ปัญจมปฏิปทาสูตร ... วันเสาร์ ๓๑ ก.ค. ๒๕๕๓
Oo๐ ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ๐oO
... สนทนาธรรมที่ ...
<> มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา <>
พระสูตร ที่นำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ
วันเสาร์ ๓๑ ก.ค. ๒๕๕๓ เวลา ๐๙:๐๐ - ๑๒:๐๐น. คือ
๕. ปัญจมปฏิปทาสูตร [ว่าด้วยปฏิปทา (ทางดำเนิน) สูตรที่ ๕]
จาก ... [เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต เล่ม ๔ หน้าที่ ๖๔๔
... นำการสนทนาโดย ...
ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคณะวิทยากร [เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต เล่ม ๔ หน้าที่ ๖๔๔
๕. ปัญจมปฏิปทาสูตร [ว่าด้วยปฏิปทา (ทางดำเนิน) สูตรที่ ๕]
[๑๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๘ ประการนี้, ๘ ประการ เป็นไฉน? คือ อุฏฐานสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยความหมั่น) ๑ อารักขสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการรักษาทรัพย์ที่หามาได้) ๑ กัลยาณมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรดี) ๑ สมชีวิตา (ความเป็นผู้เลี้ยงชีพพอเหมาะ) ๑ สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา) ๑ สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล) ๑ จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการสละ) ๑ ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา) ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสัมปทา ๘ ประการนี้แล.
นิคมคาถา
คนหมั่นในการทำงาน ไม่ประมาท จัดการงานเหมาะสม เลี้ยงชีพพอเหมาะ รักษาทรัพย์ ที่หามาได้ มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล รู้ถ้อยคำ ปราศจากความตระหนี่ ชำระทางสัมปรายิกัตถ- ประโยชน์เป็นนิตย์ ธรรม ๘ ประการดังกล่าวนี้ ของผู้ครองเรือน ผู้มีศรัทธา อันพระพุทธเจ้า ผู้มีพระนามอันแท้จริง ตรัสว่านำสุขมาให้ในโลก ทั้งสอง คือ ประโยชน์ในปัจจุบันนี้ และ ความสุข ในภายหน้า บุญ คือ จาคะนี้ ย่อมเจริญแก่ คฤหัสถ์ ด้วยประการฉะนี้.
จบ ปฏิปทาสูตรที่ ๕.
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ข้อความโดยสรุป
ปัญจมปฏิปทาสูตร [ว่าด้วยปฏิปทา (ทางดำเนิน) สูตรที่ ๕] ------------------------------ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงสัมปทา (ความถึงพร้อม) ๘ ประการ ดังนี้คือ ๑. อุฏฐานสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยความหมั่น ไม่เกียจคร้านในการทำงาน) ๒. อารักขสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยการรักษาทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความหมั่นนั้น) ๓. กัลยาณมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรที่ดีงาม คบหาบุคคลผู้มีศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญา) ๔. สมชีวิตา (ความเป็นผู้เลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ใช้จ่ายทรัพย์อย่างสุรุ่ยสุร่าย) ๕. สัทธาสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยศรัทธา เชื่อในพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตเจ้า)
๖. สีลสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยศีล เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นต้น) ๗. จาคสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยการสละ ยินดีในการให้ทาน รู้ถ้อยคำของผู้ขอ) ๘. ปัญญาสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นผู้มีปัญญาที่เห็นความเกิดดับ เป็นอริยะชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ) และพระองค์ได้ตรัสว่า ความถึงพร้อม ๘ ประการนี้ นำความสุขมาให้ในโลกทั้งสองคือ ความสุขในปัจจุบันนี้ และ ความสุขในภายหน้า. ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้นได้ที่นี่ ครับ จนอะไรก็ได้...แต่อย่าจนศรัทธา ศีล พรหมจรรย์ ธรรมเตือนใจ....มีมืออันล้างแล้ว ความเสื่อมและความเจริญของปัญญา การใช้ทรัพย์ให้เป็นประโยชน์ [มัยหกสกุณชาดก] ฯลฯ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...