กล้าให้.....แบบนี้มั้ยค่ะ?

 
ไตรสรณคมน์
วันที่  7 ส.ค. 2553
หมายเลข  16880
อ่าน  1,591

แบบนี้....เพราะความตระหนี่ และความประมาทอย่างนี้ บุคคลจึงให้ทานไม่ได้ บุคคลผู้หวังบุญ รู้แจ้งอยู่ พึงให้ทานได้

แบบนี้....คนตระหนี่กลัวภัยใด ย่อมให้ทานไม่ได้ ภัยนั้นนั่นแล ย่อมมีแก่คนตระหนี่ผู้ไม่ให้ทาน คนตระหนี่ย่อมกลัวความหิวและความกระหายใด ความหิวและความกระหายนั้น ย่อมถูกต้องคนตระหนี่นั้นนั่นแล ผู้เป็นพาลทั้งในโลกนี้ และในโลกหน้า ฉะนั้น

และแบบนี้ บุคคลควรกำจัดความตระหนี่ อันเป็นสนิมในใจ ให้ทานเถิด เพราะบุญทั้งหลาย ย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า

ชิตํ เม ชิตํ เม ชิตํ เม เราชนะแล้ว เราชนะแล้ว เราชนะแล้ว (ชนะความตระหนี่ ความหวงแหนด้วยการสละ คือจาคะ) คนเราแม้เลือกเกิดไม่ได้ แต่เลือกที่จะเป็นคนดีได้ค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 7 ส.ค. 2553

ข้อความบางตอนจาก มัจฉริสูตร

ชนเหล่าใด เมื่อของมีน้อยก็แบ่งให้เหมือนพวกเดินทางไกล แบ่งของให้แก่พวกที่เดินทางร่วมกัน ชนเหล่านั้น เมื่อบุคคลเหล่าอื่นตายแล้ว ชื่อว่าย่อมไม่ตาย ธรรมนี้เป็นของบัณฑิตแต่ปางก่อน ชนพวกหนึ่ง เมื่อของมีน้อยก็แบ่งให้ ชนพวกหนึ่งแม้ของมีมากก็ไม่ให้ ทักษิณา (ของทำบุญ) ที่ให้แต่ของน้อย นับเสมอด้วยพัน

บทว่า เต มเตสุ น มิยฺยนฺติ ความว่า บุคคลเหล่านั้น เมื่อบุคคลอื่นตายแล้ว ชื่อว่า ย่อมไม่ตาย เพราะความตายคือความเป็นผู้มีปกติไม่ให้ทาน เหมือนอย่างว่า บุคคลผู้ตายแล้ว เมื่อบุคคลอื่นนำสิ่งของทั้งหลายมีข้าวและน้ำเป็นต้นแม้มาก มาวางแวดล้อมแล้วบอกว่า สิ่งนี้จงเป็นของผู้นี้ สิ่งนี้จงเป็นของผู้นี้ ดังนี้ บุคคลผู้ตายแล้วเหล่านั้นก็ไม่สามารถลุกขึ้นมารับการแจกจ่ายได้ ฉันใด แม้บุคคลผู้ไม่ให้ทานก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้น โภคะทั้งหลายของผู้ตายแล้ว และของผู้มีปกติไม่ให้ทาน จึงชื่อว่าเสมอๆ กัน ด้วยเหตุนั้นแหละ บุคคลผู้มีปกติให้ทาน เมื่อชนทั้งหลายเห็นปานนี้ตายแล้ว ชื่อว่า ย่อมไม่ตาย

บทว่า อทฺธานํว สหาวชฺชํ อปฺปสฺสึ เย ปเวจฺฉนฺติ อธิบายว่า คนทั้งหลายผู้เดินทางไกลกันดารร่วมกัน เมื่อเสบียงมีน้อย บุคคลผู้เดินทางร่วมกันก็แบ่ง คือย่อมให้ทานนั่นแหละแก่บุคคลผู้เดินทางร่วมกัน ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นแล คนเหล่าใด เดินทางร่วมกันไปสู่ทางกันดาร คือสงสารอันมีเบื้องต้นและที่สุดที่บุคคลรู้ไม่ได้ ครั้นเมื่อวัตถุที่พึงให้แม้มีน้อย ก็แบ่งของให้ได้ ชนเหล่านั้น ครั้นเมื่อชนอื่นตายแล้ว จึงชื่อว่าย่อมไม่ตาย

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
hadezz
วันที่ 7 ส.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ผิน
วันที่ 7 ส.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 7 ส.ค. 2553

คนที่ให้ย่อมมีจิตอ่อนโยน ย่อมได้รับน้ำใจจากผู้รับ ผู้รับรู้ถึงใจของผู้ให้ ย่อมเป็นมิตรค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 7 ส.ค. 2553

คนเราแม้เลือกเกิดไม่ได้ แต่เลือกที่จะเป็นคนดีได้ค่ะ การเป็นคนดีที่ดีที่สุดก็ด้วยการเข้าใจพระธรรม อบรมเจริญปัญญาจนกว่ากิเลสถูกประหานหมดสิ้นเป็นสมุเฉทเป็นพระอรหันต์เป็นคนดีที่สุด

...ขอบคุณและขออนุโมทนาน้องไตรสรณคมน์ค่ะ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
พร้อมเสมอ
วันที่ 8 ส.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 8 ส.ค. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ผู้มีปัญญาย่อมไม่ประมาทในการเจริญกุศลทุกประการ เมื่อปัญญาเพิ่มขึ้น ความตระหนี่ก็น้อยลงตามกำลังของปัญญา การสะสมก็น้อยลง การสละสิ่งต่างๆ ก็เพิ่มขึ้น เพราะเมื่อปัญญาเพิ่มขึ้น เห็นถึงความเป็นสภาพธรรม ไม่ใช่เรา ความตระหนี่ความหวงแหนในสิ่งต่างๆ และการสะสมทรัพย์ก็น้อยลง เพราะปัญญาเจริญขึ้น ซึ่งการให้ย่อมไม่เลือกว่าเป็นบุคคลใด ไม่เลือกว่าคนนี้มีชื่อเสียงจึงให้มาก คนนี้ไม่มีผลประโยชน์ ไม่มีชื่อเสียงจึงให้น้อยหรือไม่ให้ การช่วยเหลือจึงไม่เลือกบุคคลว่าคนนี้มากคนนี้น้อย แต่มุ่งถึงประโยชน์ของผู้รับ ไม่ได้คิดถึงตัวเองเป็นหลัก จึงเป็นการสละ เป็นจาคะ สละความตระหนี่อย่างแท้จริงเพราะเป็นการสละกิเลส เพราะฉะนั้น การให้ไม่จำเป็นจะต้องเป็นกุศลทุกครั้ง ผู้มีปัญญาจึงให้เพื่อขัดเกลากิเลส ไม่ใช่เพื่อลาภ สักการะใดๆ ทั้งสิ้น ธรรมจึงเป็นเรื่องตรงต่อสภาพจิตใจของบุคคลนั้นว่าให้ ช่วยเหลือเพราะอะไร ถ้าด้วยความเห็นถูก เพื่อขัดเกลากิเลส ไม่ใช่เพื่อความรัก ความต้องการสิ่งใด ก็เป็นบารมีทำให้ถึงฝั่งคือการดับกิเลสได้แต่ถ้าให้หรือช่วยเหลือด้วยจุดประสงค์อื่น ก็ไม่เป็นการขัดเกลากิเลสแต่กับเพิ่มกิเลสให้กับตนเอง และไม่มีทางถึงฝั่งคือการดับกิเลสได้เลยเพราะไม่ได้น้อมประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมด้วยความจริงใจ ประโยชน์ของการศึกษาพระธรรมคือ การน้อมประพฤติปฏิบัติตาม

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 8 ส.ค. 2553

ผู้กล้าหรือวีระ จึงต้องเป็นกุศลจิต กล้าที่จะออกจากอกุศล กล้าที่จะให้ เพื่อสละความตระหนี่ กล้าเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นจริงๆ การให้ทานที่เป็นกุศลจึงเป็นการชนะสงครามที่ชนะได้โดยยากเพราะเป็นการชนะความตระหนี่

ทรัพย์ของผู้ที่ไม่ให้ ก็เหมือนทรัพย์ของผู้ที่ตายแล้ว เพราะคนที่ตายแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะพูดหรือกระทำกุศลด้วยการให้ได้ฉํนใด คนที่มีทรัพย์แม้จะมีชีวิตอยู่ มุ่งแต่จะสะสมแต่ไม่สละด้วยกุศลจิตก็ไม่ต่างจากคนที่ตายแล้ว เพราะมีชีวิตอยู่ แต่ไม่ได้เจริญกุศลนั่นเอง ทรัพย์ของคนที่ไม่ให้ เก็บไว้จึงเหมือนกับทรัพย์ของคนที่ตายแล้ว

กล้าในสิ่งที่ควรกล้าคือเป็นกุศล ไม่กล้าในสิ่งไม่ควรกล้าคือการทำอกุศล ผู้มีปัญญาเมื่อปัญญาเจริญขึ้น กุศลประการต่างๆ ก็เจริญขึ้นทุกประการ และขัดเกลากิเลสด้วยความจริงใจ ด้วยการศึกษาพระธรรมและน้อมประพฤติปฏิบัติตามในกุศลทุกๆ ประการ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 9 ส.ค. 2553

บุคคลทั่วไปมักรักตัวเองยิ่งกว่าสิ่งใด... ขอทานเป็นผู้ที่ขาดเงิน แม้แต่เพื่อการมีชีวิตอยู่ไปวันๆ .. แต่ยังบริจาคเงินเพื่อผู้อื่น.. บุคคลทั่วไปที่ไม่ขัดสนเงินทอง หรือมีมากพอที่จะใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ..อาจไม่คิด..กล้าให้แบบนี้....เป็นภาพที่ดูแล้วเกิดกุศลจิตขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 9 ส.ค. 2553

"...บุคคลเหล่านั้น เมื่อบุคคลอื่นตายแล้ว ชื่อว่า ย่อมไม่ตาย เพราะความตายคือความเป็นผู้มีปกติไม่ให้ทาน..."

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
khampan.a
วันที่ 9 ส.ค. 2553

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
homenumber5
วันที่ 9 ส.ค. 2553

ทานมัยเริ่มที่มโน เมื่อใดให้ทานไปแล้วจิตย่อมละจากความตระหนี่ และแม้เมื่อพบเห็นและอนุโมทนาด้วย กุสลย่อมเกิด จริงหรือไม่

อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
รากไม้
วันที่ 9 ส.ค. 2553

พึงสละให้หมด ซึ่งสิ่งที่เรา...รัก ชอบ หวงแหน ยึดติด อย่าได้ไปเสียดายมันฝึกไว้ ซ้อมไว้ ทำให้ชิน ...เมื่อเวลาจะต้องตาย จะได้จากโลกนี้ไป อย่างสงบ อย่างไม่ต้องเหลียวหลังกลับมามอง ด้วยความ อาลัย...

ขออนุโมทนา จิตทุกดวงที่ใฝ่ธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
รากไม้
วันที่ 9 ส.ค. 2553

การให้ ที่ไม่ได้เป็นไปด้วยการสละจริงๆ ก็มีโทษได้แม้ไม่ได้หวังในผลอะไร แต่เป็นการให้ที่เต็มไปด้วยความปรารถนาดี ให้ผู้รับมีความสุขแต่วันหนึ่ง ผู้ที่เคยรับจากเราไปในครั้งนั้น กลับมาทำร้ายเรา โดยเจตนาหรือไม่เจตนา ก็ตาม ...เราย่อม เสียใจ ผิดหวัง น้อยใจ ชังผู้รับ เบื่อการให้ ฯลฯ อย่างใดอย่างหนึ่งได้ อาจดูเหมือนเล็กน้อย แต่ถ้าขณะที่ให้ทาน ไม่สำรวมใจให้ดี ก็มีโทษได้จริงๆ ... ควรหมั่นตามดูจิตดูใจของเราให้ดี ด้วยความละเอียดรอบคอบ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 10 ส.ค. 2553

เพราะให้ด้วยความเป็น "เรา" เมื่อให้ไปแล้วจึงยังเป็น "ของเรา" ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
chaiyut
วันที่ 11 ส.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

" ทานบารมี " ให้เพื่อเป็นประโยชน์สุขเกื้อกูลแก่ผู้รับ ให้เพื่อขัดเกลากิเลสของตนวัตถุทานยังสละได้ยาก ความเป็นตัวตนจะยิ่งสละยากมากกว่านั้นสักแค่ไหน เรื่อง "ละ" เป็นเรื่องไม่เร็วเหมือนเรื่อง "อยาก" ค่อยๆ รู้ขึ้น จึงจะค่อยๆ สละ ค่อยๆ ละได้ แต่ต้องเป็นปัญญาจริงๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
saifon.p
วันที่ 14 ส.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ