ร่ายรำในความมืด

 
JANYAPINPARD
วันที่  14 มิ.ย. 2553
หมายเลข  16449
อ่าน  2,016

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 212

บทว่า ปริตฺตเมตฺถ โสขฺย ความว่า ในกาลแห่งบริโภคเบญจ- กามคุณนี้ ชื่อว่ามีสุขน้อย เพราะอรรถว่า ลามก โดยให้เกิดความสำคัญผิด หรือโดยเนื่องด้วยกามาวจรธรรม มีอธิบายว่า มีนิดหน่อย คือมีชั่วคราว ดุจสุขในการชมดูการฟ้อนรำที่แสงฟ้าแลบให้สว่างขึ้น ฉะนั้น. โทษของกาม ทั้งหลาย พึงทราบว่า มีความยินดีน้อย เป็นเพียงหยดน้ำ เมื่อเทียบกับทุกข์ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ โดยนัยอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตร ในโลกนี้ ย่อมสำเร็จการเลี้ยงชีพ ด้วยการประกอบศิลปะใด คือ การคิด การนับ ดังนี้เป็นต้น โดยที่แท้ มีทุกข์ยิ่ง คือ มาก เป็นเช่นกับน้ำในสมุทร ทั้งสี่ เพราะฉะนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า มีความยินดีน้อย มีทุกข์ มาก ดังนี้.

การศึกษาธรรมใช่จะเคร่งเครียดไปหมด.มีบางประโยคฟังแล้ว รู้สึกสวยงามชวนสงสัย เช่น ร่ายรำในความมืด ... ท่านฟังแล้วคิดอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 14 มิ.ย. 2553

กามคุณนี้ ชื่อว่ามีสุขน้อย เพราะอรรถว่า ลามก โดยให้เกิดความสำคัญผิด หรือโดยเนื่องด้วยกามาวจรธรรม มีอธิบายว่า มีนิดหน่อย คือมีชั่วคราว ดุจสุขในการชมดูการฟ้อนรำที่แสงฟ้าแลบให้สว่างขึ้น

ฉะนั้น. คิดเหมือนอรรถกถาท่านอธิบายครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ajarnkruo
วันที่ 14 มิ.ย. 2553
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ชีวิตคือขณะจิต
วันที่ 14 มิ.ย. 2553

ปุถุชนเห็นว่าสุข ไม่เห็นว่าทุกข์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เมตตา
วันที่ 15 มิ.ย. 2553

ปุถุชนผู้ไม่ได้ฟังพระธรรมย่อมสำคัญผิดว่ากามคุณนั้นมีสุขดุจการร่ายรำในความมืด แท้จริงแล้วสุขเพียงชั่วขณะที่ดูการฟ้อนรำที่แสงฟ้าแลบให้สว่างขึ้นเท่านั้น ความสุขแค่ชั่วครู่นิดเดียวดุจหยดน้ำหยดเดียว ... เมื่อเปรียบกับความทุกข์นั้นมีมากมายดุจน้ำใน มหาสมุทรทั้งสี่

... ขออนุโมทนาค่ะ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 15 มิ.ย. 2553

โลภะเป็นความติดข้องต้องการ ... มีเวทนาได้ 2 อย่างคืออุเบกขาเวทนาและโสมนัส

เวทนา โสมนัสเวทนาเป็นเวทนาที่เกิดกับกุศลจิตหรืออกุศลจิตก็ได้ ... โดยทั่วไป เรียกว่าความสุข..หากไม่ศึกษาพระธรรมไม่สามารถแยกแยะว่าความสุขใดเป็นกุศล

ความสุขใดเป็นอกุศลซึ่งสะสมมากๆ และกลายเป็นความทุกข์ภายหลังไม่เหมือน โสมนัสที่เกิดกับกุศลจิต ... การเคลือนไหวของร่างกาย วาจา ท่าทาง หากไม่เป็นไปด้วยกุศลจิต..ด้วยความยินดี พอใจเปรียบเหมือนการร่ายรำในความมืดคือโมหะ ... ปุถุชนทั่วไปมักเต็มไปด้วยอกุศล

โดยเฉพาะ ความติดข้องจึง ดุจการร่ายรำในความมืด ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 16 มิ.ย. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สภาพธรรมที่น่าปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจ ก็เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจความเป็นจริงดังกล่าวนี้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ เป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น สิ่งสำคัญ คือ ปัญญาที่เข้าใจความจริง เข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธรรมเพราะปัญญาเท่านั้น ที่จะค่อยๆ ละคลายความไม่รู้ ละคลายความติดข้องไปตามลำดับ จนกระทั่งสามารถดับได้อย่างเด็ดขาด เมื่อถึงความเป็นพระอรหันต์ เพราะฉะนั้น การติดข้องยินดีพอใจ ไม่ใช่ความผิดของสภาพธรรมที่น่าปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจ แต่เป็นเพราะได้สะสมโลภะ สะสมความติดข้อง มานานแสนนานในสังสารวัฏฏ์ ติดข้องแม้ในสิ่งที่เพียงปรากฏแล้วก็หมดไป นี่คือ ธรรมดาของบุคคลผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น การฟังพระธรรมศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน จึงเป็นที่พึ่งได้อย่างแท้จริง ทำให้เห็นโทษของอกุศล มีโลภะ เป็นต้น ยิ่งศึกษามาก (เข้าใจมาก) ก็ยิ่งดี เพราะศึกษาเท่าไรก็ยังไม่พอ จนกว่าจะบรรลุถึงความเป็นพระอรหันต์ ครับ

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 16 มิ.ย. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

กามคือความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส ... พระพุทธเจ้าทรงแสดงโทษของกามตาม ความเป็นจริงและแสดงคุณของกาม กามคุณไว้ว่า เพราะกามมีคุณคือเวทนาที่เป็น โสมนัส เหล่าสัตว์ทั้งหลายจึงติดข้อง หากกามไม่มีคุณคือความสุขแล้ว สัตว์ทั้งหลาย ก็คงไม่ติดข้องแน่นอน แต่ความสุขของกามมีน้อย เมื่อเทียบกับโทษของกามที่มี มากกว่ามาก

ดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเรื่องการดูการ่ายรำในแสงฟ้าแลบ ขณะที่ได้ ดูคือขณะที่สว่างจากแสงฟ้าแลบ เพียวพริบตาเดียวเท่านั้นก็กลับไปสู่ความมืด ความ สุขเพียวชั่วขณะจึงเล็กน้อยไม่ต่างกับการดูการร่ายรำชั่วขณะที่ฟ้าแลบ ก็แค่สนุกสนาน นิดเดียวเท่านั้น ความสุขในกามก็ฉันนั้น มีความยินดีไม่มาก แต่ทุกข์มากมาย ทั้งทุกข์ ใจและทุกข์กาย ต้องแสวงหาเพื่อตอบสนองความต้องการ ต้องทุกข์ใจเมื่อไม่ได้สิ่งนั้น หรือได้ในสิ่งที่ไม่พอใจ เป็นต้นและต้องทุกข์ทั้งเกิดในอบายเพราะเหตุแห่งกามคือการ ทำบาปต่างๆ อาศัยความติดข้อง เป็นเหตุ กามจึงมีความยินดีน้อย โทษมากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 16 มิ.ย. 2553

อุปมาโทษของกาม 7 อย่าง ดังนี้

1. กามเปรียบเหมือนร่างกระดูกคนฆ่าโคเลาะเอาเนื้อออกเหลือแต่กระดู โยนให้สุนัขที่หิวมาก สุนัขย่อมไม่ได้ความอิ่ม เลย ย่อมเหนื่อยเปล่าเพราะกระดูกนั้น กามก็ฉันนั้นครับ

2. กามเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อเหยี่ยวหรือแร้งตัวหนึ่งคาบชิ้นเนื้อไว้ นกตัวอื่นเห็นก็เข้ามาแย่ง ย่อมกัด ย่อมจิกให้นก ตัวที่คาบชิ้นเนื้อไว้ไม่ยอมปล่อยได้รับทุกข์ กามก็ฉันนั้น

3. กามเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า บุรุษคนหนึ่งถือคบเพลิงหญ้าเดินทวนลม เขาย่อมได้รับทุกข์เพราะอาศัยคบเพลิงหญ้า หากยังไม่ปล่อยคบเพลิงนั้น กามก็ฉันนั้น

4. กามเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง หลุมถ่านเพลิงร้อน มีทุกข์มากเมื่อบุคคลใดตกลงไป กามก็ฉันนั้นครับ

5. กามเปรียบเหมือนความฝัน บุคคลฝันเห็นไนสิ่งต่างๆ สวยงาม เมื่อตื่นขึ้นมาก็ไม่พบว่าเป็นจริงดังนั้น กามก็เช่นนั้น ชั่วคราวเมื่อผ่านไปก็ไมได้สาระอะไรจากกาม

6. กามเปรียบเหมือนของที่ยืมเขามา บุคคลหนึ่งนั่งบนรถที่เทียมเกวียนบรรทุกของ ของที่เขาบรรทุกคือของที่เขายืมคนอื่น มา เมื่อรถแล่นไปในที่ประชุมชน ใครจำได้ว่าเป็นของตนก็ขอของสิ่งนั้นกับบุคคลผู้ขับ เกวียน ฉํนใดกามก็เหมือนของที่ขอยืมเขามา ไม่มีอะไรเป็นของๆ ตน จำต้องจากต้อง พลัดพรากจากไปทั้งที่มีชีวิตและเมื่อคราวที่บุคคลนั้นตายไปก็ต้องจากทุกสิ่งไป

7. กามทั้งหลายเปรียบเหมือนผลไม้ บุรุษคนหนึ่งเห็นต้นไม้มีผลดกแต่ ไม่มีลูกหล่นลงมาจึงปีนขึ้นต้นไม้เก็บผลไม้และทาน ผลไม้อยู่บนต้นไม้อยู่ บุรุษคนที่สองไม่รู้จักวิธีปีนต้นไม้แต่อยากทานผลไม้ มีขวานอยู่ จึงใช้ขวานตัดที่โคนต้น ชายคนแรกย่อมเดือดร้อนเพราะต้นไม้นั้นโค่นลง กามก็ฉันนั้น เช่นกัน เพราะอาศัยกามเมื่อไม่ออกจากกามย่อมเดือดร้อนดังชายคนแรก

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 17 มิ.ย. 2553

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ชีวิตคือขณะจิต
วันที่ 17 มิ.ย. 2553

กามาวจรภูมิ หมายถึง ภูมิไหนบ้าง? ครับท่านวิทยากร ความปรารถนากามของสัตว์นรก อสุรกาย เปรต มีหรือไม่? สัตว์ดังกล่าวได้สมปรารถนาบ้างหรือไม่ได้สมปรารถนาเลย ครับ?

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
paderm
วันที่ 17 มิ.ย. 2553

กามาวจรภูมิ หมายถึง ภูมิไหนบ้าง?

กามาวจรภูมิที่หมายถึงภูมิที่สัตว์เกิด ก็มี อบายภูมิ 4 มีสัตว์นรก เปรต อสุรกายและสัตว์ เดรัจฉาน มนุษย์ภูมิและเทวดา 6 ชั้น รวมเป็น 11 ภูมิ

ความปรารถนากามของสัตว์นรกอสุรกาย เปรต มีหรือไม่? สัตว์ดังกล่าวได้สมปรารถนา บ้างหรือไม่ได้สมปรารถนาเลย

ความปรารถนากามคือโลภะที่ยินดีพอใจ ติดข้องในรูป เสียง กลิ่น ... เป็นต้น ผู้ที่ยัง ไม่ใช่พระอนาคามีและพระอรหันต์ยังมีความปรารถนากามที่เป็นโลภะที่ยินดี พอใจ ติด ข้องใน รูป เสียง ... เป็นต้น สัตว์นรก อสุรกาย เปรต ยังมีความปรารถนากามอยู่เป็น ธรรมดา เมื่ออยู่ในอบายภูมิย่อมไม่ได้สมปรารถนาเพราะคติวิบัติคือภพภูมิที่เกิดไม่ดี ย่อมห้ามให้กุศลวิบากคือห้ามไม่ให้ผลของกรรมดีให้ผล จึงยากสมปรารถนาในอบายภูมิ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
orawan.c
วันที่ 18 มิ.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 18 มิ.ย. 2553

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระคาถานี้ว่า

“เมื่อโลกสันนิวาส อันไฟลุกโพลงอยู่เป็นนิตย์,พวกเธอยังจะร่าเริง บันเทิงอะไรกันหนอ? เธอทั้งหลาย ถูกความมืดปกคลุมแล้ว ทำไมจึงไม่แสวง หาประทีป (คือปัญญา) เล่า?”

(จาก ... พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท)

ชีวิตของแต่ละบุคคลย่อมผ่านไปทีขณะๆ ตั้งแต่เด็กจนถึงขณะนี้ และก่อนจะถึงวัย นี้ ก็ไม่รู้ว่าถึงวัยนี้ในลักษณะใด สำหรับพรุ่งนี้ก็มืดสนิท ไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ถ้าได้ศึกษาพระธรรมที่พระผู้มีพระ ภาคเจ้าทรงแสดง ก็จะเริ่มเข้าใจทุกอย่างตรงตามความเป็นจริง รู้เหตุของความทุกข์ ความสุข จนกระทั่งสามารถที่จะดับเหตุของความทุกข์ ความสุขนั้นได้ตามพระธรรม นี่คือ ประโยชน์ของการฟังพระธรรม

เมื่อวานได้ผ่านไปแล้ว วันนี้กำลังดำเนินไปอยู่ สำหรับพรุ่งนี้ยังไม่มาถึง เพราะ ฉะนั้น ในแต่ละวันที่ดำเนินไปนั้น ไม่มีใครสามารถช่วยเราได้เลย นอกจาก ตัวเราจะสะสมการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา เป็นความเข้า ใจถูกเห็นถูกของตัวเราเอง เพิ่มพูนความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับ ถึงแม้ว่า วันหนึ่งๆ ชีวิตของเราจะเต็มไปด้วยกิเลสนานาประการ ถูกไฟคือกิเลสครอบงำและลุก โพลงอยู่ในจิตใจตลอดเวลา ทั้งความติดข้องยินดีพอใจ ความโกรธขุ่นเคืองใจ ความไม่พอใจ และกิเลสตัวสำคัญ คือ อวิชชา ความไม่รู้ เป็นต้น ซึ่งเป็นปกติของผู้ ที่ยังมีกิเลสอยู่ ก็ตาม แต่สิ่งที่ควรมีเป็นอย่างยิ่งนั้น ก็คือ ความมั่นคง และมีศรัทธา ที่จะฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาต่อไป เพื่อขัดเกลากิเลสของตน เอง เพื่อละคลายความมืด คือ อวิชชา ไปทีละเล็กทีละน้อย ด้วยแสงสว่างแห่ง ปัญญาที่ค่อยๆ เจริญขึ้น

การฟังพระธรรมบ่อยๆ เนืองๆ แล้วค่อยๆ เข้าใจขึ้นจึงเปรียบเสมือนค่อยๆ มีแสงสว่าง ส่องใน ที่มืด จนกว่า วิชชา คือปัญญาจะเกิดขึ้น สามารถกำจัดความมืด คือ อวิชชา ให้หมดสิ้นไปได้, ที่สำคัญที่สุด ต้องเริ่มจากการฟัง การศึกษาพระธรรม เป็นปกติ ในชีวิตประจำวัน ก้าวต่อไปอย่างไม่ประมาท โดยที่ไม่ขาดการฟังพระธรรม นั่นเอง.

(เป็นข้อความของมูลนิธิฯที่ลงใน www.our-teacher.com)

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
paew_int
วันที่ 21 มิ.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
Jans
วันที่ 30 มิ.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ