พิจารณาธรรมอย่างไรจึงจะถูกต้อง
คำถามที่1 เมื่อมีปัจจัยให้เห็นเกิดขึ้น สิ่งที่ปรากฏเป็นรูป การรู้ลักษณะสภาพธรรมะของสิ่งที่ปรากฏเป็นนามถูกต้องไหมค่ะ เมื่อพิจารณาสติปัฎฐาน คือ การรู้รูปและนามที่เกิดดับใช่หรือไม่อย่างไรค่ะ
คำถามที่2 จมูกรู้กลิ่นเพียงอย่างเดียวหรือ แล้วการรับรู้ลมหายใจว่าร้อน เย็น หายใจยาว สั้น เป็นการรับรู้ทางไหนค่ะขอบพระคุณค่ะ
คำถามที่ 1
ต้องเข้าใจก่อนครับว่าสติปัฏฐานไม่ใช่การนึกคิดพิจารณาในเรื่องราวของสภาพธรรม
เช่น พิจารณาในขณะนี้ว่า เห็นเป็นนาม สิ่งที่ปรากฎทางตา เป็นรูป ที่คิดพิจารณา
อย่างนี้ เป็นการพิจารณาถูกในขั้นนึกคิดแต่ไม่ใช่เป็นขั้นสติปัฏฐาน สติปัฏฐานคือการรู้
ลักษณะของสภาพธรรม รู้ตัวลักษณะ ขณะนี้มีเห็น ไม่ต้องบอกว่าเห็นเป็นนามธรรม แต่
เห็นมีลักษณะให้รู้ ขณะที่รู้ตัวลักษณะ ขณะนั้นรู้ว่าเป็นธรรมโดยไม่ต้องนึกคิด จึงเป็น
สติปัฏฐานครับ ส่วนการรู้การเกิดดับเป็นปัญญาระดับสูงที่เป็นวิปัสสนาญาน ปัญญาที่
เป็สติปัฏฐานจึงต้องรู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ยังไม่ใช่
การรู้การเกิดดับครับ
คำถามที่ 2 จมูกกระทบกลิ่น จมูกเป็นรูป ฆานปสาทรูป รูปไม่รู้อะไร จมูกจึงไมได้ทำ
หน้าที่รู้กลิ่น แต่ทำหน้าที่กระทบกลิ่น การรู้กลิ่นเป็นหน้าที่ของจิต คือฆานวิญญาณจิต
การรู้เย็น ร้อน เป็นหน้าที่ของจิตคือกายวิญญาณจิตแต่กายปสาทรูปทำหน้าที่กระทบ
กับเย็น ร้อนครับ
การพิจารณาธรรมต้องเป็นปกติที่กำลังเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ จึงต้องอบรมปัญญา สังเกต สำเนียก รู้ลักษณะของ
นามธรรม และรูปธรรมจริงๆ ความเข้าใจในลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฏไม่ว่า
จะเป็นนามธรรมหรือรูปธรรมที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นมั่นคงขึ้นจะเป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิด
แต่ก็ต้องอบรมกันอีกยาวนานมาก... แต่เมื่อมีความเข้าใจถูกเห็นถูกในสภาพธรรมสัก
วันหนึ่งสติย่อมเกิดได้ตามสมควรแก่เหตุ...ขออนุโมทนาค่ะ...
ขณะที่ตั้งใจฟังธรรมเป็นกุศลแต่ไม่เป็นสติปัฏฐาน ขอความกรุณาช่วยอธิบายให้กระจ่างด้วยค่ะ และจะเกิดสลับกันได้หรือไม่อย่างไรค่ะขออนุโมทนาในทุกคำตอบค่ะ
เรียนความเห็นที่ 7
สติปัฏฐานคือสติที่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพนั่นคือมีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ ขณะที่ฟังธรรม เกิดความเข้าใจขั้นการฟังเป็นกุศล แต่ขณะนั้นไม่ไ่ด้ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมไม่ไ่ด้ระลึกรู้ตัวปรมัตถธรรม ขณะนั้นจึงไม่ใช่สติปัฏฐาน เป็นแต่เพียงสติและปัญญาขั้นการฟัง สติและปัญญาจึงมีหลายระดับทั้งขั้นการฟัง ขั้นการคิดนึกและขั้นสติปัฏฐานที่ต้องมีตัวปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ให้สติระลึกรู้ในลักษณะของสภาพธรรมครับ
เรียนความเห็นที่ ๖
สภาพรู้ทางทวารตา (จักขุทวารวิถีจิต) อาศัยตา ซึ่งก็คือ จักขุปสาท ขณะนั้นจักขุ-
ปสาทเป็นจักขุทวาร คือ เป็นทางให้จิตเกิดขึ้น รู้สิ่งที่ปรากฏทางตา ได้แก่ สีสันต่างๆ
แต่ถ้ากล่าวถึงที่เกิด มีเพียงจิตเห็นเท่านั้นที่อาศัยเกิดที่จักขุปสาท จิตอื่นๆ ที่เกิดก่อน
และหลังจิตเห็นทางทวารตานั้น เกิดที่หทยวัตถุทั้งหมดครับ
เรียนความเห็นที่ ๗
ควรทราบว่ากุศลที่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย มีหลายขั้น ขั้นการฟัง เป็นปัญญาที่
เริ่มเข้าใจเรื่องราวความจริงของสิ่งที่มีจริง ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงแสดง ขณะที่รู้เรื่อง
แล้วเข้าใจเรื่องถูกต้องตรงตามความจริง ขณะนั้นเป็นปัญญาขั้นการฟัง ยังไม่ถึงขั้นที่ระลึกรู้ตัวจริงของสภาพธรรมที่ปรากฏ ต่อเมื่อปัญญาจากขั้นการฟังเจริญมากขึ้น จึง
จะเป็นเหตุปัจจัยให้สติระลึก แล้วปัญญาศึกษาลักษณะที่มีจริงที่กำลังปรากฏ ปัญญา
สองขั้นนี้ เป็นคนละขั้นกัน แต่ล้วนเกื้อกูลกันทั้งหมด ถ้าไม่มีปัญญาขั้นการฟัง ผู้เป็นสาวกย่อมไม่มีปัจจัยให้สติซึ่งเป็นสติปัฏฐานเกิดได้ เพราะฉะนั้น ควรให้ความสำคัญกับ
ปัญญาความเข้าใจในขั้นการฟัง ซึ่งจะเป็นเหตุให้มีความเห็นถูก สะสมปรุงแต่งจนเป็น
ความเข้าใจที่มั่นคงว่า ขณะนี้เป็นธรรมะทั้งหมด ไม่มีเรา เมื่อเข้าใจจริงๆ ว่าเป็นธรรม
ธรรมมีอยู่ทุกๆ ขณะ แม้แต่ในขณะนี้ก็มีธรรม ก็ย่อมจะเป็นปัจจัยให้เกิดการพิจารณาไตร่ตรองในธรรมที่ได้ฟังมา และเมื่อปัญญาที่อบรมแล้วสมบูรณ์ขึ้นก็ย่อมจะเป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิดได้ แม้ในขณะที่กำลังฟังครับ
เมื่อฟังแล้ว เกิดมีข้อสงสัยมีคำถาม ควรหาคำตอบเพื่อให้ได้ความกระจ่างและเข้าใจอย่างถูกต้อง หรือ ฟังต่อไปเรื่อยๆ แล้วจะได้คำตอบหรือเข้าใจได้เอง2 ประการนี้แท้ที่จริงควรเป็นอย่างไรค่ะ
เรียนความเห็นที่ 11
การฟังเป็นความดีทำให้เกิดปัญญา แต่ไม่ได้หมายความว่าเมื่อฟังแล้วจะเข้าใจทุกครั้ง
อาจเกิดข้อสงสัย และเมื่อเกิดข้อสงสัยแล้ว ฟังต่อไปก็ไมได้หมายความว่าจะต้อง
เข้าใจถูกเมื่อฟังต่อไป พระธรรมเป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้ง การเข้าใจเอาเอง เข้าใจผิด
เอาเองเกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นการสนทนา การสอบถามจึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้
เข้าใจถูกต้องขึ้น สิ่งที่เราคิดว่าเข้าใจแล้ว แต่อาจเข้าใจผิดก็ได้ครับ ถ้าไม่มีการ
สนทนาและการสอบถาม แม้ในสมัยพุทธกาล พระสาวกทั้งหลาย มีพระสารีบุตรผู้เลิศ
ด้วยปัญญาก็ยังทูลถาม พระพุทธเจ้าเพื่อความละเอียดเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง จะ
กล่าวไปใยถึงเราผู้มีความไม่รู้อยู่มากมาย จึงควรที่จะสอบถาม สนทนาเพื่อความเข้าใจ
ถูกครับ ตามกาลและโอกาส ตามเหตุปัจจัย เพราะความเข้าใจผิดคิดว่าเข้าใจแล้วเกิด
ขึ้นได้เสมอ ขออนุโมทนาครับ
ถ้าเราเห็นว่า ในชีวิตวันหนึ่งๆ จะพอมีหนทางใดก็ตาม ที่จะเป็นโอกาสให้ปัญญาเจริญขึ้น เข้าใจธรรมะถูกต้อง ตรงตามพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงยิ่งขึ้น ก็ควรจะแสวงหาโอกาสนั้นๆ เท่าที่จะพึงมีได้ครับ ฟัง อ่าน สอบถาม หรือสนทนาธรรม ก็ได้ ถ้าธรรมะนั้นเป็นธรรมะที่ไม่คลาดเคลื่อนไปจากคำสอนของพระพุทธองค์
ถ้ามีความรู้ถูก ความเห็นถูกใน "ธรรมะ" ว่าเป็น "ธรรมะ" เพิ่มขึ้น ความสงสัยที่มี
มาก ก็ย่อมจะบรรเทาลงได้ แต่เมื่อยังไม่ได้ดับวิจิกิจฉานุสัย ความสงสัยในธรรมะที่ยังไม่กระจ่างก็ย่อมมีปัจจัยเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา ควรเข้าใจว่าความสงสัยก็เป็นธรรมะอย่างหนึ่ง แต่เป็นธรรมะฝ่ายอกุศล เพราะไม่รู้จึงสงสัย ความสงสัยไม่มีประโยชน์อะไรสงสัยไปก็ไม่รู้เพราะเพียงสงสัย แต่วิชชาคือความรู้ ถ้าเป็นวิชชาย่อมไม่สงสัยในสิ่งที่ได้เข้าใจถูกต้อง และจะสามารถเข้าใจถูกยิ่งขึ้นเมื่อเข้าใจธรรมที่ได้ฟัง อ่าน สอบถามสนทนา มากขึ้น จนเป็นปัจจัยปรุงแต่งให้มีการระลึกรู้ลักษณะจริงๆ ของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ครับ