ความเยื่อใย
ความเยื่อใย เป็นชื่อหนึ่งของโลภะ หรือ ตัณหา ในชีวิตประจำวันที่เห็น ได้ยิน ... และคิดนึก ก็ติดข้องทุกทีเห็นทีไรก็เกิดเยื่อใย ทั้งๆ ที่ดับไปแล้ว สิ่งที่ดับไปแล้วแท้จริงไม่มีอะไรเลยนอกจากธรรมะ แต่ก็ยังคิดถึงอยู่ มีเยื่อใยอยู่ เยื่อใยในกาย เยื่อใยในนามธรรมทั้งหมดในกาย เยื่อใยในจิตทุกๆ ขณะที่ที่เกิดขึ้น จิตเป็นธรรมะที่เกิดพร้อมเจตสิกแต่ไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น เยื่อใยก็ คือจิตที่เป็นเรา จิตปรากฏจิตนั้นก็เป็นเรา เจตสิกปรากฏความขุ่นเคือง สุขใจก็เป็นเรา จนกว่าจะเห็นความเกิดดับของจิตจึงจะหมดเยื่อใย ความเยื่อใยจะดับไปต้องตามลำดับของปัญญา เยื่อใยขั้นแรกที่จะดับคือ เยื่อใยด้วยความเห็นผิดในสภาพธรรมว่าเป็นเรา จนกว่าจะหมดเยื่อใยในสภาพธรรมแต่ละอย่างว่าเป็นธรรมะ แต่ละอย่างที่เกิดดับไม่ใช่เรา
[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๓๙๐
(จาก สูจิโลมสูตร)
อกุศลวิตกเป็นอันมาก เกิดแต่ความเยื่อใยคือตัณหา เกิดขึ้นในตนแล้วแผ่ซ่าน ไปในวัตถุกามทั้งหลาย เหมือนย่านไทร เกิดแต่ลำต้นไทรแล้วปกคลุมป่าไป ฉะนั้น.
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ...
ขออนุโมทนาค่ะ
อวิชชาและตัณหาทำให้เกิดในภพภูมิต่างๆ ทำให้สังสารวัฏฏ์หมุนไป เช่น บางคนทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล เพราะอยากไปเกิดในสวรรค์ เป็นต้นค่ะ
เยื่อใยด้วยโลภะนี่ยุ่งเหยิง พัลวัน ถ้ายังมีความไม่รู้ ก็ยังจะต้องติดแน่น แล้วก็อีรุงตุงนังอย่างนี้ต่อไปอีกเรื่อยๆ ถ้าไม่มีปัญญา ย่อมแก้ผิดปม คลายผิดที่ ถ้ายิ่งมีตัวตน สางด้วยความเห็นผิดว่ามีเราจะทำ หวังแต่จะให้หลุดเร็วๆ ปมก็ยิ่งจะแน่น ยิ่งผิดไปเรื่อยๆ ครับ
เพราะไม่คุ้นเคยกับสิ่งที่เป็นจริงที่กำลังเพียงปรากฏเท่านั้น แต่คุ้นเคยกับสิ่งที่ปรากฏด้วยความจำ ตัณหาก็ยึดแล้ว...เยื่อใยในสิ่งที่ดับไปแล้วเพราะยังมีความไม่รู้ คืออวิชชาอยู่มาก...
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ...
เยือใย..หมายถึง..อาลัยเป็นตัณหาที่เกิดจากความติดข้อง อาลัย (เยื่อใย) ในรูปธรรมและนามธรรมที่ดับไปแล้ว
[เล่มที่ 18] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 544
คำทั้งปวงมีฉันทะเป็นต้น เป็นไวพจน์ของตัณหานั่นเอง. จริงอยู่ ตัณหาท่านเรียกว่าฉันทะ เพราะทำความพอใจ เรียกว่าอาลัย เพราะทำความเยื่อใย
ความเยื่อใยย่อมมีแก่บุคคลผู้เกี่ยวข้องกัน ทุกข์นี้ย่อมเกิดขึ้นตามความเยื่อใย บุคคลเล็งเห็นโทษอันเกิดแต่ความเยื่อใย พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.
เชิญคลิกอ่าน ...
ว่าด้วยผู้เที่ยวไปคนเดียวเหมือนนอแรด [ขัคควิสาณสูตรที่ ๓]
ลักษณะของนอแรดมีหนึ่งเดียว การเที่ยวไปอย่างนอแรด ก็คือ เที่ยวไปผู้เดียว ไม่มีเพื่อนสอง คำกล่าวนี้ เป็นคำกล่าวของพระปัจเจกพุทธเจ้า
(เพื่อนสองหมายถึงโลภะ)
เมื่อได้ศึกษาพระธรรมแล้วเข้าใจหนทางที่ถูกต้อง ซึ่งก็คือการอบรมเจริญสติปัฏฐานเพียงหนทางเดียวเท่านั้น เมื่อขณะนี้มีความเข้าใจถูกเห็นถูกในลักษณะสภาพธรรมถูกต้องตามความเป็นจริง ก็ต้องอบรมต่อไปเรื่อยๆ ... หนทางถูกสักวันย่อมออกจากทุกข์ได้ เมื่อเหตุมีผลย่อมมีสมควรแก่เหตุนั้น
ผู้ที่เฝ้าแต่คร่ำครวญ ... คือผู้ที่ยังไม่เข้าใจพระธรรม เพราะนั่นเป็นอกุศลจิต จึงเป็นผู้นิ่ง เก้อเขิน นั่งคอตก ซบเซา หมดปฏิภาณ ส่วนผู้ที่ฟังพระธรรมแล้วเข้าใจย่อมอาจหาญร่าเริงในธรรม เป็นผู้มีศรัทธาที่จะฟังธรรม พิจารณาธรรมด้วยความรอบคอบ เพราะพระธรรมนั้นละเอียด ลึกซึ้ง ยากที่จะเข้าใจได้โดยง่าย
รู้ทางออก ....ออกจากอะไร ออกไปไหน ติดอยู่ในอะไรถึงใคร่จะออกไปเสีย
แต่ออกไปไม่ได้ ....ออกจากอะไรก็ไม่รู้ จะออกได้อย่างไร
รู้ทางเดิน ....เดินทางไปไหน ทางเดิมเป็นอย่างไร
แต่เดินไปไม่ถูก ....เดินทางไปไหนก็ไม่รู้ จะเดินทางไปถูกได้อย่างไร
เฝ้าแต่คร่ำครวญ ....ถ้ารู้ทางออก และรู้ทางเดินไปในชีวิต ด้วยปัญญา จะไม่คร่ำครวญ
โลภะ ละได้ด้วยอรหัตมรรด มรรคคือทางสายเอก สายเดียวไม่มีสายอื่น รู้ทางแล้วอย่าคร่ำครวญ
ถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้อง แล้วเริ่มเจริญสติจริงๆ เป็นปกติ ทีละเล็กทีละน้อย ระลึกรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ ไม่มีเยื่อใยกับสิ่งที่หมดไปแล้ว เพราะเหตุว่าสิ่งที่กำลังปรากฏกำลังเป็นปัจจุบัน เป็นของจริง มีการเกิดขึ้นแล้วดับไป ตามหาสติปัฏฐาน ที่ได้ฟังมาตั้งแต่ต้น กายานุปัสสนาสติปัฏฐานก็ดี เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานก็ดี จิตตานุปัสสนาก็ดี ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานก็ดี ล้วนแต่เป็นสภาพธรรมที่เกิดแล้วดับไป
จากชุดรวมสติปัฏฐานแผ่นที่ ๒ ตอนที่ ๖๑
กราบอนุโมทนากุศลจิตของทุกท่านค่ะ