ใจเจียมด้วยไม่มีมานะ
ข้อความบางตอนจาการสนทนาธรรมโดยท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์..
มัททวะ เป็นไฉน คือ อ่อนโยน ความละมุนละไม ความไม่แข็ง ความไม่กระด้าง ความเจียมใจ อันใด นี้เรียกว่า "มัททวะ"
บุคคล ชื่อว่า เจียมใจ เพราะอรรถว่า มีใจเจียม ด้วย ไม่มีมานะ ภาวะแห่งบุคคลผู้เจียมใจ ชื่อว่า ความเจียมใจ
เป็นชีวิตประจำวัน ที่ต้องอาศัยการสังเกตจริงๆ มิฉะนั้นก็ไม่สามารถที่รู้จักสภาพธรรม ในขณะที่สภาพธรรมนั้นๆ ปรากฏ สำหรับการที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม ทุกคนก็คงจะทราบแน่ ว่าไม่ใช่การอบรมเจริญปัญญาเพียงชาติเดียว 2 ชาติ 3 ชาติ และในแต่ละชาติก็สั้นมาก การที่บุคคลใดเกิดมาในชาตินี้ จะมีชื่อเสียง มีสกุล มีมิตรสหาย มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้น ถ้าพิจารณาแล้วก็จะเห็นได้ว่า ขณะที่เป็นอกุศล มากกว่าขณะที่เป็นกุศล ถ้าชาตินี้หมดไป คือ ผ่านไป ซึ่งก็จะต้องหมดไปแน่นอน ผ่านไปโดยไม่มีสี่งใดเหลือในความเป็นบุคคลนี้อีก และเมื่อเกิดชาติหน้าสามารถจะระลึกได้ อาจจะรู้สึกเสียดายว่าชาตินี้ทำกุศลน้อยไป หรือว่าเสียเวลากับสี่งที่ไม่มีสาระมากไป แต่ขณะนี้กำลังเป็นชาตินี้อยู่ แต่ทั้งๆ รู้ก็ไม่สามารถที่จะเอาชนะกิเลสหรือว่าหมดกิเลสได้
ถ้ากล่าวถึงกิเลสที่มากมาย ที่สะสมมามาก ในอดีตอนันตชาติ ก็เป็นของที่แน่นอน ที่จะเห็นชัดว่า ช่างละยาก เพราะว่าสะสมมามาก แต่ลองคิดถึงกิเลสเพียงขณะเดียว ไม่ต้องคิดถึงกิเลสมากๆ ที่สะสมมา ที่จะดับเป็นสมุทเฉท ขอให้เป็นเพียงกิเลส ขณะหนึ่งขณะใด ที่จะละในขณะนั้น ละได้ไหม ลองคิดดู กำลังสนุก ละสิ กิเลสในขณะนั้น เพียงขณะเดียว ไม่ต้องคิดถึงถึงขณะที่สะสมมามากมาย เพียงแต่ละขณะๆ ที่่นึกจะละกิเลส ในขณะที่มีกิเลสอยู่ ยังละไม่ได้ เพราะฉะนั้นตามความเป็นจริงแล้ว เมื่อกิเลสมีมาก ยี่งกว่าเพียงขณะเดียวๆ การที่จะละกิเลส จึงเป็นเรื่องที่จะต้องอบรมเจริญปัญญาอีกนานทีเดียว
กำลังสนุก ละสิ
กิเลสในขณะนั้น เพียงขณะเดียว
ไม่ต้องคิดถึงถึงขณะที่สะสมมามากมาย
เพียงแต่ละขณะๆ ที่นึกจะละกิเลส
ในขณะที่มีกิเลสอยู่ ยังละไม่ได้
ขอกราบอนุโมทนาท่านอาจารย์ ที่กล่าวความจริงที่ตรงที่สุด
ให้เกิดความสำนึก ไม่ถูกหลอก แล้วหลงจนข้ามขั้น ผิดไปไกล