สงสัย อีกแล้วครับ ..อัสสุตวตาสูตรที่ ๑

 
govit2553
วันที่  15 ก.ค. 2553
หมายเลข  16734
อ่าน  2,847

๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑

[๒๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อ หน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ทั้ง ๔ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ ดี การตายก็ดี ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้ มิได้สดับจึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายนั้น

แต่ตถาคต เรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ รวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฏฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเราดังนี้ ตลอดกาลช้านาน ฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อ หน่าย คลาย กำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้น นั้นได้เลย ฯ

ที่ผม ทำตัวหนา ไว้ มิทราบ ถูกหรือผิด ประการใดครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 15 ก.ค. 2553

ข้อความสำนวนแปลฉบับที่ท่านยกมา อ่านแล้วไม่เข้าใจครับ

ลองอ่านพระไตรปิฎกสำนวนของ มจร. จะเข้าใจได้ครับ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค มหาวรรคที่ ๗

๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑

[๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตายก็ดี ของกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับจึงเบื่อ หน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในกายนั้น ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิต เป็นต้นนั้นได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้อันปุถุชนมิได้สดับรวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฏฐิว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ ตลอดกาลช้านาน ฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นไปจากจิตจิตเป็นต้นนั้นได้เลย

ขออนุญาต แสดงความเห็น ดังนี้

ย่อหน้าแรก ทรงแสดงรูปธรรม คือมหาภูตรูป ปุถุชนย่อมเบื่อหน่ายในรูปได้ เพราะความเปลี่ยนแปลงของรูปปรากฏ

ย่อหน้าที่สอง ทรงแสดงนามธรรม ปุถุชน ไม่อาจเบื่อหน่ายในนามได้ เพราะยึดถือด้วยตัณหา ในนาม และนามไม่ปรากฏความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนเหมือนรูป

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 15 ก.ค. 2553

ขอบพระคุณและขออนุโมทนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
govit2553
วันที่ 16 ก.ค. 2553

ขอบคุณครับ นับเป็นพระคุณอย่างสูง

ถ้าร่างกาย เรียกว่า จิต เรียกว่า วิญญาณ ล่ะก็ คงวุ่นวายน่าดูครับ ไม่ทราบ มี link พอได้เข้าไปอ่าน ฉบับ มจร. มั๊ยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 16 ก.ค. 2553

เรียนคุณโกวิทย์ค่ะ เมื่อปีที่แล้ว ท่านอาจารย์สุจินต์ และคณะวิทยากรได้นำพระสูตรนี้มาพิจารณาร่วมกัน และได้เทียบเคียงกับภาษาบาลีและแปลใหม่ ซึ่งสำนวนก็จะสอดคล้องกับที่คุณประเชิญได้ยกมา จึงได้แก้ไขให้ถูกต้องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Yongyod
วันที่ 16 ก.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 29 พ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ