การไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความจริง คือ อย่างไร ??

 
opanayigo
วันที่  5 ก.ค. 2553
หมายเลข  16659
อ่าน  1,407

ขอชวนร่วมอธิบาย เพื่อเกื้อกูลกัน (ผู้เขียนด้วยค่ะ)

อนุโมทนาค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 6 ก.ค. 2553

การไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความจริง ภาษาไทยง่ายๆ คือ ไม่โกหก ไม่พูดเท็จ หรือการพูดไม่ตรงกับความจริง ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ชีวิตคือขณะจิต
วันที่ 6 ก.ค. 2553

ต้องพูดความจริง อย่าพูดแต่บางส่วนแต่ไม่พูดบางส่วน ต้องกล้าแสดงความคิดเห็น อย่าเป็นผู้นิ่ง อย่ามีอคติ อย่าถือว่าไม่ใช่ธุระ จงสงเคราะห์ บอก พูดกับผู้อื่นด้วยเมตตากรุณา จงเป็นผู้รู้ทาง ที่ไม่เป็นโรค จงเป็นผู้อาจหาญร่าเริง รักษาสุขภาพกาย สุขภาพใจเดินไปตามทางครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
opanayigo
วันที่ 6 ก.ค. 2553

หากการกล่าวนั้น ด้วยเจตนาดี อย่างหนึ่ง แต่ผู้ฟัง ตีความตามความเข้าใจท่าน เป็นอีกอย่างหนึ่ง อธิบายแล้วท่านก็ไม่เข้าใจ ควรเป็นผู้นิ่ง หรือ ต้องกล่าวต่อไปๆ ให้จงได้ในขณะนั้น เคยอ่านมาว่า ผู้พูดอาจไม่เป็นอย่างที่เราคิด ไม่มีใครรู้ใจใครได้ อย่าคิดไปเอง หลายครั้ง หลายเรื่อง ก็ไม่เป็นอย่างที่เราคิด จริงหรือไม่ อย่างไรค่ะ ทำให้นึกถึงคำสอนของพระพุทธองค์ เรื่องการพูดบางครั้งแม้มีเจตนาดี เป็นคำพูดที่มีประโยชน์ หากไม่ใช่กาล ก็ไม่ควรพูด ไม่ทราบว่าเข้าใจถูก หรือไม่ค่ะ

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
choonj
วันที่ 6 ก.ค. 2553

แกล้งกล่าวเพื่อจุดหมุ่งหมายที่จะได้ จะได้ตามจุดหมุ่งหมายก็คือ การโกหก ผู้ที่ฟังโกหกบ่อยๆ ฟังโกหกคำโตๆ ผลสุดท้ายก็จะหลงเชื่อ เมื่อหลงเชื่อแล้วก็จะเป็นทาสของผู้โกหก เป็นทาสก็จะยอมทำทุกอย่าง จึงต้องเห็นความสำคัญของการเชื่อ และโทษของการเชื่อคำโกหก โดยการศึกษาธรรมให้เข้าใจ ให้รู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนจริงๆ แล้ว คืออะไร คือไม่แกล้งกล่าว ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
prachern.s
วันที่ 6 ก.ค. 2553

เรียนความเห็นที่ ๓

ถูกต้องครับ เรื่องการพูดบางครั้งแม้มีเจตนาดี เป็นคำพูดที่มีประโยชน์ หากไม่ใช่กาล ก็ไม่ควรพูด

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 6 ก.ค. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ในการพูดนั้นย่อมมีเรื่องที่จะต้องพูด สำหรับผู้ได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาเป็นปกติ มีความเข้าใจค่อยๆ เพิ่มขึ้นไปตามลำดับ จิตใจน้อมไปในกุศลธรรม ก็ย่อมจะเป็นผู้คำนึงถึงอยู่เสมอว่า สิ่งใดควรพูด (ควรพูดในเวลาใดด้วย) และสิ่งใดไม่ควรพูด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่เกิดประโยชน์ อันเป็นเรื่องไร้สาระหรือเบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นถ้อยคำที่ไม่เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรม แต่กลับทำให้อกุศลธรรมยิ่งเพิ่มมากขึ้น ก็ไม่ควรที่จะพูด แต่จะพูดเฉพาะในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรมทั้งหลาย และมีจิตประกอบด้วยเมตตามุ่งประโยชน์แก่ผู้ฟัง เท่านั้น พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง จึงเป็นเครื่องเตือนอย่างดียิ่งทุกๆ ด้าน ไม่เว้นแม้กระทั่งในเรื่องของการพูดซึ่งจะเกื้อกูลต่อการดำเนินชีวิตในแต่ละวันให้เป็นไปในทางที่ถูกที่ควรยิ่งขึ้น และบุคคลผู้ที่เป็นแบบอย่างที่ดีที่สุดประเสริฐที่สุดในการพูดนั้นย่อมไม่มีใครเสมอกับพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ajarnkruo
วันที่ 6 ก.ค. 2553

ถ้าจำเป็นจะต้องกล่าว ก็ไม่ควรแกล้งกล่าวให้ผิดไปจากความจริงที่เราเองรู้อยู่แก่ใจเมื่อจะกล่าว กล่าวด้วยเมตตา ไม่หยาบกระด้าง ไม่ประทุษร้ายจิตใจผู้ฟัง นิ่งในกาลที่ควรนิ่ง เมื่อรู้ว่าการพูดออกไปนั้น จะไม่ถึงประโยชน์ที่ผู้ฟังควรได้ แม้รู้ว่าจะพูดคำจริง ก็ควรรอให้ถึงกาลที่สมควรในบางสถานการณ์ กล้าพูดในสิ่งที่ควรกล้า เช่น การพูดเพื่อรักษาประโยชน์ใหญ่ คือ พูดเพื่อรักษาพระธรรม พูดเพื่อดำรงกุศลธรรม พูดเพื่อรักษาความถูกต้อง พูดเพื่อรักษาความยุติธรรม เป็นต้นครับ

ขอเชิญคลิกอ่าน >>>

เรื่อง ลักษณะการพูดของบัณฑิต โดย วันชัย๒๕๐๔

ผู้พูด ๓ จำพวก [คูถภาณีสูตร] โดย khampan.a

วาจาสูตร โดย Khaeota

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ชีวิตคือขณะจิต
วันที่ 7 ก.ค. 2553

ผู้พูดดีแล้ว กล่าวดีแล้ว แสดงความคิดเห็นครบถ้วนแล้ว ไม่ชื่อว่าเป็นผู้นิ่ง ปุถุชนไม่ควรปล่อยให้ขณะเจริญกุศลผ่านไป

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 7 ก.ค. 2553

เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาตนเอง (บ่อยๆ) มากครับ

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนา คุณ opanayigo และ ทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
wannee.s
วันที่ 8 ก.ค. 2553

มิตรทั้งหลายย่อมแตกกัน เพราะคำพูด เช่น พูดไม่จริง ฯลฯ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Gorragrid
วันที่ 12 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ