เหตุแห่งการให้ทาน [ทานวัตถุสูตร]
khampan.a
วันที่ 10 ก.ค. 2553
หมายเลข 16704
อ่าน 2,006
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ ๔๗๕ ๓. ทานวัตถุสูตร (ว่าด้วยเหตุแห่งการให้ทาน)
[๑๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทานวัตถุ ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน คือบางคนให้ทานเพราะชอบพอกัน ๑ บางคนให้ทานเพราะโกรธ ๑ บางคนให้ทานเพราะหลง ๑ บางคนให้ทานเพราะกลัว ๑ บางคนให้ทานเพราะนึกว่า บิดา มารดาปู่ ย่า ตา ยาย เคยให้มา เคยทำมา เราไม่ควรให้เสียวงค์ตระกูลดั้งเดิม ๑บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เราให้ทานแล้ว เมื่อตายไปจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เมื่อเราให้ทานนี้ จิตใจย่อมเลื่อมใส ความเบิกบานใจความดีใจ ย่อมเกิด ตามลำดับ ๑ บางคนให้ทานเพื่อประดับปรุงแต่งจิต ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทานวัตถุ ๘ ประการนี้แล.
จบ ทานสูตรที่ ๓.
[๑๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทานวัตถุ ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน คือบางคนให้ทานเพราะชอบพอกัน ๑ บางคนให้ทานเพราะโกรธ ๑ บางคนให้ทานเพราะหลง ๑ บางคนให้ทานเพราะกลัว ๑ บางคนให้ทานเพราะนึกว่า บิดา มารดาปู่ ย่า ตา ยาย เคยให้มา เคยทำมา เราไม่ควรให้เสียวงค์ตระกูลดั้งเดิม ๑บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เราให้ทานแล้ว เมื่อตายไปจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เมื่อเราให้ทานนี้ จิตใจย่อมเลื่อมใส ความเบิกบานใจความดีใจ ย่อมเกิด ตามลำดับ ๑ บางคนให้ทานเพื่อประดับปรุงแต่งจิต ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทานวัตถุ ๘ ประการนี้แล.
จบ ทานสูตรที่ ๓.
อรรถกถาทานวัตถุสูตรที่ ๓ ทานวัตถุสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. บทว่า ทานวตฺถูนิ ได้แก่ เหตุแห่งการให้ทาน. บทว่า ฉนฺทา ทานํ เทติความว่า บุคคลไห้ทานเพราะความรัก. บทว่า โทสา ความว่า เป็นผู้โกรธแล้ว สิ่งใดมีอยู่ก็รีบหยิบเอาสิ่งนั้นให้ไปเพราะโทสะ.บทว่า โมเหน ความว่า เป็นผู้หลงให้ไปเพราะโมหะ. บทว่า ภยา ความว่า เพราะกลัวครหา หรือ เพราะกลัวอบายภูมิก็หรือว่า เพราะกลัวครหาและอบายภูมินั้นนั่นแหละจึงให้ไป. บทว่า กุลวํสํ ได้แก่เป็นประเพณีของตระกูล. จบ อรรถกถาทานวัตถุสูตรที่ ๓.