อุปมาเหมือนต้นยางที่มีดกรีดเมื่อนั้นยางก็ไหลออก

 
pirmsombat
วันที่  29 ก.ค. 2553
หมายเลข  16830
อ่าน  1,558

ข้อความบางตอนจาการสนทนาธรรมโดยท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

แจ๊ก อย่างอานิสงค์ของการบริจาคทาน ก็ทำให้เขามั่งคั่งร่ำรวยมีทรัพย์สินเงินทองมากมาย แต่มีนิสัยที่มีความตระหนี่ มีมานะ อย่างเวลาไปขอบริจาคก็ให้สัก 10 บาท ซึ่งคนธรรมดาอย่างเราๆ อาจจะให้มากกว่าก็ได้ อันนี้ก็แล้วแต่เหตุปัจจัยเหมือนกันใช่ไหมครับ

ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นในครั้งอดีตกาล ในสมัยพระผู้มีพระภาค ยังไม่ปรินิพพานตัวอย่างของผู้ที่จะเป็นพระอริยบุคคล จะเห็นได้ว่าก่อนที่จะได้ฟังพระธรรม อกุศลช่างมีกำลังที่จะแสดงออกมาทางกายทางวาจาต่างๆ กัน แสดงให้เห็นว่าถ้าโลกุตตรปัญญายังไม่เกิด ยังไม่มีทางที่จะดับอกุศลใดๆ ได้เลย ทางกาย ทางวาจาที่แสดงออกก็ยังต้องเป็นไปตามกำลังของอกุศลนั้นๆ แสดงให้เห็นว่า โลภะซึ่งเป็นความพอใจ ซึ่งเป็นอกุศลประเภทหนึ่ง เป็นสี่งที่มีกำลังมากแค่ไหน ท่านอุปมาว่าเหมือนกับต้นยางซึ่งชุ่มด้วยยาง เมื่อใดที่เอามีดกรีดลงไป เมื่อนั้นยางก็ย่อมไหลออก

เพราะฉะนั้น เมื่อทางตาได้ประสบกับอารมณ์ ซึ่งเป็นที่พอใจ ไม่มีใครสามารถจะยับยั้งได้เลยที่จะให้เกิดความพอใจ เหมือนกับโลภะซึ่งสะสมมาเต็ม เพราะฉะนั้น เมื่อได้อารมณ์ที่พอใจ ก็คือ มีดที่กรีด ให้ความพอใจหลั่งไหลออกมาอย่างชุ่มโชก ไม่สามารถที่จะระงับได้เลย

นี่ก็เป็นชีวิตประจำวันของทุกท่านนะคะ ว่าท่านชอบสี่งใด ลองคิดถึงทางตาที่เห็น ถ้าจะเป็นเสื้อผ้าสวยๆ ความอยากได้มากแค่ไหน ลองพิจารณาดูนะคะ ในขณะที่ยังไม่ได้แล้วอยาก ทางหูอยากจะฟังเพลงเพราะๆ ทางจมูกอยากจะได้กลี่นหอมๆ ทางลี้นที่เป็นอาหารรสอร่อย ถ้ากลับไปบ้าน ทุกคนจะพบว่า มีอาหารที่ถูกปาก ที่แสวงหา แต่ก่อนที่จะแสวงหา พอโลภะเกิดยับยั้งได้ไหม ลองคิดถึงในขณะนั้นที่โลภะกำลังเกิด แล้วลองดูสิว่ายับยั้งได้ไหม ไม่ได้

เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้นะคะ เมื่อได้ฟังพระธรรม แล้วโลกุตตรปัญญาเกิด จึงสามารถที่จะดับกิเลสได้ แต่ว่าก่อนนั้นทุกคนเต็มไปด้วย อกุศล นานาประการ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ผิน
วันที่ 30 ก.ค. 2553

กราบขอบพระคุณท่านอ.สุจินต์ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 30 ก.ค. 2553

ดังนั้น ไม่ควรประมาทกำลังของกิเลส

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
opanayigo
วันที่ 30 ก.ค. 2553

อาสวะ

อา (ทั่ว) + สว (เจริญ ไหลไป)

กิเลสเครื่องหมักดองที่ไหลไปทั่ว หมายถึง อกุศลธรรมชนิดหนึ่งที่มีสภาพหมักหมมไว้ในขันธสันดาน เหมือนกับสุราซึ่งเป็นเครื่องหมักดองที่เก็บไว้นานๆ มีอำนาจทำให้เมาและหลงใหลได้ อาสวะยังเป็นสภาพที่ไหลไป ไหลไปสู่ทางตา ทางหู ทางจมูกทางลิ้น ทางกาย ทางใจ สามารถไหลไปได้จนถึงภวัคคพรหม เมื่อว่าโดยภูมิ แต่เมื่อว่าโดยธรรม ก็ไหลไปได้จนถึงโคตรภู ทำให้สังสารวัฏฏ์เจริญสืบต่อไปเพราะอาสวะเป็นต้นเหตุให้เกิดอวิชชา คือความไม่รู้ ซึ่งเป็นเงื่อนต้นของ ปฏิจจสมุปปาท

จะวัดความเข้าใจตามการศึกษา

ต่อเมื่อกระทบกับสิ่งที่น่าปราถนาและไม่น่าปราถนาในชีวิตประจำวัน

ว่าเข้าใจ

มากหรือน้อย อย่างไร

กาย วาจา ใจ

ไหวไปตามกำลังของอกุศลและกุศล

ที่บังคับบัญชาไม่ได้เลย

ผู้เขียนก็ไหลไปๆ เรื่อยๆ เพราะปัญญายังอ่อนค่ะ

..........................

ขอบพระคุณ

กราบอนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
prakaimuk.k
วันที่ 30 ก.ค. 2553

เป็นข้อเตือนใจให้เพียรศึกษา เพียรฟังพระธรรมอยู่เสมอๆ ไม่ประมาท เพื่อเป็นสังขารขันธ์ในการเจริญสติ ละโลภะ โทสะ โมหะ ลงได้บ้างทีละเล็กทีละน้อยตามเหตุปัจจัย.

ขออนุโมทนาค่ะ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Jans
วันที่ 31 ก.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pornpaon
วันที่ 1 ส.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ส.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ