การโกหก ให้เป็นกุศลมีใหมครับ
ขอนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขออนุโมทนาค่ะ
ความจริง 1 อย่าง สามารถพูด "ปรุงแต่ง" แตกแขนงให้เป็นความไม่จริงได้ หลายสิบอย่าง ถ้าเรา มีความรัก มีความเป็นมิตร ให้เกียรติ และหวังดี กับผู้หนึ่งผู้ใด ...เราจะไม่อยากโกหกกับคนๆ นั้นเลย
การพูดโกหก มีโทษมาก ถ้าทำให้ผู้อื่นเสียหาย แต่ถ้าพูดโกหกเพื่อให้เขา
สบายใจ ไม่ได้ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ก็มีโทษน้อย และอกุศลก็เกิดสลับ
กับกุศลอย่างรวดเร็ว ปุถุชนมีศีลไม่มั่นคง บางคนศีลมีที่สุดเพราะญาติ บาง
คนศีลมีที่สุดเพราะทรัพย์ บางคนศีลมีที่สุดเพราะชีวิต เป็นต้นค่ะ
.............ขอขอบคุณสำหรับความกระจ่าง..และขออนุโมทนาขอรับ....................
กรณีแรก
ถ้าคิดว่าการบอกว่า "ไม่สบาย" จะทำให้คนอื่นเป็นห่วง เดือดร้อน ก็ควรจะเลี่ยงไม่ตอบหรือนิ่งไว้ ถ้าอดพูดไม่ได้ก็อาจจะถามกลับเขาไปว่าเขาล่ะสบายดีไหม หรือเราก็ตอบความจริงว่า "ก็สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ตามประสา" หรือ "ก็เรื่อยๆ " เพราะเราคงไม่ได้เจ็บไปทั้งวัน คงมีบ้างที่จะมีขณะของความสุขกายหรือสุขใจ เกิดสลับกับความทุกข์กายหรือทุกข์ใจที่ประสบอยู่ หรือเราอาจจะชวนคุยเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับสุขภาพที่ย่ำแย่ของเราและเป็นประโยชน์กว่าคือเป็นไปในทางกุศล เช่น ชวนอีกฝ่ายสนทนาธรรม เป็นต้นครับกรณีหลัง
การรักษาประโยชน์ให้ผู้อื่น มีหลายหนทางที่จะไม่เสียประโยชน์ของตนเอง การโกหกเป็นอกุศลกรรม ทำไปแล้วให้คนอื่นมารับผลของกรรมนี้ไม่ได้ เราจะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมตามที่ตนได้กระทำไว้ และที่เลวร้ายกว่าคือการโกหกเป็นการทำลายสัจจะของตนเอง การโกหกเหมือนเป็นการขุดเหง้าความดีของตนเองทิ้ง ทำให้ไม่เป็นที่น่าเชื่อถือ และการสะสมการโกหกแม้เล็กๆ น้อยๆ ไว้ ต่อไปภายหน้าก็อาจจะกระทำกรรมหนักกว่านี้ได้ เพราะฉะนั้น ไม่ควรโกหกไม่ว่าจะจำเป็นหรือไม่จำเป็นก็ตาม ถ้าอยู่ในวิสัยจะห้ามฝ่ายที่จะทำร้ายได้ก็ควรรีบห้าม ถ้าอยู่ในวิสัยที่จะช่วยผู้ที่กำลังจะถูกทำร้ายได้ก็ควรรีบช่วย แต่ถ้าไม่อยู่ในวิสัยจะห้ามใครหรือจะช่วยใครได้เลย นิ่งได้ก็นิ่งเสียการนิ่งหรือวางเฉยนั้นไม่ได้แปลว่าเป็นคนโง่ แต่เป็นการไม่หวั่นไหว เพราะรู้ว่าสัตว์โลกมีกรรมเป็นของๆ ตน ชื่อว่ารักษาประโยชน์ให้กับทุกฝ่าย ทั้งกับผู้อื่นคือไม่บอกสิ่งไม่จริงและกับตนเองคือไม่พูดโกหก ขณะนั้นเป็นกุศล ขอให้ศึกษาพระธรรมเพื่อเข้าใจโดยละเอียดต่อไปนะครับ
ขอเรียนถามว่า ถ้าขณะพูดโกหก ก็มีสติระลึกรู้ว่า คำพูดนั้นก็เป็นเพียง บัญญัติธรรม เป็นปัจจัยให้จิต เจตสิกเกิดขึ้น ขณะนั้นก็เป็นเพียงนามธรรมประเภทหนึ่ง ได้ไหมคะขอบคุณค่ะ