสามีฯ อุบาสกเห็นประจักษ์ถึงความประพฤตินั้น กล่าวว่า เธอทำอย่างนี้เพราะ เหตุไรกัน? " ฯ ภรรยา ตอบว่า "ถ้าดิฉันทำกรรมเยี่ยงนี้, ขอให้สุนัขนี้ทึ้งกัดดิฉันเถิด" ต่อมา เธอตายไปเกิดเป็นนางเวมานิกเปรตอยู่ใกล้สระกัณณมุณฑกะ กลางวันเสวยสมบัติ กลางคืน เสวยทุกข์ ในเวลานั้น พระเจ้าพาราณสี เมื่อเสด็จล่าเนื้อ จึงเข้าไปป่า ถึงสระกัณณมุณฑกะ ตามลำดับ เสวยสมบัติกับนางเปรตนั้นฯ นางเปรตนั้นหลอกลวงพระราชาแล้วไปเสวยทุกข์ในกลางคืนฯ

พระราชาทรงทราบแล้ว ทรงดำริว่า "เธอจะไปในที่กัน" จึงเสด็จตามไปข้างหลัง ประทับยืนอยู่ในที่ไม่ห่างนัก ทอดพระเนตรเห็นสุนัขออกมาจากสระนั้นกัดนางเปรตเสียงดัง ปั๊ก ปั๊ก, ทรงใช้พระขรรค์ฟันสุนัขขาดเป็นสองท่อน, สุนัขกลายเป็น ๒ ตัว, ครั้นทรงฟันสุนัขขาดอีก ก็ เป็น ๔ ตัว, ครั้นทรงฟันขาดอีก ก็เป็น ๘ ตัว, ครั้นทรงฟันขาดอีก ก็เป็น ๑๖ ตัวฯ นางเปรต ทูลบอกว่า "พระองค์ทำอะไรฯ พระราชาตรัสว่า สิ่งนี้ อะไรกันฯ นางทูลว่า ท่านไม่ทำอย่างนี้ จงบ้วนก้อนเขฬะบนแผ่นดินแล้วใช้พระบาทขยี้ฯ พระราชาทรงกระทำอย่างนั้น. สุนัขทั้งหลาย ก็หายไปหมดฯ ได้ยินว่า การบ้วนน้ำลายแล้วใช้เท้าขยี้นี้เป็นอุบายเพื่อความหายไปแห่งสุนัขฯ ในวันนั้นกรรมของนางเปรตนั้นสิ้นแล้วฯ แต่พระราชาทรงเสียพระทัย จึงจะเสด็จหนีไปฯ นาง เปรตกล่าวว่า "พระองค์กรรมของหม่อมฉันหมดสิ้นแล้ว พระองค์อย่าเสด็จไปเลย" ฯ แต่พระ ราชา ไม่ทรงเชื่อแล้วเสด็จไปนั่นเทียวฯ คำว่า ทักขิณา ได้แก่ ปัจจัย ๔ ที่เขาให้ฯ หมายความว่า ประโยชน์และสุขทั้งหลาย ย่อมเจริญ ก็ด้วยปัจจัยที่เขาให้นั้น เพราะเหตุนั้น ปัจจัยที่เขาให้นั้น ชื่อว่าทักขิณาฯ ภิกษุสงฆ์ ชื่อว่าทักขิเณยยะ เพราะเป็นผู้ควรซึ่งทักขิณานั้น

ฏีกาปฐมอัคคิสูตร จบ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 6 ก.พ. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ