ความบริสุทธิ์ ๙ อย่าง
[เล่มที่ 15] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 443
[๔๕๖] ธรรม ๙ อย่าง ควรเจริญเป็นไฉน ได้แก่ องค์เป็นที่ตั้งแห่งความบริสุทธิ์ ๙ อย่าง คือ
ศีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีลเป็นองค์ เป็นที่ตั้งแห่งความบริสุทธิ์
จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิต
ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ
กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณ เป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ
ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดแห่งญาณทัสสนะ
ปัญญาวิสุทธิ ความหมดจดแห่งปัญญา
วิมุตติวิสุทธิ ความหมดจดแห่งความหลุดพ้น
เป็นองค์ เป็นที่ตั้งแห่งความบริสุทธิ์. ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ ควรเจริญ
[เล่มที่ 16] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 471
บทว่า สีลวิสุทฺธิ ความว่า ปาริสุทธิศีล ๔ สามารถที่จะให้สัตว์ถึงความหมดจดได้.
บทว่า ปาริสุทฺธิปธานิยงฺคํ ความว่า องค์อันเป็นประธานแห่งภาวะความบริสุทธิ์.
บทว่า จิตฺตวิสุทฺธิ ความว่า สมาบัติอันช่ำชอง ๘ อย่างเป็นปทัฏฐานแห่ง วิปัสสนา.
บทว่า ทิฏฺฐิวิสุทฺธิ ความว่า การเห็นนามรูปพร้อมทั้งปัจจัย.
บทว่า กงฺขาวิตรณวิสุทฺธิ ได้แก่ความรู้ในปัจจยาการ. จริงอยู่ เมื่อบุคคลเห็นว่า ธรรมทั้งหลาย ย่อมเป็นไป ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย แม้ในกาลทั้ง ๓ นั่นเอง ดังนี้ ย่อมข้ามความสงสัยเสียได้.
บทว่า มคฺคามคฺคญาณ ทสฺสนวิสุทฺธิ ได้แก่ ความรู้ว่า ทางมิใช่ทางอย่างนี้ว่า อุปกิเลสมีแสงสว่าง เป็นต้น มิใช่ทาง อุทยัพยญาณ อันดำเนินไปสู่วิถี เป็นหนทาง (บรรลุ) ดังนี้
บทว่า ปฏิปทาญาณทสฺสนวิสุทฺธิ ความว่า วิปัสสนาอันเป็นวุฏฐาน-คามินี ท่านกล่าวไว้ในรถวินีตวัตถุ วิปัสสนาอย่างอ่อน ท่านกล่าวไว้ในที่นี้.
บทว่า ญาณทสฺสนวิสุทฺธิ ความว่า ท่านกล่าวมรรคไว้ในรถวินีตวัตถุกล่าววุฏฐานคามินีวิปัสสนาไว้ในที่นี้
ก็วิสุทธิแม้ทั้ง ๗ เหล่านั้นท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรค โดยพิสดารแล้ว
ที่มา ... สังคีติสูตร เรื่อง การสังคายนาหลักธรรม