สัตบุรุษ
คำว่าสัตบุรุษและบัณฑิตมีความหมายเหมือนกัน คือหมายถึงคนดี และมีคุณธรรม เป็นผู้สงบจากกิเลส โดยมากท่านยกตัวอย่างพระอริยบุคคลเช่น พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระพุทธสาวก เป็นต้นเป็นสัตบุรุษ
เชิญคลิกอ่านที่นี่...
[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 67
อรรถกถาอรัญญสูตร พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๐ ต่อไป :-
บทว่า สนฺตานํ ได้แก่ ผู้มีกิเลสอันสงบระงับแล้ว อีกอย่างหนึ่งได้แก่บัณฑิต. แม้บัณฑิตท่านก็เรียกว่า สัตบุรุษ เช่นในคำมีอาทิว่า สนฺโต
ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ ชัดเจนมากค่ะ.....
อยากจะเรียนถามต่ออีกเล็กน้อย ในข้อความที่ว่า "ในที่ประชุมใดไม่มีสัตบุรุษ ที่ ประชุมนั้นไม่ชื่อว่าสภา" คำว่า "สภา" ในที่นี้ หมายถึงอะไรคะ คงจะมีความหมาย แตกต่างกับที่เรานำเอามาใช้ในสมัยนี้ไหมคะ ยกตัวอย่างเช่น สภาผู้แทนราษฎร สภากาชาด หรือ สภามหาวิทยาลัยเป็นต้น
[เล่มที่ 62] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 718
พระราชาที่เอาชนะคนซึ่งไม่ควรชนะ ไม่ชื่อว่า เป็นพระราชา เพื่อนที่เอาชนะเพื่อนไม่ชื่อว่าเป็น เพื่อน ภรรยาที่ไม่กลัวเกรงสามีไม่ชื่อว่าเป็นภรรยา บุตรที่ไม่เลี้ยงมารดาบิดาผู้แก่แล้วไม่ชื่อว่าเป็นบุตร. ที่ประชุมไม่มีสัตบุรุษไม่ชื่อว่าเป็นสภา คนพูดไม่ เป็นธรรมไม่ชื่อว่าเป็นสัตบุรุษ คนที่ละราคะ โทสะ โมหะ พูดเป็นธรรมนั่นแลชื่อว่าเป็นสัตบุรุษ.
ข้อความจากชาดกอรรถกถาไม่ได้อธิบายไว้ แต่ว่าสถานที่ประชุมใดมีแต่ คนพาลคนทุศีล ตามหลักพระสูตรนี้จะเรียกที่ประชุมเหล่านั้นว่าสภาไม่ได้