มานะ
บุคคลเป็นผู้มีอุเบกขา
มีสติทุกเมื่อ
ไม่สำคัญว่าเสมอเขา
ไม่สำคัญว่าดีกว่าเขา
ไม่สำคัญว่าต่ำกว่า เขา
ในโลก
กิเลสอันหนาทั้งหลาย
ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้น
สาธุ
อุเบกขาเป็นพรหมวิหารธรรมที่ยากที่สุด ดูเหมือนเป็นคำที่ง่าย แม้คำว่า "เมตตา" ผู้ศึกษา ธรรม ตามความเป็นจริง ก็ยังยากที่เข้าใจ
[๔๑๒] บุคคลเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญว่าเสมอเขา ไม่สำคัญว่าดีกว่าเขา ไม่สำคัญว่าต่ำกว่า เขาในโลก กิเลสอันหนาทั้งหลายย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้นจากการคลิกอ่าน..
อุเบกขามี ๑๐ อย่าง อะไรบ้าง
ข้อความข้างบน..เป็นอุเบกขาที่เกิดร่วมกับกุศลจิตเป็นอุเบกขาประเภทไหนคะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เรียน ความคิดเห็นที่ 2
ขออนุญาตแสดงความคิดเห็น ดังต่อไปนี้ ครับ จากข้อความที่คุณหมอเพิ่มสมบัติ ยกมานั้น เป็นข้อความจากขุททกนิกาย มหา-นิทเทส ซึ่งควรค่าแก่การพิจารณาเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอุเบกขา ซึ่งมีหลายนัยหลายความหมายตามที่พี่จรรยา ได้อ้างอิงมา จากข้อความในพระคาถาดังกล่าวนั้นแสดงว่า พระอรหันต์ เป็นผู้มีความเป็นกลาง ไม่หวั่นไหวในอารมณ์ทั้งปวง ไม่ยินดีกล่าวคือ ไม่ติดข้องในอารมณ์ที่น่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจ และไม่ยินร้าย คือ ไม่เกิดโทสะในอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา และประการที่สำคัญ พระอรหันต์เป็นผู้มีสติทุกเมื่อ
และเป็นผู้ละมานะ (ความสำคัญตน) ได้อย่างเด็ดขาด รวมถึงกิเลสในฐานะเดียวกันทั้งหมด ท่านก็ละได้หมดแล้ว เป็นผู้ห่างไกลจากกิเลสโดยประการทั้งปวง เพราะฉะนั้น คำว่า อุเบกขาในพระคาถาดังกล่าว เป็น ฉฬังคุเบกขา ซึ่งเป็นอุเบกขาของพระอรหันต์ เมื่อว่าโดยสภาพธรรมแล้ว ก็คือ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก ที่เกิดร่วมกับมหากิริยาจิตของพระอรหันต์ นั่นเอง ครับ (ขาดตกบกพร่องอย่างไร ท่านผู้รู้กรุณาช่วยแนะนำ และ เพิ่มเติมให้ด้วยนะครับ)
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมยิ่งขึ้นได้ที่นี่ ครับ
มีอุเบกขา, มีสติ , ไม่สำคัญตน, ไม่มีกิเลสอันหนา [มหานิทเทส]
พระอรหันต์มีสติปัฏฐานตลอดเวลาหรือไม่
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...