อโหสิ
ข้อความบางตอนจาการสนทนาธรรมโดยท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์..
เพราะฉะนั้นการฟังพระธรรมจึงเป็นการฟังเรื่องของตัวเอง ของสภาพธรรมที่เกิดกับตน ว่าขณะไหน วันไหนโลภะมากหรือ โทสะมาก มีเรื่องวุ่นวายใจมาก หรือ ขัดใจมาก เป็นพักๆ ใช่ไหมคะ บางพักก็เป็นเรื่องของความสุขสำราญ ก็เป็นเรื่องของโลภมูลจิต บางครั้งก็เป็นเรื่องของความกังวล ความรำคาญใจ ความหงุดหงิดใจ ความเดิอดร้อนใจ พักนั้นก็เป็นเรื่องของโทสมูลจิต แต่ถ้าเป็นผู้ที่อบรมเจริญปัญญา โดยที่ได้ฟังพระธรรมมาก และรู้ว่าสภาพธรรมทั้งหมดไม่ใช่ตัวตน ก็ยังเป็นโอกาสที่หิริ โอตตัปปะ จะเกิด และระลึกได้ว่าไร้สาระ สี่งใดที่เป็นอกุศลที่เกิดแล้ว ผ่านไปแล้ว เพราะฉะนั้น ก็ตั้งต้นเสียใหม่ ถ้าคิดอย่างนี้ได้ก็จะปลอดโปร่งใจมากทีเดียว ก็จะละคลาย ความกังวลที่เป็นอกุศล และสืบต่อมา อาจจะเป็แรมวัน แรมเดือน หรือบางคนอาจจะ ถึงแรมปี ถ้าคิดไม่ได้ว่าเป็นแต่เพียงนามธรรมที่คิดแล้วก็ตั้งต้นเสืยใหม่ ถ้า อบ่างนั้นก็ จะเป็นผู้ที่เห็นประโยชน์ของกุศล และ ได้รับประโยชน์จากกาฟังพระธรรม
ท่านผู้ฟังได้ยินคำว่า อโหสิ บ่อยๆ ใช่ไหมคะ เป็นเรื่องที่ทุกคนจะต้องเกี่ยวข้องกัน เวลาที่เกี่ยวข้องกัน ก็มีการกระทำในลักษณะที่ทำให้ขุ่นเคืองใจ ไม่มีใครสามารถที่จะ ไม่โกรธใครไปได้เลย หรือว่าไม่มีวันที่จะโกรธใคร เพราะว่าแม้แต่คนซึ่งท่านมีความเคารพนับถือ บางครั้ง บางวัน บางขณะก็อาจมีเรื่องที่ท่านรู้สึก ไม่พอใจ หรือว่าขุ่นเคืองหรือว่าไม่เข้าใจว่า ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นก็ควรที่จะได้ทราบ คำที่ใช้กันบ่อยๆ ในภาษาไทย ที่ใช้คำว่า "อโหสิ" ส่วนมากที่ใช้กันก็เพราะคิดว่า เป็นการเลิกแล้ว หรือว่า เลิกร้าง กรรม ที่ได้กระทำนั้น ไม่ให้ผูกเวรกันต่อไป
แต่ "อโหสิ" หมายความถึง "ได้กระทำแล้ว"
"อโหสิกรรม" คือ"กรรมที่ได้กระทำแล้ว"....ซึ่งก็ได้เคยกล่าวถึงแล้ว แต่เพื่อให้ท่านผู้ฟังได้ทบทวน และ ระลึกรู้ว่า อโหสิกรรมจริงๆ คือผู้ที่เข้าใจเรื่องของกรรม ที่ได้กระทำแล้ว แล้วก็เกิดสติ หิริโอตตัปปะ ระลึกรู้ว่าเป็นอกุศล ขณะที่รู้ว่าเป็นอกุศล ละอายด้วย รังเกียจด้วย ไม่ใช่ว่าเป็นอกุศลก็แล้วไป แต่ว่าเมื่อรู้ว่าเป็นอกุศล ก็เกิดความรังเกียจ ละอายในอกุศลนั้น แล้วเจริญกุศลต่อไป ก็คือว่าจะไม่ทำอย่างนั้อีก ไม่ใช่ว่าไป อโหสิ กันเฉยๆ
ผมขออนุญาตเรียนถามเพิ่มเติมครับว่า
กรรมใดเมื่อเป็นอโหสิแล้ว ย่อมแก้ไขไม่ได้แล้ว
หากเป็นกรรมไม่ดี เมื่อระลึกได้ ก็อย่าทำอีก
หากเป็นกรรมดี เมื่อระลึกได้ ก็มั่นทำต่อ
การไปกังวลใจกับสิ่งที่ทำไปแล้วไม่มีประโยชน์
การขออโหสิกรรม จึงไม่น่าจะมีได้
น่าจะเป็นเรื่องขอการขอโทษ ขอขมา ขอให้ยกโทษ อดโทษให้เท่านั้น
เช่นนี้ จะถูกต้องหรือไม่ครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
เรียน ความเห็นที่ 1
โดยทั่วไปแล้วชาวโลกย่อมใช้คำว่าอโหสิกรรมคือการขอขมาลาโทษให้กรรมนั้นไม่มีต่อกัน แต่คำว่าอโหสิกรรมในทางพระพุทธศาสนาหมายถึงกรรมที่ได้ทำแล้วหรือกรรมที่ได้ทำแล้วกรรมนั้นไม่ให้ผลอีก เพราะฉะนั้นจึงมีกรรมที่ทำแล้วให้ผลก็มี กรรมที่ทำแล้วไม่ให้ผลก็มี อย่างเช่น บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์แล้วปรินิพพานในชาตินั้น กรรมในอดีตที่ทำมามากมายที่จะให้เกิดในสวรรค์หรือนรก กรรมเหล่านั้นก็ไม่ให้ผล กรรมนั้นจึงเป็นอโหสิกรรมคือกรรมได้ทำแล้ว แต่ว่ากรรมนั้นไม่ให้ผลเพราะท่านเป็พระอรหันต์แล้วไม่เกิดอีกเมื่อปรินิพพาน กรรมอื่นๆ ที่ได้ทำแล้วจึงไม่ให้ผลเพราะท่านไม่เกิดอีกจึงเป็นอโหสิกรรม แต่ไม่ใช่การอโหสิกรรมตามที่ชาวโลกพูดกันว่าขออโหสิกรรมแล้วกรรมนั้นจะไม่ให้ผล ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยอื่นๆ ครับ เพียงแต่ว่าการพูดอโหสิกรรมของชาวโลกก็ คือการเห็นโทษของกิเลสเห็นโทษของการล่วงเกินกันและกันและน้อมที่จะสำรวมระวังต่อไปแต่กรรมที่ได้ทำแล้วสามารถให้ผลได้เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมและไม่สามารถให้ผลก็ได้เมื่อมีเหตุปัจจัยพร้อมตามตัวอย่างที่ยกมาข้างต้นครับ
ขออนุโมทนา