ติดจนไม่สมควร
ได้ฟังท่านอาจารย์กล่าวว่า ทุกคนมีโลภะ มีความติด แต่ก็ไม่ควรจะติดมากจนไม่สมควร
มากจนไม่สมควร ตรงจุดนี้ ขอช่วยอธิบายด้วยครับ
เข้าใจว่าบางคนติดมากจนต้องทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เช่น การขโมย เป็นต้น
อย่างนี้เรียกได้ว่า ติดมากจนไม่สมควร ครับ
ถ้าไม่ถึงขั้นล่วงอกุศลกรรมบถ แต่ติดในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ มากจนไม่สมควร
มากจนไม่สมควร แบบนี้พอจะเป็นไปได้หรือไม่ครับ กรุณาช่วยอธิบายด้วยครับ
มากจนไม่สมควร..........สมควรที่จะพอ แต่ไม่พอ........เป็นไปได้มั้ยค่ะ?
ไม่ขอเรียกว่า ช่วยอธิบายเพิ่มนะคะ (เพราะปัญญาน้อย)
...............................
ขออนุญาตร่วมสนทนาธรรม ตามความเข้าใจ
เรายังอยู่ในภพที่เป็นไปในกาม ก็ต้องคลุกคลีกับสิ่งเหล่านี้ทุกทาง
ในชีวิตประจำวัน
แต่ศึกษาพระธรรม เพื่อรู้ว่าสิ่งใดควรรู้ สิ่งใดควรละ
เบาลงได้เมื่อเข้าใจ แม้ละไม่ได้ ก็ให้เข้าใจว่า
แม้ติดแค่ไหน วันหนึ่งก็ต้องจากไป
ขึ้นอยู่กับอัธยาศัย การพิจารณา+เข้าใจ ของแต่ละท่าน
................................
อนุโมทนาค่ะ
สมควรของแต่ละคนไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้น สมควรโดยธรรม คือ อย่างไรครับ
" แม้ติดแค่ไหน วันหนึ่งก็ต้องจากไป " ...ขออนุโมทนาครับ
ได้อ่านพบข้อความหนึ่ง ท่านอาจารย์กล่าวถึงความสันโดษไว้อย่างน่าพิจารณา คิดว่าจะเกี่ยวกับความสมควรโดยธรรมอยู่ไม่มากก็น้อยนะครับ
ท่านอาจารย์ แล้วจะเอาอะไรเป็นเครื่องวัดว่าสันโดษหรือเปล่า เพราะว่ามีทั้งเพศบรรพชิต และ คฤหัสถ์ สิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจหรือในเมื่อยังมีกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น การที่จะให้ใครที่มีกิเลส ถึงความที่ไม่มีกิเลสเลย เป็นไปได้ไหม สำหรับผู้ที่ไม่มีปัญญาและกิเลสที่มีอยู่ จากที่มีมากไปถึงความไม่มีเลย เป็นไปได้ไหม เพราะฉะนั้น คำสอนของพระผู้มีพระภาคก็เป็นไปตามลำดับขั้น ถึงแม้ว่ายังมีกิเลสอยู่ เพราะยังเป็นผู้ที่ยังไม่ได้ดับกิเลส แต่กิเลสนั้น ถึงกับทำให้คนอื่นเดือดร้อนหรือตัวเองเดือดร้อนหรือเปล่าเพราะฉะนั้น ปัญญา นั่นเองค่ะ จะทำให้รู้ว่าขณะนั้นน่ะ สันโดษ หรือ ไม่สันโดษจะเอาอะไรเป็นเครื่องวัด อย่างพระภิกษุท่านมีจีวร ๓ ผืนใช่ไหมคะ ถ้ามากกว่านั้นสันโดษไหมคะ และ (ถ้าหาก) มีคนถวายจีวรให้มากๆ (ท่าน) นำจีวรที่ได้รับไปเป็นประโยชน์ (แก่ภิกษุรูปอื่นๆ ) เพราะท่านจะเก็บไว้เป็นของท่านเองก็ไม่ได้นั่นคือ ชีวิตของบรรพชิต แล้วชีวิตของคฤหัสถ์ ก็แสดงให้เห็นถึงความต่างกันแล้วใช่ไหมคะ คฤหัสถ์ที่จะสันโดษอย่างบรรพชิตเป็นไปได้ไหม จะมีใครพยายามจะมีเสื้อผ้าสัก ๓ ตัว ได้ไหมคะ เป็นไปไม่ได้เลยใช่ไหมคะ มีเท่าไรก็ยินดีในสิ่งที่มี เวลาที่เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่เป็นที่ต้องการที่จะได้ ถ้าไม่กระทำทุจริต ขณะนั้นก็มีความสันโดษ พอใจในสิ่งที่มี พอใจในสิ่งที่ตนสามารถจะแสวงหามาได้ โดยไม่เป็นโทษ ก็ทำให้ชีวิตนี้ สบายขึ้น ไม่เดือดร้อนเพราะความต้องการถึงกับจะกระทำทุจริตต่างๆ เพื่อที่จะได้มา เพราะฉะนั้น ก็จะต้องมีปัญญาและรู้ถึงสภาพธรรมที่สะสมตามขั้นด้วย เพราะฉะนั้น จึงไม่กระทำทุจริตกรรมก็เป็นระดับของความสันโดษขั้นหนึ่ง แต่ใครจะสันโดษมากกว่านั้นอีกก็ได้ตามกำลังของปัญญา
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ควรเป็นไปในอำนาจของ
กิเลสที่เป็นไปแล้วในภายใน ด้วยว่ากิเลสเมื่อเจริญขึ้น (คือมีมากขึ้น,เพิ่ม
ขึ้น) ย่อมให้ถึงความพินาศอย่างมาก เหมือนปัจจามิตร (ศัตรู) ”
(ข้อความตอนหนึ่งจาก ... ชาตกัฏฐกถา อรรถกถาขุททกนิกาย ชาดก กุมภการ
ชาดก) ติดข้องเป็นโลภะ..ติดข้องมากๆ ..ทำให้เกิดโทสะเพราะความหวงแหนมากจนล่วงเป็น
กรรมบถได้..จึงไม่ควรประมาทเพราะการสะสมทุกสิ่งเริ่มจากน้อยๆ ไปสู่มากๆ
สนทนาธรรม : ความคิดเห็นที่ 7 ค่ะ
" แม้ติดแค่ไหน วันหนึ่งก็ต้องจากไป"
ตามอัธยาศัยตนเอง คือ เรายังดำรงชีวิต ตามหน้าที่ บทบาท ในชีวิตคฤหัสถ์
ยังดำเนินชีวิตตามปกติ (แต่ก็ให้มีความพอดี สอดคล้องในการประพฤติตามหลักธรรมคำสอน ตามลำดับ)
เตือนตนว่า ทรัพย์ภายนอกทั้งหลาย ที่มีอยู่ก็เป็นเพียงให้อาศัย ให้พึ่ง ตามครรลอง
(เหมือนจะเลือกได้ แต่เลือกไม่ได้)
วันหนึ่งก็ต้องละไป พรากไป มีแต่ทรัพย์ภายในเท่านั้นที่จะสะสมติดตามเราไปได้
..แม้ติดแค่ไหน วันหนึ่งก็ต้องจากไป..
(ให้รู้ว่าติดแล้ว แต่ เมื่อถึงเวลา ก็ควรแกะออกไม่ยากเท่าใดนัก โดยเฉพาะตัวตนนี้)
สิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความทำลาย เป็นธรรมดา
...........................
ด้วยความเคารพในธรรม สมควรแก่ธรรมค่ะ
และผู้อื่น แต่ก็เกิดแล้ว ดับแล้ว เป็นธรรมที่พึงพิจารณาทำความเข้าใจในโอกาสต่อไป