อานิสงส์ของอุโบสถศีลอุโบสถศีลกึ่งหนึ่ง [อรรถกถาคังคมาลชาดกที่ ๕]
[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 512
อรรถกถาคังคมาลชาดกที่ ๕
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ อุโบสถกรรม จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า องฺคารชาตา ดังนี้. ความย่อมีว่า วันหนึ่งพระศาสดาตรัสเรียกพวกรักษาอุโบสถมา แล้วตรัสว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย ท่านทั้งหลายทำอุโบสถกรรมให้ สำเร็จดีแล้ว ผู้ที่รักษาอุโบสถควรให้ทาน รักษาศีล ไม่โกรธ เจริญ เมตตา อยู่รักษาอุโบสถ ก็บัณฑิตครั้งก่อนให้ยศใหญ่ เพราะอาศัย อุโบสถกรรมที่รักษาครึ่งวัน ดังนี้ พวกอุบาสกเหล่านั้น กราบทูล อาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ลำดับนั้น ท่านเศรษฐี กล่าวกะพระโพธิสัตว์ว่า แน่ะพ่อ จะเป็นอุโบสถกรรมไปทั้งหมดไม่ได้ เพราะไม่ได้อธิษฐานแต่เช้า แต่ก็เป็นเพียงกึ่งอุโบสถกรรมเท่านั้น. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เพียงเท่านี้ก็ช่างเถอะ ได้สมาทานศีลในสำนักของท่านเศรษฐี อธิษฐานอุโบสถแล้วเข้าที่อยู่ของตน นอนนึกถึงศีลอยู่.ครั้นราตรีล่วงเข้าปัจฉิมยาม ลมสัตถกวาตก็เกิดขึ้นแก่พระโพธิสัตว์ เพราะอดอาหารมาตลอดวัน. แม้ท่านเศรษฐีจะประกอบเภสัชต่างๆ นำ มาให้บริโภค พระโพธิสัตว์ก็กล่าวว่า ข้าพเจ้าสมาทานอุโบสถแล้ว โดยยอมสละชีวิต ด้วยคิดว่า จักไม่ทำลายอุโบสถ. เวทนากล้าแข็งได้ เกิดขึ้น. เวลารุ่งอรุณ พระโพธิสัตว์ไม่อาจดำรงสติไว้ได้. คนทั้งหลาย คิดว่า พระโพธิสัตว์จักตายในบัดนี้ จึงได้นำไปให้นอนอยู่ ณ ที่โรงเก็บ อาหาร. ขณะนั้น พระเจ้าพาราณสี ทรงรถพระที่นั่งทำปทักษิณพระนคร ด้วยบริวารใหญ่ เสด็จถึงที่นั้น. พระโพธิสัตว์ได้เห็นสิริราชสมบัติของ พระเจ้าพาราณสี เกิดความโลภอยากได้ราชสมบัติ เมื่อดับจิตแล้ว ได้ ไปปฏิสนธิในครรภ์อัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี ด้วยอานิสงส์แห่งอุโบสถกรรมกึ่งหนึ่ง.