ใคร ... ฉลาดในธรรม

 
JANYAPINPARD
วันที่  23 มิ.ย. 2553
หมายเลข  16566
อ่าน  2,116

ใครๆ ก็ปรารถนาที่จะเป็นคนฉลาด ... โดยเฉพาะผู้ที่ศึกษาธรรมะสนใจมากคำที่ว่า ฉลาดในธรรม และสงสัยว่า ... ใครฉลาดในธรรม ... ใครไม่ฉลาดในธรรม..อย่างไรเรียกว่า ฉลาด ... และอย่างไรเรียกว่าไม่ฉลาดคะ

เชิญคลิกอ่าน ...

ฉลาดในธรรมทั้งปวง

ความรู้ความฉลาดในธรรมที่เกื้อกูลให้ฌานจิตเกิดขึ้น

นรชนเหล่าใด ฉลาดในธรรม ย่อมอ่อนน้อมผู้ใหญ่ [ปฐมอุรุเวลสูตร]


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 23 มิ.ย. 2553

ขอเพิ่มเติมคุณจรรยา ดังนี้

คำว่า "ฉลาดในธรรม" ธรรมในที่นี้หมายถึงสิ่งที่มีจริงๆ ได้แก่ ขันธ์ธาตุ อายตนะ สัจจะ ปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น ที่กำลังปรากฏในขณะนี้แต่ในบางแห่ง ที่มีคำว่า ฉลาดในอรรถ ฉลาดในธรรม ... ธรรมในที่นั้นหมายถึงเหตุ คือมีความหมายแคบกว่า ในบางแห่งกล่าวถึงฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ธรรมในที่นี้หมายถึงโพธิปักขิยธรรม ... ดังนั้นโดยความหมายกว้างๆ ฉลาดในธรรม ควรจะเป็นสิ่งที่มีจริง ผู้ที่รู้ตามเป็นจริงซึ่งธรรมที่กำลังปรากฏ ชื่อว่าฉลาดในธรรม ส่วนผู้ที่ไม่รู้ไม่เข้าใจในขันธ์เป็นต้นที่กำลังปรากฏฎ ชื่อว่าผู้ไม่ฉลาดในธรรม ... สมดังข้อความในอรรถกถาทั้งหลายว่า ...

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 113

ท่านธรรมเสนาบดีพระสารีบุตรเถระสรรเสริญไว้ อย่างนี้ว่า ท่านพระอานนท์ เป็นผู้ฉลาดในอรรถฉลาดในธรรม ฉลาดในพยัญชนะ ฉลาดในนิรุตติ ฉลาดในคำเบื้องต้นและคำเบื้องปลาย ดังนี้ ...

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 137

กุสโล แปลว่า ฉลาด คือ ฉลาดในธรรมมีขันธ์เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 205

ชนทั้งหลายเป็นเช่นไร คือเป็นผู้ไม่ฉลาดในธรรม. บทว่า ธมฺมสฺส ได้แก่ธรรมคือ เบญจขันธ์ หรือสัจธรรม ๔. บทว่า อโกวิทา ได้แก่ผู้ไม่ฉลาดในธรรม คือเป็นปุถุชนอันธพาล ...

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 588

บทว่า อริยธมฺเม อโกวิเท ความว่า ชนเหล่าใดเว้นการทำไว้ในใจ ซึ่งการเรียนและการซักถาม ในธรรมทั้งหลายมีขันธ์และอายตนะเป็นต้น ทั่วทุกอย่างชื่อว่าเป็นผู้ไม่ฉลาดในธรรม ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
nongpoo52
วันที่ 23 มิ.ย. 2553

สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้ปุถุชนทั่วไปเกิดปัญญารู้แจ้งในอริยะสัจจะธรรมคือ "ศรัทธา" ซึ่งแต่ละบุคคลสะสมมาไม่เท่ากัน จึงเป็นที่น่าสงสารอย่างยิ่งที่ปุถุชนมืด และปุถุชนอันธพาลในปัจจุบันไม่ค่อยจะสนใจในอริยทรัพย์ที่มีมาสองพันกว่าปีแล้ว ผม และผู้สนใจธรรมะจากการบรรยายธรรมแห่งนี้ จึงโชคดีมาก

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 23 มิ.ย. 2553

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 352

สัตว์โลกทั้งปวง เป็นผู้พอใจในการเสพกาม ดูก่อนแม่เสคคุ เจ้า เป็นผู้ไม่ฉลาดในธรรมของชาวบ้าน ความที่เจ้าเป็นนางกุมารี ถูกบิดาจับมือในป่าชัฏ ร้องไห้อยู่ในวันนี้เป็นธรรมดา. ในบทเหล่านั้น บทว่า สพฺโพ โลโก อตฺตมโน อโหสิความว่า แน่ะแม่หนู สัตว์โลกทั้งสิ้นพอใจในการเสพกามนี้.บทว่า เสคฺคุ เป็นชื่อของหญิง นั้น. ดูก่อนแม่เสคคุ เจ้าไม่ฉลาด ในธรรมของชาวบ้าน. ท่านอธิบายว่า เจ้าไม่ ฉลาดในธรรมของชาวบ้าน คือ ในธรรมของคนถ่อยนี้.

ฉลาดในธรรมของชาวบ้านความหมายแค่ไหนคะ

คำว่าธรรมหมายถึงสิ่งที่มีอยู่จริงเท่านั้นหรือไม่

ธรรมในที่นี้คือสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง..หรือหมายถึงสิ่งที่มีอยู่จริงคือกิเลส

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
choonj
วันที่ 23 มิ.ย. 2553

พระพุทธเจ้าตรัสกับทานอชิตะว่า

"ภิกษุไม่ควรกำหนัดยินดีในกามทั้งหลาย มีใจไม่ขุ่นมัว ฉลาดในธรรมทั้งปวง มีสติ พึ่งเว็นรอบ"

เมื่อจะวิจัยก็ต้องดังต่อไปนี้

บุคลพึงรักษาจิต โดยปกติศึกษาธรรม ๒ อย่าง คือ โลภะและโทสะ พึงรักษาจิตจากโลภะทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด พึงรักษาจิตจากโทสะทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งความกลัดกลุ้ม พระพุทธเจ้าเมื่อจะทรงห้าม ความอยากด้วยราคะ ความหมกมุ่นด้วยโมหะที่เกิดพร้อมโลภะ ความปรารถนาในราคะ ความรักด้วยตัณหา จึงตรัสว่า "ภิษุไม่ควรกำหนัดยินดีในกามทั้งหลาย"

กิเลศที่กลุ้มรุมจิต จริงอย่างนั้น ความเพียร ๔ อย่าง เพื่อความไม่เกิดขึ้นของอกุศลธรรมอันลามก เพื่อละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อความเกิดขึ้นของกุศลธรรม เพื่อรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว วิริยินทรีที่มีกำลัง ย่อมไม่เป็นที่อาศัยของอกุศลธรรม เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า "มีใจไม่ขุ่นมัว

เมื่ออินทรีทั้งหลายเจริญอยู่ ปริญญาของผู้ชำนานในนามรูปย่อมเกิด อภิญญา ญาณ รู้ ธรรมนีเป็นกุศล นี้อกุศล ธรรมนี้ดำ นี้ขาว นี้ควรเสพ นี้ไม่ควรเสพ นี้พึงละ นี้พึงเจริญ นี้พึงกระทำให้แจ้ง ฯลฯ เป็นผู้ฉลาดในอรรถเป็นผู้ฉลาดในธรรม พระพุทธเจ้าจึงครัสว่า "ฉลาดในธรรมทั้งปวง"

พระอเสกขะประกอบด้วยญาณอันเป็นไปกับสติ ที่เป็นไปในอิริยาบถ มีสติสัมปชัญญะ ก้าวไปข้างหน้า ถอยหลัง แลดู คู้ เยีอด ดื่ม กิน ยืน เดิน นั่ง นอน ฯลฯ เพราะความสิ้นไปแห่ง ราคะ โทสะ โมหะ พระพุทธจึงตรัสว่า "มีสติ พึงเว็นรอบ"

จะฉลาดในธรรมนั้นไม่ใช่ง่ายนะครับ อินทรีฯมีกำลังหรือยัง

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 24 มิ.ย. 2553

ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่านเรียกว่าเป็นผู้ฉลาดในธรรม เช่น ในบทเมตตา กิจอันใด อันพระอริยบุคคล บรรลุบทอันสงบแล้ว กุลบุตรผู้ฉลาดพึงทำ เช่น ไม่ทำชั่ว ทำดี มีเมตตากับทุกคน มีปัญญาเป็นที่พึง ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 28 มิ.ย. 2553

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 16566 ความคิดเห็นที่ 3 โดย JANYAPINPARD

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 352

สัตว์โลกทั้งปวง เป็นผู้พอใจในการเสพกาม ดูก่อนแม่เสคคุ เจ้า เป็นผู้ไม่ฉลาดในธรรมของชาวบ้าน ความที่เจ้าเป็นนางกุมารี ถูกบิดาจับมือในป่าชัฏ ร้องไห้อยู่ในวันนี้เป็นธรรมดา. ในบทเหล่านั้น บทว่า สพฺโพ โลโก อตฺตมโน อโหสิความว่า แน่ะแม่หนู สัตว์โลกทั้งสิ้นพอใจในการเสพกามนี้.บทว่า เสคฺคุ เป็นชื่อของหญิง นั้น. ดูก่อนแม่เสคคุ เจ้าไม่ฉลาด ในธรรมของชาวบ้าน. ท่านอธิบายว่า เจ้าไม่ ฉลาดในธรรมของชาวบ้าน คือ ในธรรมของคนถ่อยนี้.

ฉลาดในธรรมของชาวบ้านความหมายแค่ไหนคะ คำว่าธรรมหมายถึงสิ่งที่มีอยู่จริงเท่านั้นหรือไม่ ธรรมในที่นี้คือสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง..หรือหมายถึงสิ่งที่มีอยู่จริงคือกิเลส

ฉลาดในธรรมของชาวบ้านความหมายแค่ไหนคะ

ธรรมของชาวบ้านคือการเสพเมถุนธรรม หรือความพอใจยินดีในรูป เสียง ... ..ดังนั้น ฉลาดในธรรมของชาวบ้านในชาดกนี้ จึงหมายถึงการรู้ถึงความประพฤติของชาวบ้าน หรือคนทั่วไปที่ประพฤติอสัทธรรมคือเสพเมถุนธรรม เป็นต้น ดังนั้นธรรมของชาวบ้าน จึงไม่พ้นไปจากโลภะ ความยินดีพอใจที่เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงครับ

คำว่าธรรมหมายถึงสิ่งที่มีอยู่จริงเท่านั้นหรือไม่

ธรรมในที่นี้คือสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง..หรือหมายถึงสิ่งที่มีอยู่จริงคือกิเลส ธรรมมีหลายความหมาย แล้วแต่ว่าในพระสูตรไหน ส่วนใดของพระไตรปิฎกจะ มุ่งกล่าวในความหมายใดก็ได้ครับ ไม่ได้จำกัดตายตัวว่าจะต้องเป็นความหมาย นั้น ความหมายนี้

เชิญคลิกอ่านที่นี่ ... ศัพท์ว่า ธัมมะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 1 ก.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ